http://nkcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

บุคคลากร

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บทบาทหน้าที่

 ภารกิจ

 วิสัยทัศน์

 สพจ.จังหวัด

 เว็บไซต์กรม

บุคคลากร

การเตรียมการคัดสรร OTOP

องค์ความรู้

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล

บริการข้อมูลข่าวสาร

กิจกรรมงานเด่น

สินค้า

 ผลิตภัณฑ์เด่นอำเภอนิคมคำสร้อย

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม28,938
เปิดเพจ36,426
สินค้าทั้งหมด14
iGetWeb.com
AdsOne.com

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

ข้อมูลศูนย์เศรษฐกิจฐานรากต้นแบบ

  1. ชื่อศูนย์  สถานที่ตั้ง ที่อยู่ (เลขที่ อำเภอ จังหวัด) หมายเลขโทรศัพท์  E-mail,Website, Facebook, Line

สถานที่ตั้ง  ตั้งอยู่ภายในอาคารศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง (OTOP) บ้านอุ่นคำเจริญ หมู่ที่  5 ถนนชยางกูร 

ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย สามารถติดต่องานได้ที่ 0817699128,098-62762137,

099-7149505

  1. ชื่อ  ที่อยู่ของประธานศูนย์ฯ  หมายเลขโทรศัพท์  E-mail

นางศุภลักษณ์  คำสิงห์  บ้านเลขที่ 108 หมู่ที่ 11 ตำบลนิคมคำสร้อย  อำเภอนิคมคำสร้อย  จังหวัดมุกดาหาร โทร.0895736629

  1. แรงบันดาลใจของคณะกรรมการศูนย์ฯ

๑.    เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงการพัฒนาองค์ความรู้การพัฒนาทุนเงินทุนชุมชนเพื่อการพึ่งพา

    ตนเองได้ในปัจจุบันและอนาคตทั้งด้านเงินทุนและปัญญา

๒.    เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้ทันต่อโลกสมัยใหม่

๓.    เป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษา แนะนำ และให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน

๔.    เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการ

๕.    เป็นศูนย์กลางการประสานงานกิจกรรมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

๖.    เป็นศูนย์กลางการจัดการความรู้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน เรียบเรียงความรู้ กิจกรรมศูนย์

    เรียนรู้ชุมชน

๗.    เป็นศูนย์กลางจัดการองค์ความรู้ด้านต่างๆ เช่น การสานตะกร้าพลาสติก การทอเสื่อกก  การทอผ้า

                 การทำไข่เค็ม

๘.    เป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ข้อมูล

ข่าวสารต่างๆ โดยมีการจัดบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ แผ่นพับประชาสัมพันธ์ บริการข้อมูลผ่านสื่อ

9. เป็นแหล่งบริการข้อมูลด้านทุน การจัดการเงินทุน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนพัฒนาบทบาท

    สตรี กองทุน กขคจ. กลุ่มออมทรัพย์

  1. พัฒนาการของศูนย์ฯ (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน)

       การจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอนิคมคำสร้อย (ศูนย์บริการส่งเสริม

เศรษฐกิจชุมชนครบวงจร) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมการพัฒนาชุมชน ได้เปลี่ยนชื่อศูนย์เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ที่มีเป้าหมายสูงสุดภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง”จากศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร เป็น “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก”กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์สร้างงานสร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชน เพื่อส่งผลต่อประชาชนในหมู่บ้าน ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานรากด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมเชื่อมโยงการ พัฒนาชุมชน ระหว่างภาคีการพัฒนาในระดับอำเภอ  โดยมีนายสุบรรณ  หว่านทอง  ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านเป็นประธานศูนย์เศรษฐกิจฐานรากสมัยแรก และ

นางศุภลักษณ์ คำสิงห์  ประธานคณะกรรมการคนที่สองภายใต้สโลแกนการพัฒนา “ขับเคลื่อนพล  ขับเคลื่อนงานไปสู่การพัฒนาที่ดีกว่า” 

