http://nkcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

บุคคลากร

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บทบาทหน้าที่

 ภารกิจ

 วิสัยทัศน์

 สพจ.จังหวัด

 เว็บไซต์กรม

บุคคลากร

การเตรียมการคัดสรร OTOP

องค์ความรู้

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล

บริการข้อมูลข่าวสาร

กิจกรรมงานเด่น

สินค้า

 ผลิตภัณฑ์เด่นอำเภอนิคมคำสร้อย

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม28,929
เปิดเพจ36,417
สินค้าทั้งหมด14
iGetWeb.com
AdsOne.com

หมู่บ้านสารสนเทศ

http://cmk.igetweb.com

                                       

คำสั่งอำเภอนิคมคำสร้อย

ที่         /2558

เรื่อง  แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

        ประจำปี 2558 อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร 

...............................

                   ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  กำหนดให้ “จำนวนสะสมของหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต” เป็นตัวชี้วัด ตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
พ.ศ. 2558-2559 ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน กลยุทธ์ 2.1 บริหารจัดการข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบทไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หมู่บ้านได้นำข้อมูลที่ได้ดำเนินการจัดเก็บ มาร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพื่อให้เกิดรูปแบบการจัดทาสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านต้นแบบที่หลากหลาย

                   เพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต  อำเภอนิคมคำสร้อย ประจำปี 2558 เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ  อำเภอนิคมคำสร้อยจึงขอแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประจำปี 2558 ดังนี้

1.คณะทำงานเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ ประกอบด้วย

      1.1 นายอำเภอนิคมคำสร้อย                                            หัวหน้าคณะทำงาน

      1.2 ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรนิคมคำสร้อย                               คณะทำงาน

      1.3 สาธารณสุขอำเภอนิคมคำสร้อย                                            คณะทำงาน

      1.4 ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง                          คณะทำงาน

      1.5 ผู้อำนวยการ กศน.นิคมคำสร้อย                                            คณะทำงาน

      1.6 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง (อบต./เทศบาล)         คณะทำงาน

      1.7 เกษตรอำเภอนิคมคำสร้อย                                                   คณะทำงาน

      1.8 ปศุสัตว์อำเภอนิคมคำสร้อย                                                  คณะทำงาน

      1.9 เจ้าพนักงานที่ดินอำเภอนิคมคำสร้อย                                      คณะทำงาน

      1.10 ท้องถิ่นอำเภอนิคมคำสร้อย                                                  คณะทำงาน

      1.11 วัฒนธรรมอำเภอนิคมคำสร้อย                                              คณะทำงาน

      1.12 สรรพากรอำเภอนิคมคำสร้อย                                               คณะทำงาน

      1.13 ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ                             คณะทำงาน

      1.14 ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอ (กพสอ.)                     คณะทำงาน

      1.15 พัฒนาการอำเภอนิคมคำสร้อย                            คณะทำงานและเลขานุการ

      1.16 นางทัศวรรณ ชิณวงษ์                                    คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

2.คณะทำงานเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต   ระดับตำบล ประกอบด้วย

      2.1 นายสุรชัย ไชยกมล                  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล            หัวหน้าคณะทำงาน

     2.2 นายสุพัฒตรา ทวีบุญ                ปลัดอำเภอประสานงานประจำตำบล       คณะทำงาน

     2.3 นายสมพงษ์    คนยืน                 ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล              คณะทำงาน

    2.4 นายเกตุแก้ว สังฆะฤกษ์               กำนันตำบลนิคมคำสร้อย                    คณะทำงาน

    2.5 นางวิมลนาถ  โนรีรัตน์                นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร              คณะทำงาน

    2.6 นางจิรัชยา  บุตรปรี                    ผอ.รพสต.โชคชัย                             คณะทำงาน

    2.7นายเพชรนคร  บุรัตน์                   ครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชน                    คณะทำงาน

    2.8 นางทัศวรรณ ชิณวงษ์                 นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ        คณะทำงานและเลขานุการ

    2.9 นางสาวปวันรัตน์  แก้วสีนวม        นักพัฒนาชุมชน                                 คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

3.คณะทำงานเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับหมู่บ้าน ประกอบด้วย

