http://nkcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

บุคคลากร

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บทบาทหน้าที่

 ภารกิจ

 วิสัยทัศน์

 สพจ.จังหวัด

 เว็บไซต์กรม

บุคคลากร

การเตรียมการคัดสรร OTOP

องค์ความรู้

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล

บริการข้อมูลข่าวสาร

กิจกรรมงานเด่น

สินค้า

 ผลิตภัณฑ์เด่นอำเภอนิคมคำสร้อย

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม29,086
เปิดเพจ36,577
สินค้าทั้งหมด14
iGetWeb.com
AdsOne.com

โครงการสร้างสุขด้วย MUK MODEL

ผลการดำเนินงานโครงการสร้างสุขด้วย MUK MODEL

  1. 1.   ความสำคัญและความเป็นมา

จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2557 อำเภอนิคมคำสนร้อย  พบว่าประชากรที่อาศัยอยู่จริงในเขตชนบท  จำนวน  7 ตำบล 79 หมู่บ้าน  8,057 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 29,787 คน  แยกเป็นชาย  14,925  คน  หญิง 14,862  คน  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ย 60,674  บาท/คน/ปี  และจากการสรุปรายงานคุณภาพชีวิตจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2557  ทั้ง 5 หมวด 30 ตัวชี้วัด  พบว่าอำเภอนิคมคำสร้อยมีครัวเรือนตกเกณฑ์เรื่องรายได้ จำนวน 35 ครัวเรือน  ในพื้นที่ 6 ตำบล 19 หมู่บ้าน  และมีครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ตัวชี้วัดอย่างน้อย 1 ตัวชี้วัด (เฉพาะครัวเรือนที่อยู่ในหมู่บ้านที่มีครัวเรือนตกเกณฑ์ด้านรายได้) จำนวน 547 ครัวเรือน  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในอำเภอนิคมคำสร้อยได้เป็นอย่างดีว่ายังมีปัญหาอีกหลายด้านที่ต้องได้รับการแก้ไข  มีครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ข้อมูล จปฐ. จำนวน ๑๑ ตัวชี้วัด จำนวน  ๑๙ หมู่บ้าน ดังนี้

-  ตัวชี้วัดที่ ๑ เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม  2 ครัวเรือน

-  ตัวชี้วัดที่ 3 เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือนแรกติดต่อกัน 28 ครัวเรือน

-  ตัวชี้วัดที่ ๘ ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และบ้านมีสภาพคงทนถาวร 4 ครัวเรือน

-  ตัวชี้วัดที่ ๒๐  คนอายุ 15 - 60 ปีเต็ม อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้  1 ครัวเรือน

-  ตัวชี้วัดที่ ๒๑  คนอายุ ๑๕ – ๖๐ ปีเต็ม มีอาชีพและมีรายได้ 7 ครัวเรือน

-  ตัวชี้วัดที่ ๒๒  คนอายุมากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป มีอาชีพและมีรายได้  3 ครัวเรือน


ตัวชี้วัดที่ ๒๓ คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่าคนละ ๓๐,๐๐๐ บาทต่อปี   35 ครัวเรือน

-  ตัวชี้วัดที่ ๒๔ ครัวเรือนมีการเก็บออมเงิน 58 ครัวเรือน

-  ตัวชี้วัดที่ ๒5  คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ) 59  ครัวเรือน

-  ตัวชี้วัดที่ ๒๖  คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ 493 ครัวเรือน

             จากข้อมูลดังกล่าว สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อย ได้จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ระดับอำเภอ (ศจพ.อ.) และนำข้อมูลนำเสนอในที่ประชุมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน  พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาตามตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ และประชุมชุดปฏิบัติการระดับตำบลให้รับทราบข้อมูลพร้อมมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบในการติดตามและแก้ไขปัญหาครัวเรือนตกเกณฑ์ที่อยู่ในพื้นที่ของตนเอง  โดยชุดปฏิบัติการตำบลได้นำทีมจัดเก็บมูลครัวเรือน (Family Folder) พร้อมหาแนวทางแก้ไข ประสานท้องถิ่นและส่วนราชการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อที่ครัวเรือนตกเกณฑ์

             อำเภอออกคำสั่งแต่งตั้งชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาครัวเรือนตกเกณฑ์ในเขตพื้นที่หมู่บ้านของตนเองโดยมอบหมายพัฒนากรนำชุดปฏิบัติการตำบลออกทำความชี้แจงให้ข้อมูลและแนะนำแนวทางชุด ชกคม. ปฏิบัติการทำกิจกรรมแก้ไขปัญหาครัวเรือนตกเกณฑ์ที่ตนเองรับผิดชอบโดยใช้ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ – เดือนมิถุนายน 2558

  1. 2.   วัตถุประสงค์

             2.1 เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนะเชิงสร้างสรรค์ในการดำเนินชีวิตของครัวเรือนเป้าหมาย