  1. วิธีการบริหารจัดการภายในศูนย์ฯ ให้ประสบผลสำเร็จ
    1. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์เศรษฐกิจฐานราก
    2. คณะกรรมการดำเนินงานศูนย์บริการเศรษฐกิจฐานรากต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเสียสละ มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม
    3. การให้บริการของศูนย์เน้นการให้บริการที่ดี พูดจาไพเราะ มีข้อมูลพร้อมให้บริการอย่างรวดเร็วและทันความต้องการของผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งมีจุดอำนวยความสะดวกด้านต่างๆอย่างครบถ้วน
    4. การให้บริการของศูนย์ฯ ให้บริการทั้งภายในศูนย์ และนอกศูนย์  เพื่อให้คณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากได้พบปะ เยี่ยมเยียน และให้บริการแก่สมาชิก
    5. ผลการดำเนินงานในกิจกรรมดีเด่นของศูนย์ฯ จำนวน 1 - 2  กิจกรรม เช่น  OTOP,กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต,หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  ฯลฯ (ทำอะไร  ที่ไหน  อย่างไร)
      1. ดำเนินการจัดหาทุนสมทบศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก  เช่น งบประมาณสนับสนุนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก อบจ.มุกดาหาร
      2. ร่วมสาธิตอาชีพ เช่น การสานตะกร้าพลาสติก การทอเสื่อกก การทำไข่เค็ม และจำหน่ายสินค้า OTOP ในงานกาชาดและตลาดนัดชุมชน
    6. ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการศูนย์ฯ  และแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้ผลดี

ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการศูนย์

  1. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำบัญชี การใช้เทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัย เช่น ขาดความรู้เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์
  2. คณะกรรมการเป็นคณะกรรมการชุดใหม่ที่เพิ่งเข้ามารับหน้าที่แต่ละด้าน ทำให้ขาดความรู้ ความชำนาญในตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ ส่งผลให้การดำเนินงานล่าช้า และการดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง และขาดความรับผิดชอบในการทำงาน ตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย
  3. ขาดการประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน
  4. งบประมาณในการบริหารจัดการศูนย์ ไม่เพียงพอสำหรับการปรับปรุงสถานที่

แนวทางการแก้ไข

  1. จัดอบรมให้ความรู้ การจัดทำบัญชี  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยแก่คณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
  2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์เศรษฐกิจฐานรากให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นประจำทุกเดือน
  3. ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการดำเนินงานผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง  เช่น ป้ายนิทรรศการ, บอร์ดประชาสัมพันธ์, สถานีวิทยุ, หอกระจายข่าว, Facebook,Website,Line

แผ่นพับ ใบปลิว การออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการแก่สมาชิก

  1. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณฝึกอบรม  สาธิตอาชีพ  แก่สมาชิก จากหน่วยงานภาคี ส่วนราชการ และเอกชน

 

  1. แผนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในปีต่อไป

1. การวิเคราะห์การตลาดความต้องการของผู้ซื้อสินค้าที่มีรายได้ทุกระดับบน กลาง ล่าง

 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์เส้นสู่งานเฟอร์นิเจอร์/และส่วนประกอบของบ้าน

3. การดูแลและช่วยเหลือสาธารณประโยชน์ของชุมชน

4. ตลาดวิชาชีพ (ให้ผู้มีใจรักในการผลิตสินค้าเรียนรู้ตามที่ตนต้องการ)

5. การปรับปรุงให้ตรงตามต้องการของตลาด

 6. การพัฒนาสินค้าของฝากของที่ระลึก

 7. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยงโฮมสเตย์ (บ้านด่านมน/บ้านชัยมงคล)

 8. การจัดโปรมแกรมนำเที่ยวสถานที่ในจังหวัด/อีสานตอนบน

  1. ความภาคภูมิใจ ( ตอบ 1 คน ชื่อ ตำแหน่ง  และรูปภาพ)