    3.1 นายประมวล  สีงาม                   ผู้ใหญ่บ้าน                                         ประธาน

    3.2 นางบุษราภรณ์ วังคะฮาต           กรรมการกลุ่มแม่บ้าน                            รองประธาน

    3.3 นายคำพูล ไชยกมล                 ประธาน อสม.                                      รองประธาน

    3.4 นายพานทอง เพียรราช             ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                  เลขานุการ

    3.5 นางนารี แสนแก้ว                     ประธานกลุ่มตะกร้าพลาสติก                   ผู้ช่วยเลขานุการ

    3.6 นายสุวนัย  ชำนิสาน                 สมาชิก อบต.                                      เหรัญญิก

    3.7 นางผกา  อั้งตุ่น                       กรรมการหมู่บ้าน                                 ผู้ช่วยเหรัญญิก

    3.8 นางรัตนา ต้นเอี่ยม                   กรรมการกลุ่มวิสาหกิจฯ                        ประชาสัมพันธ์

    3.9 นางทองเปรม วังคะฮาต             กรรมการกลุ่มวิสาหกิจฯ                        ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์

    3.10 นางกุสุมาลย์ จันทะไชย           เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจฯ                      ช่างภาพ

    3.11 นางเกษมณี บุญอำนวย          กรรมการหมู่บ้าน                                  ช่างภาพ

    3.12 นายวัฒนา  เสียงล้ำ              ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง                  โสตศึกษา

    3.13  นายชมพู  จันทะไชย            กรรมการหมู่บ้าน                                  ผู้ช่วยโสตศึกษา

    3.14 นางขวัญใจ  ห้วยทราย           ฝ่ายการตลาดกลุ่มวิสาหกิจฯ                  ปฎิคม

    3.15 นางจิราภรณ์ คำจิระ              ฝ่ายปฏิคมกลุ่มวิสาหกิจฯ                       ผู้ช่วยปฏิคม

   3.16  นางอุไร เถรดี                       กรรมการกลุ่มแม่บ้าน                            ผู้ช่วยปฏิคม

   3.17 นางสมปอง สุขเสนา              กรรมการกลุ่มแม่บ้าน                             ผู้ช่วยปฏิคม

              คณะกรรมการที่ปรึกษา

  • นายเสนาะ  สุวรรณไตรย์

  • นางอนงค์  ห้วยทราย

  • นายสงวน คนซื่อ

  • นางสมพร ห้วยทราย

  • นายอุดม รัตยา

  • ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน

  • วิทยาลัยการอาชีพนวมินทรนิคมคำสร้อย

  • เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน

    โรงเรียนบำรุงพงษ์อุปถัมภ์ (วัดภูด่านแต้)

                   ให้คณะทำงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำปี 2558 อำเภอนิคมคำสร้อย มีหน้าที่ ดังนี้

                      1. สนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

                      2. ติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

                      3. ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอำเภอนิคมคำสร้อย ในการพัฒนา                                                          

คุณภาพชีวิตของประชาชนและใช้ข้อมูลในการวางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมีประสิทธิภาพ

                     4. อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

                          ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                                                              สั่ง  ณ  วันที่   15  มกราคม  2558

                                 

สรุปผลการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

บ้านชัยมงคล  ตำบลโชคชัย  อำเภอนิคมคำสร้อย  จังหวัดมุกดาหาร

ส่วนที่ 1

ข้อมูลทั่วไป

.................................................. ..................................

คำขวัญหมู่บ้าน

   “ภูมิปัญญาตะกร้าสาน พุทธสถานภูดานแต้ งามแท้พระองค์ใหญ่ ศูนย์รวมใจชัยมงคล”

1.1 ประวัติหมู่บ้าน/ชุมชน

            เมื่อปี พ.ศ.2517 บ้านชัยมงคลได้ยกฐานะเป็นหมู่บ้าน  โดยแยกออกจากบ้านม่วงไข่ หมู่ที่13ต.นากอก อำเภอมุกดาหารจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในขณะนั้น หลวงพ่อสมพงษ์ขนฺติโก เป็นผู้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านชัยมงคล”ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยมีนายสิงห์ทองรากวงศ์ เป็นกำนัน  คนแรก 