             2.2 เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

             2.3 เพื่อสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ครัวเรือนยากจน  ประเภทเจ็บป่วย  พิการ

         3. แนวคิดการดำเนินงาน

             3.1 ยึดหลักพื้นที่ (Area Based Approach) เป็นตัวตั้งในการพัฒนา

             3.2 ยึดหลักการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีการพัฒนาตามแนวคิดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย  พิการ  อนาถา   ชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) และ MUK MODEL               

         4. เป้าหมายการดำเนินงาน

            4.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

                 4.1.1 ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2557 อย่างน้อย 1 ตัวชี้วัด จำนวน 19 หมู่บ้าน 547 ครัวเรือน (เฉพาะหมู่บ้านที่ตกเกณฑ์ด้านรายได้ จำนวน 19 หมู่บ้าน)

                 4.1.2 ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2557 ด้านรายได้ จำนวน 35 ครัวเรือน

                 4.1.3 ครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา 6 ครัวเรือน

            4.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

                  4.2.1 หมู่บ้านเป้าหมายมีระบบการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตชุมชนมีความเข้มแข็ง

                  4.2.2 คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

5. เครื่องมือที่ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการ

             5.1 คู่มือการปฏิบัติตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภายในระดับหน่วยงาน

             5.2 คู่มือการสร้างสุขด้วย “MUK Model”

             5.3 คู่มือการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย  พิการ อนาถา

             5.4 หลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่และบุคคลที่มีการขับเคลื่อนงานตามโครงการดีเด่น

              5.5 แบบรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ ระดับหมู่บ้านในการติดตามผลการดำเนินงานครัวเรือนเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทีมงาน ชกคม. ได้จัดทำแบบรายงานความก้าวหน้าการยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือน เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆ ที่ครัวเรือนได้รับการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทุกครัวเรือนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในแต่ละตัวชี้วัด       

             5.6 สื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานต่างๆ  เช่น สถานีวิทยุชุมชน บอร์ด ป้ายประชาสัมพันธ์  facebook line website

             5.7 การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น

                             ๑) กิจกรรมชวนเข้าวัด ทำบุญตักบาตรและรักษาศีล ๕ ทุกวันพระ

                             ๒) กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา

                             ๓) กิจกรรมงานศพปลอดเหล้า

                             ๔) กิจกรรมลดละเลิกการสูบบุหรี่

                             ๕) กิจกรรมยกย่อง “ครอบครัวศีล ๕”

6. ขั้นตอนการดำเนินงาน

6.1 ทบทวนปรับปรุงแนวทางและแผนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ผ่านมา

6.2 วิเคราะห์ข้อมูล จำแนกและกำหนดเป้าหมายแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ

 6.3 จัดทำคู่มือการสร้างสุขด้วย “MUK MODEL” และเครื่องมือกำกับติดตามและประเมินผลโครงการ

6.4 สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนกิจกรรม

6.5 จัดตั้งชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.)

6.6 สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) โดยอำเภอมอบหมายให้พัฒนากรประจำตำบลจัดประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจกับชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.)

6.7 มอบหมายภารกิจการยกระดับคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้มีเจ้าภาพหลัก พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

6.8 ขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ โดยบูรณาการการดำเนินงาน/กิจกรรม ดังนี้

   6.8.1 การขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต  บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต จำนวน 35 ครัวเรือน

   6.8.2 การขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน  เจ็บป่วย  พิการ  อนาถา  อำเภอนิคมคำสร้อย ประจำปี 2558 ตามกลุ่มปัญหา ดังนี้

         1) สนับสนุนอาชีพครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่ประสบปัญหาด้านอาหาร/อาชีพตามศักยภาพและความต้องการ จำนวน 4 ครัวเรือน

         2) สร้างบ้านให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัย จำนวน 1 ราย    เป็นเงิน 70,000 บาท

         3) สงเคราะห์ครัวเรือนเป้าหมายที่ประสบปัญหาด้านเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 2 ครัวเรือน   ละ 2,000 บาท งบประมาณ 8,000 บาท

    6.8.3 จัดตลาดนัดชุมชนและสาธิตอาชีพแก้จนคนมุกดาหาร ดำเนินการระดับอำเภอ จำนวน     1 ครั้ง งบประมาณ 20,000 บาท

             6.9 จัดเวทีสรุปบทเรียนผลการดำเนินงานยกระดับคุณภาพชีวิต ดำเนินการระดับหมู่บ้าน จำนวน  19 หมู่บ้าน งบประมาณ 9,500 บาท

             6.10 ติดตามประเมินผลและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน (ทีมปฏิบัติการระดับตำบลและชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.)