   นางศุภลักษณ์  คำสิงห์  ประธานศูนย์บริการเศรษฐกิจฐานรากอำเภอนิคมคำสร้อย ได้แสดง

ความคิดเห็นว่า การดำเนินงานศูนย์บริการเศรษฐกิจฐานรากจะดำเนินงานต่อไปได้ ต้องสามารถบูรณการงานกิจกรรมในการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นของตนเอง และยืนหยัดอยู่ได้โดยความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน จนทำให้เกิดผลสำเร็จ  และเห็นผลเป็นรูปธรรม

ระเบียบศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

                            อำเภอนิคมคำสร้อย   จังหวัดมุกดาหาร

-----------------------------------------

ตามที่ กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง

โดยมีเป้าประสงค์คือ ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยใช้กลยุทธ์ที่สำคัญคือ บูรณาการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนกลยุทธ์ให้ตอบสนองต่อนโยบาย จึงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก (ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร) ขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมการพัฒนาชุมชนได้เปลี่ยนชื่อศูนย์เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ ที่มีเป้าหมายสูงสุดภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” จากศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร เป็น “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” พื่อให้ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อำเภอนิคมคำสร้อย เป็นไปตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน จึงได้กำหนดระเบียบการดาเนินงานของศูนย์บริการฯไว้ดังนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ                 นิคมคำสร้อย”

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ 3 ที่ตั้งของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอำเภอนิคมคำสร้อย คือ สานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อย

ข้อ 4 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอนิคมคำสร้อย

             (1) เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่และแหล่งเงินทุน

  (2) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้

หมวดที่ 1

บททั่วไป

ข้อ 5 ในระเบียบนี้

“ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” หมายถึง ศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการและพัฒนาขีดความสามารถด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างครบวงจร โดยเป็นช่องทางในการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุน แหล่งผลิต แหล่งตลาด แหล่งความรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และเป็นกลไกขับเคลื่อนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแหล่งทุนและกลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิต/ ผู้ประกอบการ OTOP สาหรับการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน เพื่อส่งผลต่อประชาชนในหมู่บ้านให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานรากต่อไป ซึ่งสนับสนุนส่งเสริมโดยกรมการพัฒนาชุมชนและภาคีการพัฒนาในระดับอำเภอ  โดยจัดตั้งในระดับอำเภอทุกอำเภอ ณ สานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ หรือสถานที่ที่เหมาะสม

“การให้การบริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” หมายถึง การให้บริการตามภารกิจของศูนย์ฯ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง หรือทุกภารกิจแก่บุคคล/กลุ่มเป้าหมายที่ขอรับบริการจากศูนย์ฯ ตามความต้องการของผู้เข้ารับบริการนั้นๆ ทั้งในเชิงรับ คือ ให้บริการ ณ ที่ตั้งของศูนย์ฯ และในเชิงรุก คือ ให้บริการเคลื่อนที่ตามความต้องการของชุมชนและสถานการณ์เร่งด่วน โดยการบริหารจัดการและให้บริการในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนเครือข่าย OTOP แกนนาชุมชน ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและภาคีหน่วยงานภาครัฐ

“ชุมชน” หมายถึง หมู่บ้านภายในอำเภอตามฐานข้อมูล กชช.2 ค. ปี 2556

 

 

 

ข้อ 6 กลุ่มเป้าหมายการให้บริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่

(1) ประชาชนภายในอำเภอ

(2) กลุ่มอาชีพ/กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP

(3) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

(4) กองทุน กข.คจ. ประจาหมู่บ้าน

(5) กองทุนหมู่บ้าน

(6) กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน

หมวด 2

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่

ข้อ 7 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก                  อำเภอนิคมคำสร้อย” ประกอบด้วย

(1) ผู้แทนเครือข่าย OTOP

(2) ผู้แทนกองทุนหมู่บ้าน

(3) ผู้แทนกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน

(4) ผู้แทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

(5) ปราชญ์ชาวบ้าน

(6) ผู้ทรงคุณวุฒิ

(7) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

คณะที่ปรึกษาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจรอำเภอนิคมคำสร้อย ประกอบด้วย