นายกุศล จันทะไชยเป็นกำนันคนที่ 2โดยมีนายวิมล สุวรรณไตรย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน คือ นายประมวล  สีงาม 

             ปัจจุบันบ้านชัยมงคลได้เจริญเติบโตเป็นชุมชนขนานใหญ่มีประชากร 640 คน จำนวน 185 ครัวเรือน คนในชุมชนประกอบอาชีพสานตะกร้า-ทำนา-ทำไร่ในการสานตะกร้าซึ่งเป็นสินค้าระดับห้าดาว  ที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนนอกจากการทำเกษตร

1.2 การปกครอง

             หมู่บ้านชัยมงคลตั้งอยู่ในเขตการปกครอง 2  ส่วน คือ ในเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย มีครัวเรือนอยู่จริงทั้งหมด (จากการสำรวจข้อมูล  จปฐ. ปี  2558)

ทั้งหมด 185 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 640 คน เป็นชาย  338 คน  เป็นหญิง 302 คน (ประชากรในเขตเทศบาล 640 คน  เป็นชาย 312 คน หญิง 277  คน) - (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ทั้งหมด 

51 คน ชาย 26 คน หญิง 25 คน) แบ่งการปกครองออกเป็น 6 คุ้ม ดังนี้

  1. คุ้มภูฮาบ

  2. คุ้มบูรพาเทพารักษ์

  3. คุ้มเวชสุวรรณภูมิ

  4. คุ้มชัยมงคลอภิบาล

  5. คุ้มเทพากาญจนาภูมิ

            1.3 ลักษณะภูมิประเทศ และที่ตั้งหมู่บ้าน

    ลักษณะของหมู่บ้านของบ้านชัยมงคล ครัวเรือนมีการตั้งบ้านเรือนเรียงตามรายทางถนนชยางกรู 

    สายอุบลฯ – มุกดาหาร ที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นที่ราบสูง อยู่ห่างจากตัวอำเภอระยะทาง 5 กิโลเมตร และห่างจังหวัดมุกดาหาร 31 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้      

                       —  ทิศเหนือ              จดกับ     บ้านม่วงไข่ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

                       —  ทิศใต้                  จดกับ     บ้านคำพอก  อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

                       —  ทิศตะวันออก        จดกับ     บ้านด่านมน  อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุดาหาร

                       —  ทิศตะวันตก           จดกับ     บ้านคลองน้ำใส ต.โชคชัย อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร

                   ขนาดพื้นที่ พื้นที่ของหมู่บ้านชัยมงคลจัดได้ว่าเป็นหมู่บ้านขนาดกลางมีเนื้อที่ประมาณ 5,524 ไร่   แบ่งออกเป็น

                        — พื้นที่อยู่อาศัย 1,200 ไร่

                        — พื้นที่ทำการเกษตร 3,624 ไร่

                       — พื้นที่อื่น ๆ(ระบุ)  พื้นที่เป็นป่า 700ไร่       

        ภูมิประเทศและภูมิอากาศ ลักษณะโดยทั่วไปของชุมชน

    บริเวณชุมชนมีลักษณะเป็นเนิน สภาพชุมชนยังมีขนาดกลาง 185 หลังคาเรือน ชาวบ้านมักจะอยู่รวมกันในลักษณะเครือญาติพี่น้อง จึงมักจะสร้างบ้านเรือนในละแวกใกล้เคียง ลักษณะสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงดินทราย มีอากาศร้อนอบอ้าว ในฤดูร้อน และหนาวเย็นในฤดูหนาว

   1.4 ข้อมูลประชากร

        บ้านชัยมงคล มีครัวเรือนทั้งหมด 185 ครัวเรือน ประชากร 640 คน แยกเป็นชาย 338 คนหญิง 302 คน คนพิการในหมู่บ้าน 12 คน ผู้สูงอายุ (อายุ  60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) 73 คน  เป็นชาย 43 คน เป็นหญิง 30 คน

                                            ตารางแสดงจำนวนประชากร

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย

(คน)

จำนวนเพศหญิง

(คน)

จำนวนรวม

(คน)