6.11 ประชาสัมพันธ์และยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ครัวเรือนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตดีเด่น    

7. ระยะเวลาดำเนินงาน                                      

              ดำเนินการไตรมาส 1 – 4  (ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558)

          8. ตัวชี้วัดการดำเนินโครงการ

              8.1 ร้อยละของครัวเรือนที่ตกเกณฑ์คุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ จปฐ. ปี 2557  สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผ่านเกณฑ์ จปฐ. อย่างน้อย 1 ข้อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ  70 และมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

เกณฑ์การให้คะแนน

น้อยกว่า 70 %

55 - 59 %

60 - 64 %

65 – 69 %

ตั้งแต่ 70 % ขึ้นไป

             8.2 ร้อยละที่ลดลงของครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี ๒๕๕7  ด้านรายได้  ไม่น้อยกว่าร้อยละ

7๐ ที่มีเกณฑ์การให้คะแนน  ดังนี้

เกณฑ์การให้คะแนน

น้อยกว่า 5๕ %

5๕ - 5๙ %

6๐-64 %

6๕ – 6๙ %

ตั้งแต่ 7๐ % ขึ้นไป

             8.3 ครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนกรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ได้รับการ

แก้ไขปัญหาตามศักยภาพและความต้องการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และมีเกณฑ์การให้คะแนน  ดังนี้

เกณฑ์การให้คะแนน

น้อยกว่า 70 %

71 - 74 %

75-7๙ %

80 – 84 %

ตั้งแต่ 85 % ขึ้นไป

คำอธิบาย :

          ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี ๒๕๕7  หมายถึง ครอบครัวที่อยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกินอยู่ใช้จ่าย ทำอาหารร่วมกัน ครัวเรือนหนึ่ง ๆ อาจมีหลายครอบครัวก็ได้ ที่ยังไม่บรรลุตัวชี้วัดตามเกณฑ์ จปฐ.                         ใน  ๕ หมวด ๓๐ ตัวชี้วัด หรือหมวดใดหมวดหนึ่ง หรือตามตัวชี้วัดใดตัวชี้วัดหนึ่งในปี ๒๕๕7

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 

-  จำนวนครัวเรือนตกเกณฑ์เรื่องรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 30,000 บาทต่อคนต่อปี จำนวน

35  ครัวเรือน 19 หมู่บ้าน

                -  ครัวเรือนที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้ารับการช่วยเหลือโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ของผู้ว่าราชการจังหวัด ปี ๒๕๕๙ จำนวน 6 ครัวเรือน

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

-  จำนวนครัวเรือนตกเกณฑ์ จำนวน ๓๕ ครัวเรือน สามารถยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต

-  จำนวนครัวเรือนตกเกณฑ์ จำนวน ๘ ครัวเรือน ได้รับการสงเคราะห์และสามารถดำเนินชีวิตใน

สังคม

-  ครัวเรือนตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนฯ ในปี ๒๕๕๘ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต

จำนวน ๖ ครัวเรือน  โดยการสร้างบ้านพักอาศัย 1 ครัวเรือน และจำนวน 5 ครัวเรือน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ จากการสนับสนุนส่งเสริมให้ครัวเรือนได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพ สร้างงานจนสามารถประกอบอาชีพและมีรายได้ จำนวน 5 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100  เสียชีวิต จำนวน ๒ ครัวเรือน

         9.  ผลการดำเนินงานตามโครงการ

               โครงการสร้างสุขด้วย “MUK Model” อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เป็นโครงการริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครัวเรือนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ ข้อมูล จปฐ.  และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน      มีการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบครอบคลุมทุกกลุ่มปัญหา ทุกพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ เป็นรูปธรรม สรุปได้ดังนี้

๑)    ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี ๒๕๕7 ด้านรายได้ จำนวน  35 ครัวเรือน สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านเกณฑ์ 33 ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละที่ลดลง 94.28

๒)    ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี ๒๕๕7 อย่างน้อย ๑ ตัวชี้วัด จำนวน 547 ครัวเรือน ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด จำนวน 498 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 91.00

 10. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน 

               โครงการนำเสนอข้อมูลแก่คณะกรรมการทุกระดับ เพื่อให้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นจริง        และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดปฏิบัติการระดับตำบลและชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) ต้องปฏิบัติด้วยความเต็มใจ เอาใจใส่ และเสียสละ

               ระดับอำเภอ ส่วนราชการสนับสนุนและช่วยกันหางบประมาณมาสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมด้านอาชีพ ได้แก่ การฝึกอบรมการสานตะกร้าพลาลสติก การฝึกอบรมช่างตัดผม การทำน้ำยาเอนกประสงค์ (น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า สบู่ ) การถักไม้กวาด

               ระดับตำบล ชุดปฏิบัติการตำบล รับทราบข้อมูลประสานงานระหว่างส่วนราชการกับหมู่บ้าน ร่วมกันประสานกลุ่มเป้าหมาย แจ้งและทำความเข้าใจให้เป้าหมายได้รับทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหา

               ระดับหมู่บ้าน (ชกคม.) เป็นชุดปฏิบัติการที่ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ร่วมกันหาหนทางเพื่อแก้ไขปัญหาตาตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ในหมู่บ้าน ที่สามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องอาศัยงบประมาณ

11. การปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านอื่น ๆ

11.1  การนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน ส่งเสริมให้ครัวเรือนรู้จักเก็บออม

11.๒  ครัวเรือนเป้าหมายมีความรู้สึกในด้านบวก และเรียนรู้วิธีการ แก้ไขปัญหาของตนเองโดยมีทีม ชกคม. เป็นผู้ให้การส่งเสริม/สนับสนุน/ประสาน /ช่วยเหลือ

11.3  ภาคีการพัฒนามีการบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาครัวเรือนเป้าหมายตรงกับภารกิจหน่วยงานที่รับผิดชอบ

11.4 หมู่บ้านมีความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเอง ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพ

ชีวิตของประชาชนตนเอง

12. ประโยชน์ที่เกิดขึ้น

12.1ต่อบุคคล ชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตมีการทำงานร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี

12.2ต่อหน่วยงาน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอมีเครือข่ายในการทำงานและสามารถแก้ไขปัญหาได้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

12.3ต่อกรมการพัฒนาชุมชน สนองตอบนโยบายในการดำเนินการตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการและใช้ข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า

12.4 ต่อหน่วยงานอื่นๆ หน่วยงานต่างๆได้ใช้ข้อมูลร่วมกันและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์และทำงานประสานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

12.5  ต่อชุมชน /ประชาชน ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ตรงตามความสามารถ                                                                                                              

12.6 โดยสามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตได้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และเข้าร่วมสังคมได้อย่างปกติสุข

13. ปัจจัยที่ส่งผลความสำเร็จ

13.1    การทำงานตรงจุด มีข้อมูลเป้าหมายที่ชัดเจน

13.2    คณะกรรมการ ชุดปฏิบัติการทุกระดับให้ความสำคัญและทำงานร่วมกันเป็นระบบและขั้นตอน

13.3    การประสานงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ตั้งแต่ระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

 14. ปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินงาน

14.1 กลุ่มเป้าหมายบางรายไม่มีความรู้ความสามารถเฉพาะตัว การได้รับการแก้ไขปัญหาด้านการฝึกอบรมอาชีพ ต้องพึ่งพาญาติพี่น้องบุตรหลานที่ใกล้ชิดเข้ารับการฝึกอบรมแทน

14.2  กลุ่มเป้าหมายบางรายมีปัญหาด้านสุขภาพ แม้ได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีพแต่ไม่สามารถนำไปประกอบอาชีพต่อได้

14.3  กลุ่มเป้าหมายบางรายได้รับการฝึกฝนอาชีพ เช่น การตัดผมชาย แต่ไม่สามารถออกไปประกอบอาชีพที่อื่นได้ เนื่องจากยังมีภาระในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบสูง ได้แก่ ภรรยาหรือสามี หรือคนในครอบครัวป่วย ต้องรับการดูแลอย่างใกล้ชิด

14.4  ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งบประมาณ ชุดปฏิบัติการและครัวเรือนเป้าหมายต่างคนต่างมีภารกิจที่จะต้องทำมาหาเลี้ยงชีพของตนเอง จึงมีภาระที่แตกต่างกันไป ไม่มีเวลาที่จะมาดำเนินการตามแนวทางได้

 15. งบประมาณที่เกิดจากการบูรณาการ รวมทั้งสิ้น ๘๖๗,๘๖๕ บาท จากแหล่งต่างๆ  ดังนี้

15.1 กรมการพัฒนาชุมชนจากกิจกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนสำหรับเขตตรวจราชการที่ ๑๑ ตามโครงการสร้างสุข ด้วย Muk Model จำนวน  ๓๙,๐๐๐ บาท

15.2 งบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ตามกระบวนการการบริหารจัดการชีวิต จำนวน  ๗๑,๐๖๕ บาท

15.3 งบประมาณจากการได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ศูนย์บริการเศรษฐกิจชุมชนฐานรากระดับเขต จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท เป็นการสาธิตอาชีพการถักไม้กวาด และการทำน้ำยาเอนกประสงค์)

15.4 งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร ฝึกอบรมด้านการสานตะกร้าจากหวายเทียม ทำไขเค็ม และการแปรรูปเสื่อ จำนวน  ๒๗๗,๘๐๐ บาท

15.5  งบประมาณจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอนิคมคำสร้อย เป็นการสนับสนุนการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่งบประมาณจากสำนักงานประมงอำเภอนิคมคำสร้อยสนับสนุนพันธุ์ปลาดุกและปลาตะเพียน

15.6  งบพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร ฝึกอบรมด้านช่างตัดผม จำนวน  ๑๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมมอบอุปกรณ์ในการตัดผม