(1) นายอำเภอนิคมคำสร้อย

(2) สาธารณสุขอำเภอนิคมคำสร้อย

(3) นายกเทศมนตรีเทศบาลนิคมคำสร้อย 

(4) ท้องถิ่นอำเภอนิคมคำสร้อย

(5) เกษตรอำเภอนิคมคำสร้อย

(6) ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาสังคมที่ ๔

(7) พัฒนาการอำเภอนิคมคำสร้อย

(8) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอทุกคน

คณะกรรมการ ให้มีวาระในการดารงตำแหน่งสองปี                                                                                            ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง                                                                                                    ให้คณะกรรมการปฏิบัติงานที่ศูนย์ฯ ในกรณีที่ได้รับมอบหมาย                                                    ให้คณะกรรมการจัดกิจกรรมเคลื่อนที่ตามความต้องการของชุมชนหรือตามสถานการณ์เร่งด่วน

ข้อ 8 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(1) แสวงหาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้และคลังสมองด้านเศรษฐกิจตามความต้องการของหมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ

(2) ผลิตสื่อและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจชุมชนแก่กลุ่มอาชีพและบุคคลทั่วไป

(3) ให้บริการทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสารแก่กลุ่มอาชีพและบุคคลทั่วไป

(4) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดาเนินงานของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานราก

(5) ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการดาเนินงานด้านเศรษฐกิจชุมชน

(6) จัดหางบประมาณเพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

(7) อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 9 ภารกิจการให้บริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วย

(1) เป็นศูนย์กลางการให้คาปรึกษาแนะนาและให้บริการทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ด้านการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด และแหล่งทุนเพื่อการสร้างาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชน

(2) เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการทุน การผลิต การตลาด รวมทั้งการพัฒนาอาชีพและรายได้ ระหว่างครัวเรือน กลุ่ม องค์กร เครือข่าย และชุมชน ในระดับอำเภอ

(3) เป็นศูนย์กลางประสานกิจกรรมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่

1) เป็นศูนย์ประสานงานศูนย์ข้อมูลกลางสั่งซื้อสั่งจ้างผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพที่มีสิทธิพิเศษในระดับอำเภอ ( DCOP. NET )

2) ให้บริการข้อมูล หลักเกณฑ์ แนวทางในการลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย

3) เป็นศูนย์กลางจัดการความรู้ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในระดับอำเภอ โดยเชื่อมโยงความรู้และกิจกรรมกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนทุกระดับ

ข้อ 10 รูปแบบการให้บริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร ได้แก่

(1)     ให้บริการ ณ จุดที่ตั้งศูนย์ฯ หรือสถานที่ที่เหมาะสม โดยผู้แทนเครือข่าย OTOP เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เครือข่ายอื่น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคน และผู้ที่คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯมอบหมาย

(2)     ให้บริการโดยจัดกิจกรรมเคลื่อนที่ตามความต้องการของชุมชนหรือตามสถานการณ์เร่งด่วน โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ผู้แทนเครือข่าย OTOP เครือข่ายองค์ความรู้ KBO จังหวัด เครือข่ายอื่น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคน และผู้ที่คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯมอบหมาย บริการที่เปิดบริการมีดังนี้

1) ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นตามเมนูอาชีพทางเลือกที่ต้องการ

2) ให้คาปรึกษาแนะนาการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชน

บทเฉพาะกาล

ข้อ 11 บรรดาประกาศ คำสั่ง ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ ทั้งนี้ ทั้งนั้นจนกว่าจะได้มีการแก้ไขหรือยกเลิก

ข้อ 12 ให้คณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประเมินผลการดาเนินงานตามระเบียบนี้
เพื่อนามาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป

ข้อ 13 ให้คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอนิคมคำสร้อย เป็นผู้รักษาการ
ตามระเบียบนี้

                                                                (ลงชื่อ) 

                                                                                        (นางศุภลักษณ์  คำสิงห์)

                                                           ประธานคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

 

view

เว็บบอร์ด

view