น้อยกว่า  1  ปีเต็ม

1  ปีเต็ม  -  2  ปี

3  ปีเต็ม  -  5  ปี

6  ปีเต็ม  -  11  ปี

12  ปีเต็ม  -  14  ปี

15  ปีเต็ม  -  17  ปี

18  ปีเต็ม  -  25  ปี

26 ปีเต็ม – 49 ปีเต็ม

50  ปีเต็ม  -  60  ปี

มากกว่า  60  ปี  ขึ้นไป

2

8

16

10

9

11

94

88

57

43

3

4

7

16

10

10

84

90

49

30

5

12

23

26

19

21

178

178

106

73

รวม

338

302

640

หมายเหตุ  :  จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงจากการสำรวจนี้ อาจไม่เท่ากับจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านได้ (ข้อมูลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน  จปฐ.2 ปี 2558)

1.5. การประกอบอาชีพ (ในจำนวนหนึ่งครัวเรือนประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ)

  • เกษตรกรรม               

        1. ทำไร่                จำนวน    86    ครัวเรือน

        2. ทำนา               จำนวน   134   ครัวเรือน

        3. ทำสวน              จำนวน      6    ครัวเรือน

        4. เลี้ยงสัตว์            จำนวน     72   ครัวเรือน

  • อาชีพค้าขาย               จำนวน     8    ครัวเรือน

  • อาชีพรับจ้าง               จำนวน      -     ครัวเรือน

  • อาชีพรับราชการ           จำนวน     12   ครัวเรือน

1.6 รายได้ของประชากร

  • ครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่า 35,000  บาท/คน/ปี  

    จำนวน 184  ครัวเรือน

  • ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 35,000  บาท/คน/ปี    

    จำนวน   1 ครัวเรือน

          รายได้เฉลี่ยของประชากรของบ้านชัยมงคล  จำนวน  109,500 บาท/คน/ปี

หมายเหตุ: ข้อมูลจากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.2) ปี 2558)

1.7หน่วยงานราชการ และบริการขั้นพื้นฐานของชุมชน

  • โรงเรียน         จำนวน  2  แห่ง 

  • วัด                 จำนวน  1  แห่ง 

  • สนามกีฬา        จำนวน  1  แห่ง 

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน   - แห่ง 

  • หอกระจายข่าว  จำนวน  1  แห่ง 

  • ร้านค้า/ร้านอาหารจำนวน  12  แห่ง 

  • ศูนย์เรียนรู้       จำนวน  1  แห่ง

           วิทยาลัยการอาชีพ จำนวน  1  แห่ง

1.8 ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน

  • การมีไฟฟ้าใช้ของครัวเรือน บ้านชัยมงคลมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

  • โทรศัพท์สาธารณะจำนวน   -   แห่ง 

  • แหล่งน้ำตามธรรมชาติดังนี้

    -  บ่อปลาในนาข้าว       จำนวน   63  แห่ง 

    -  สระน้ำสาธารณะ       จำนวน     2  แห่ง 

    -  ลำห้วย                  จำนวน     5   แห่ง 

    -  หนอง/บึงน้ำสาธารณะ จำนวน   1  แห่ง 

    -  ป่าชุมชน                จำนวน     1  แห่ง   

         แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

           -  บ่อบาดาล              จำนวน  2  แห่ง 

          -  บ่อน้ำตื้น                จำนวน  3  แห่ง 

1.9  ผู้นำชุมชน กลุ่ม และองค์กรชุมชน

 ผู้นำฝ่ายปกครองท้องที่

 1)  นายประมวล   สีงาม           ตำแหน่ง  ผู้ใหญ่บ้าน

 2.) นางพานทอง   เพียรราช      ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

 3.) นายวัฒนา      เสียงล้ำ        ตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

 4.) นายสาง         แดงท่าขาม    ตำแหน่ง ผรส

 ผู้นำฝ่ายท้องถิ่น

 1) นายสมบัติ    จินาวรณ์          ตำแหน่ง สมาชิกสภา อบต

 2) นายสุวนัย    ชำนิสาร          ตำแหน่ง  สมาชิกสภา อบต

 3) นายอุดม      รัตยา             ตำแหน่ง  สมาชิกสภาเทศบาล

4)  นายศักดิ์ชัย   เสียงล้ำ        ตำแหน่ง  สมาชิกสภาเทศบาล

กลุ่มมวลชนในชุมชน

1)  อาสาพัฒนาชุมชน                     จำนวน    4   คน

2)  อปพร.                                    จำนวน    5   คน

3)  ผู้ประสารพลังแผ่นดิน                 จำนวน  25   คน  

4)   อสพป.                                   จำนวน  -     คน  

5)  คณะกรรมการพัฒนาสตรี (กพสม.) จำนวน   15  คน  

6)  อาสาสมัคสาธารณสุข (อสม.)       จำนวน   14  คน  

7)  คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน (กทบ.)  จำนวน    9  คน  