 15.7 เหล่ากาชาดจังหวัดมุกดาหารสมทบเงินในการสร้างบ้านพักอาศัยจำนวน ๔ หลังๆละ ๒๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน  ๘๐,๐๐๐ บาท

 15.8 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนเงินในการสร้างบ้านพักอาศัย จำนวน ๔ หลัง  เป็นเงิน  ๒๐๐,๐๐๐ บาท

แบบรายงาน (Best Practice)

(Best practice) ชื่อ การยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนด้วย MUK Model 

๑. สภาพทั่วไป/ลักษณะสำคัญของ Best Practice (สภาพปัญหาการอ่าน การเขียนที่เกิดขึ้น เทคนิค วิธีการ หรือสื่อที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหา เช่น แบบฝึก หนังสือนิทาน CAI ฯลฯ

                   คุณภาพชีวิตของคนในครัวเรือน เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในการยกระดับให้คนในครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะจะช่วยบ่งบอกถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในครัวเรือนนั้นเป็นอย่างไร      ยังขาดการพัฒนาในด้านใดบ้าง ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน หรือ จปฐ.  เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถบอกสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนในครัวเรือนในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านสุขภาพ, ด้านที่อยู่อาศัย, ด้านการศึกษา, ด้านอาชีพมีรายได้ และด้านการปลูกฝังค่านิยมไทย ซึ่งได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกปี

แนวคิดในการยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือน

๑) เพื่อพัฒนาครัวเรือนในหมู่บ้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ จปฐ.

๒) เพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการส่งเสริมการขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือน

๒.  ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

๑)   ขั้นสร้างความเข้าใจร่วมกันเป็นการประชุมชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจหมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานตามโครงการและชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานยกระดับคุณภาพชีวิต

          ๒) ขั้นสร้างทีมงาน/หาแนวร่วมโดยดำเนินการแต่งตั้งทีมชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสร้างสุขด้วย MUK Model” 

          ๓) ขั้นกำหนดเป้าหมายโดยการจัดทำทะเบียนครัวเรือนเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ในตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เพื่อจัดทำทะเบียนครัวเรือนที่จะดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิต

          ๔) ขั้นวางแผน/มอบภารกิจดำเนินการประชุมทีมงาน ชกคม. เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงาน และให้ทราบครัวเรือนเป้าหมายที่จะดำเนินการขับเคลื่อน พร้อมกับมอบหมายภารกิจให้ทีมงานดำเนินการขับเคลื่อน

          ๕) ขั้นชี้แจงกลุ่มเป้าหมายดำเนินการประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ทราบถึงตัวชี้วัดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ และร่วมกันวางแผนการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต

          ๖) ขั้นจัดทำแผนชีวิตครัวเรือนเป้าหมายจัดทำแผนชีวิตการยกระดับในระดับครัวเรือน โดยมีทีมงาน ชกคม.ให้การสนับสนุนคอยให้คำแนะนำในการจัดทำแผนชีวิต และการยกระดับคุณภาพชีวิต
          ๗) ขั้นประสานภาคีพัฒนายกระดับ
ทีมงาน ชกคม. ดำเนินการประสานภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการยกระดับคุณภาพชีวิต

          ๘) ขั้นติดตามตรวจเยี่ยม ทีม ชกคม. ติดตามตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนเป้าหมาย โดยแบ่งทีมงานออกตรวจเยี่ยมรายครัวเรือน

          ๙) ขั้นสรุปผลการดำเนินงานดำเนินการจัดประชุมครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อดำเนินการสรุปผลความก้าวหน้าการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือน

๓.  ผลที่คาดหวังให้เกิดขึ้น

          ๑) คนในครัวเรือนได้รับรู้ถึงคุณภาพชีวิตของครัวเรือนว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์เรื่องอะไร ทำให้ครัวเรือนตระหนักถึงความสำคัญของวิถีความเป็นอยู่ พร้อมร่วมกันวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรัวเรือนให้ดีขึ้นและแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตด้วยตนเอง  โดยส่วนราชการหรือคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษา

          ๒) ผู้นำชุมชน ทีมงาน ชกคม. ได้ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการวางแผนพัฒนายกระดับครัวเรือนในระดับหมู่บ้าน

           ๓) ครัวเรือนที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ในแต่ละด้าน ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ได้รับการสนับสนุนจากภาคีการพัฒนาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

            ๔) คุณภาพชีวิตของครัวเรือนเป้าหมายในภาพรวม ในทุกๆ ด้าน ได้รับการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต สามารถเป็นแบบอย่างให้กับครัวเรือนอื่นๆ เพื่อขยายผลการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตในระดับหมู่บ้าน

๔. ร่องรอย หลักฐานระหว่างการพัฒนา

                   ในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือน ของทีมงาน ชกคม. ได้นำเครื่องมือจูงใจมากระตุ้นเพื่อให้ครัวเรือนเกิดจิตสำนึกในยกระดับคุณภาพชีวิต เช่น ตัวชี้วัดที่ ๒๖ คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่     ได้ให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการลดละเลิกการสูบบุหรี่ ร่วมกิจกรรมการออมเลิกบุหรี่ โดยให้กลุ่มเป้าหมายที่สามารถลดการสูบบุหรี่ได้ในแต่ละวัน คิดเป็นเงินเท่าไร ให้นำเงินหยอดในกระปุกออมสิน  พอครบ ๑ เดือน ให้เปิดกระปุกออมสินเพื่อนับจำนวนเงินว่า ใน ๑ เดือน สามารถลดสูบบุหรี่คิดเป็นเงินได้กี่บาท ส่งผลทำให้ครัวเรือนเกิดการตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการสูบหรี่

๕. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ

                   ในการติดตามผลการดำเนินงานครัวเรือนเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทีมงาน ชกคม. ได้จัดทำแบบรายงานความก้าวหน้าการยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือน เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆ ที่ครัวเรือนได้รับการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทุกครัวเรือนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในแต่ละตัวชี้วัด

๖. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

            ๑) ครัวเรือนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทุกตัวชี้วัด

             ๒) มีทีมงานร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ ทีมชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน (ชกคม.) เพื่อดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือน ด้วย MUK Model” 

            ๓) เกิดความรักความสามัคคีในหมู่บ้าน มีทีมงานที่เข้าใจกัน เข้าใจในบทบาทหน้าที่มากขึ้น ส่งผลให้คนในหมู่บ้านรักใคร่กัน เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

            ๔) หมู่บ้านได้รับการพัฒนายกระดับครัวเรือนให้ผ่านเกณฑ์ จปฐ. สามารถเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนในด้วย “MUK Model” เป็นแบบอย่างให้หมู่บ้านอื่นๆ ได้ศึกษาเรียนรู้ได้ นำไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม

ครัวเรือนต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จ

นายหนูกร  สอนการ

บ้านหนองลำดวน ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

 

 

ข้อมูลครัวเรือน                                               

สมาชิกในครัวเรือน จำนวน 3 คน ดังนี้

  1. หัวหน้าครัวเรือน นายหนูกร สอนการ อายุ 54 ปี  สถานภาพ

หย่าร้า จบการศึกษา ป.4 อาชีพ ไม่ได้ประกอบอาชีพ รายได้

มาจากเบี้ยผู้พิการเดือนละ 500 บาท ปัญหาสุขภาพ  ป่วยเป็นโรค

    ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กล้ามเนื้อเกร็ง  เคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองไม่ได้

              (ปัจจุบันเสียชีวิต)   

 

         

 

๒.    นางทองดี  สอนการ  มารดา อายุ 82 ปี สถานภาพ  เป็นหม้าย

    จบการศึกษา ป.4  ไม่ได้ประกอบอาชีพ รายได้มาจากเบี้ยยังชีพ

    ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงไม่สามารถเดินได้

 

 

3. นางอำพร สอนการ เป็นพี่สาว สถานภาพ หย่าร้าง

    จบการศึกษา  ป.4 อายุ 56 ปี อาชีพ ทำไร่มันสำปะหลัง 

    รายได้ 5,000 บาท/เดือน

    ทักษะ ความสามารถทำการเกษตร,การสานตะกร้าพลาสติก

     สุขภาพแข็งแรง

สภาพความเป็นอยู่ของครัวเรือน

          นายหนูกร  สอนการ  เป็นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไม่สามารถเคลื่อน ไหวร่างกายได้ด้วยตนเอง ได้รับเบี้ยคนพิการ มีมารดา ซึ่งชราภาพ เดินไม่ได้ สายตาพร่ามัว มีพี่สาวซึ่งหย่าร้างกับสามี ทำหน้าที่เป็นกำลังสำคัญในการประกอบอาชีพหาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว โดยประกอบอาชีพทำไร่มันสำปะหลังเพียงเล็กน้อย ต้องกู้ยืมเงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อใช้ในการลงทุน และใช้จ่ายในครัวเรือน รายได้ไม่แน่นอน

ครัวเรือนนายหนูกร  สอนการ  เป็นครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2557 ข้อที่ 23 ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 30,000 บาทต่อคนต่อปี และเป็นครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน เจ็บป่วย พิการ อนาถา ปี 2557 ประสบปัญหาด้านยารักษาโรค ด้านอาหาร  ด้านที่อยู่อาศัย และด้านเครื่องนุ่งห่ม

ลักษณะที่อยู่อาศัย

          มีบ้านเป็นของตนเอง  ในพื้นที่  1 ไร่  ที่มีสภาพชำรุด  ทรุดโทรม  ปัจจุบันได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหล่ากาชาดจังหวัด และส่วนราชการต่างๆ โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร  เป็นประธานมอบบ้านเมื่อปี พ.ศ.2557

อาชีพของครัวเรือน : หัวหน้าครัวเรือนไม่ได้ประกอบอาชีพ เนื่องจากเป็นผู้พิการ เดินไม่ได้ รายได้มาจากเบี้ยผู้พิการ  ส่วนมารดา ไม่ได้ประกอบอาชีพ เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุและผู้พิการ  มีนางอำพร สอนการ พี่สาว ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เพียงคนเดียว

รายได้เฉลี่ยก่อนการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2558 :  ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย 12,000 บาทต่อคนต่อปี

 

สรุปประเด็นสำคัญของปัญหาและความต้องการรับความช่วยเหลือสนับสุนของครัวเรือน

          ครัวเรือนมีปัญหาสมาชิกในครัวเรือนมีอาการเจ็บป่วย พิการ ชราภาพ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้  จำนวน  ๒ คน และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้  ทำให้รายได้ในครัวเรือนน้อย ไม่ผ่านเกณฑ์ จปฐ.    มีสมาชิกคนเดียวที่ประกอบอาชีพได้ และต้องรับภาระดูแลสมาชิกที่เจ็บป่วย ไม่แข็งแรง ทำให้ประกอบอาชีพได้ไม่เต็มที่ เห็นควรได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับอาชีพเสริมที่สามารถทำในครัวเรือนได้ และเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน

กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือ

  1. ได้รับการช่วยเหลือครบทั้ง 4 ด้าน จากหน่วยงานเจ้าภาพหลักแต่ละด้าน ดังนี้

ด้านยารักษาโรค ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลจากสาธารณสุขอำเภอนิคมคำสร้อย โรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบลโชคชัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

             ด้านอาหาร ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก อบรมการสานตะกร้าพลาสติก (งบกองทุนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน) ข้าวสาร อาหารแห้ง

             ด้านเครื่องนุ่งห่ม ได้รับการสนับสนุนเครื่องอุปโภค บริโภคในครัวเรือน  เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเงินช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินจาก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 42 จำนวน 4,000 บาท

             ด้านที่อยู่อาศัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างที่อยู่อาศัยให้ใหม่ งบประมาณ 70,000 บาท จากเหล่ากาชาดจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 20,000 บาท และองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย  จำนวน 50,000 บาท

  1. 2.   การส่งเสริมอาชีพแก่นางอำพร สอนการ พี่สาว

-  การอบรมการสานตะกร้าพลาสติก งบสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อย

-  การทำไม้กวาด งบสนับสนุนกิจกรรมสร้างสุขด้วย MUK MODEL

-  การทำน้ำยาเอนกประสงค์ งบสนับสนุนกิจกรรมสร้างสุขด้วย MUK MODEL

-  การเข้าร่วมคลินิกแก้จน งบสนับสนุนจากโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ

-  เข้าร่วมอบรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง งบสนับสนุนจากโครงการแก้ไข

ปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ

 

สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน

         ผลจากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2558 มติที่ประชุมคณะกรรมการรับรองข้อมูล จปฐ. มีมติให้ครัวเรือนดังกล่าวยังไม่สามารถยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองได้ เนื่องจากยังมีไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ปัจจุบันหน้าครัวเรือน คือ นายหนูกร  สอนการ  ได้เสียชีวิต (มิ.ย.2558) ยังคงเหลือสมาชิกในครัวเรือน 2 คน  อาชีพหลักมาจากการสานตะกร้าพลาสติก การทำไม้กวาด ขายในชุมชน ซึ่งเป็นอาชีพที่ได้รับหลังจากเข้ารับการฝึกอบรมจากส่วนราชการต่างๆ จนสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้สู่คนอื่นได้  นอกจากรายได้ของครัวเรือนมาจากการทำไร่มันสำปะหลัง บนเนื้อที่บริเวณที่อยู่อาศัยและการรับจ้างทั่วไป 

 

รายได้เฉลี่ยครัวเรือนหลังเข้าร่วมโครงการสร้างสุขด้วย MUK MODEL : ครัวเรือนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผ่านเกณฑ์  รายได้เฉลี่ย  30,000 บาทต่อคนต่อปี

 

 

ผลงานครัวเรือนต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จ

นายสีนู  ฤทธิวงศ์

บ้านภูแผงม้า ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

 

ข้อมูลครัวเรือน

 สมาชิกในครัวเรือน จำนวน 3 คน  มีบุตร จำนวน 1 คน

  1. ชื่อหัวหน้าครัวเรือน นายสีนู  ฤทธิวงศ์ อายุ 61 ปี

               สถานภาพ สมรส จบการศึกษา ป.4 อาชีพ รับจ้างทั่วไป 

               รายได้  2,000 บาท/เดือน  แหล่งที่มาของรายได้ เบี้ยยังชีพ

               ผู้สูงอายุ/รับจ้างทักษะ ความสามารถ  รับจ้างทั่วไป การเลี้ยงปลา

               การทำน้ำยาเอนกประสงค์   สุขภาพ ร่างกายแข็งแรง

              

 


2. นางใบ  ฤทธิวงศ์  ภรรยา สถานภาพ  สมรส การศึกษา ป.4

              อายุ 61 ปี อาชีพทำนา รายได้ 1,500 บาท/เดือน

              แหล่งที่มาของรายได้ เบี้ยยังชีพ ขายเป็ด-ไก่ ทักษะ ความสามารถ

              การเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ป่วย เป็นโรคความดันโลหิตสูง             

 

 

 


  1. 3.  นางสาวภาวดี   ฤทธิวงศ์  บุตรสาว สถานภาพ โสด

                จบการศึกษา ม.3 อายุ 28 ปี อาชีพ รับจ้างทั่วไป รายได้

                1,000 บาท/เดือน  มาจากเบี้ยคนพิการพูดไม่ได้ ทักษะ

                ความสามารถ อ่านออก-เขียนได้               

 

 

 

สภาพความเป็นอยู่ของครัวเรือน

             นายสีนู  ฤทธิ์วงศ์ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 10 ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร  เป็นครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)  ปี 2557 ข้อที่ 23 ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 30,000 บาทต่อคนต่อปี และเป็นครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กรณียากจน  เจ็บป่วย พิการ อนาถา ปี 2558 ประสบปัญหาด้านอาหาร  อาชีพส่วนใหญ่ของครัวเรือนมาจากเลี้ยงเป็ด  เลี้ยงไก่ การรับจ้างทั่วไป  และเบี้ยผู้สูงอายุ ผู้พิการ แต่ไม่พอเลี้ยงชีพ

สภาพที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ในที่ดินของตนเอง  ลักษณะเป็นเพิง ชำรุดทรุดโทรมบางส่วน  มีที่ดินทำกินน้อย

อาชีพของครัวเรือน : หัวหน้าครัวเรือนประกอบอาชีพ เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู  ส่วนภรรยามีอาชีพเลี้ยงเป็ด และลูกสาวมีอาชีพรับจ้างทั่วไป

รายได้เฉลี่ยครัวเรือนก่อนการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2558 : 19,167 บาทต่อคนต่อปี

กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือ

  1. ได้รับการช่วยเหลือด้านอาหาร เช่น สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก การเลี้ยงหมู (งบกองทุนโครงการ

แก้ไขปัญหาความยากจน) ข้าวสาร อาหารแห้ง

  1. ได้รับการช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภค บริโภคในครัวเรือนจากปกครองอำเภอนิคมคำสร้อย

         3. การส่งเสริมอาชีพ

-  การอบรมการเลี้ยงหมู การเลี้ยงไก่ จากปศุสัตว์อำเภอนิคมคำสร้อย

 - อบรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์ งบสนับสนุนกิจกรรมสร้างสุขด้วย MUK MODEL

-  เข้าร่วมอบรมคลินิกแก้จน งบสนับสนุนจากโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ

-  เข้าร่วมอบรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง งบสนับสนุนจากโครงการแก้ไข

ปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ

         4. ได้รับการสนับสนุนการขุดบ่อเลี้ยงปลา งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดมุกดาหาร

         5. ได้รับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน จากศูนย์พัฒนาสังคมที่ 42 จำนวน 2,000 บาท

         6. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยจากคนในชุมชน จำนวน 2,000 บาท

         7. ได้รับการสนับสนุนการเป็นวิทยากรให้ความรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์แก่คนในชุมชน

สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน

         ผลจากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2558 มติที่ประชุมคณะกรรมการรับรองข้อมูล จปฐ. มีมติให้ครัวเรือนดังกล่าวสามารถยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองได้ และผ่านเกณฑ์ข้อมูล จปฐ. เนื่องจากยังสามารถพึ่งตนเองได้ ปัจจุบันหน้าครัวเรือน คือ นายสีนู ฤทธิ์วงศ์ หัวหน้าครัวเรือน ซึ่งได้เข้ารับการอบรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์จากงบผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน สามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์แก่คนในชุมชนได้ ส่วนลูกสาวที่พิการได้รับการอบรมการเลี้ยงหมูจากปศุสัตว์อำเภอ ปัจจุบันครัวเรือนสามารถช่วยเหลือตนเองและมีอาชีพที่มั่นคงสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี

รายได้เฉลี่ยครัวเรือนหลังเข้าร่วมโครงการสร้างสุขด้วย MUK MODEL : ครัวเรือนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผ่านเกณฑ์ รายได้เฉลี่ย  30,000 บาทต่อคนต่อปี

 

         

 

 

 

 

 

 

 

 

view

เว็บบอร์ด

view