8)  คณะกรรมการหมู่บ้าน                    จำนวน  21 คน  

ข้อมูลกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน/กลุ่มทางสังคมและทุนทางสังคม

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต              จำนวน 1  กลุ่ม

กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.)                    จำนวน 1  กลุ่ม

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน                          จำนวน   1 กลุ่ม

กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชน (OTOP)          จำนวน  7  กลุ่ม

กลุ่มอื่นๆ แม่บ้าน                             จำนวน  1  กลุ่ม

กลุ่มอื่น ๆ สวนเศรษฐกิจพอเพียง         จำนวน  1  กลุ่ม

7) กลุ่มกองทุนปุ๋ย                            จำนวน  1  กลุ่ม

1.10 ภูมิปัญญาชาวบ้าน/ปราชญ์ชาวบ้าน

แพทย์แผนไทย/ สมุนไพร /หมอพื้นบ้าน ได้แก่

1) นายวันคำ  สังฆะฤกษ           เรื่อง  สมุนไพร

2) นายคำ  สะอาด                   เรื่อง  สมุนไพร

อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่นไทย  ได้แก่

นายสงวน  คนซื่อ              เรื่อง การสูตรขวัญ

นายเสนาะ สุวรรณไตรย์      เรื่อง วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น

ผู้มีความรู้ด้านความเชื่อ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์  ได้แก่

1) นายคำ  สะอาด        เรื่อง  โหราศาสตร์

 2)นางทองสุข  อั้งตุ่นเรื่อง  โหราศาสตร์

  • งานฝีมือต่าง ๆ  เช่น ช่างไม้ ช่างปั้น ช่างแกะ หัตถกรรม จักสาน ทอผ้า ได้แก่

  1. นางสมพร  ห้วยทราย      เรื่อง จักสาน

  2. นางทองเปรม   วังคะฮาดเรื่อง หัตถกรรม

  • ด้านการเกษตร เช่น การเพาะปลูก ขยายพันธ์ การปรับใช้เทคโนโลยี ได้แก่

  1. นายอรุณ  พนารี       เรื่อง การปรับใช้เทคโนโลยี

  2. นายห้าง  สุวรรณไตรย เรื่อง ขยายพันธุ์พืช

  • ด้านถนอมอาหาร  ได้แก่

    1) นางวิยะดา พนารี   เรื่อง การถนอมอาหาร

    2) นางนิ่ม   ชำนิสาร   เรื่อง การถนอมอาหาร

       ด้านการบริหารกลุ่ม

           1) นายจิตภานุ  คนซื่อ    เรื่อง การบริหารกลุ่ม

           2) นางสมพร  ห้วยทราย เรื่อง  การบริหารกลุ่ม/การตลาด

1.11  แหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านสวนเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรวัดภูดานแต้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วนอุทยานภูหมูแหล่งท่องเทียวเชิงธรรมชาติ

1.12  อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ได้แก่

         1) วัดภูด่านแต้ (หลวงพ่อธรรมจักร)

         2) งานจักรสานพลาสติกซึ่งเป็นงาน OTOP

ที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

         3) งานแห่พระในเทศกาลสงกรานต์

   1.13 เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน ได้แก่

         1) ด้านการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาเด็กและเยาวชน

         2) ด้านสาธารณะสุข  ประชาชนมีสุขภาพดี

         3) ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี น่าอยู่ น่ามอง

         4) ด้านเศรษฐกิจ คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้

         5) ด้านสังคม คนในชุมชนเคารพกฎกติกาและรักใคร่สามัคคีกัน

         6) ด้านการคลัง ชาวบ้านบริหารจัดการด้วยตนเองได้

         7) โครงสร้างพื้นฐาน  สาธารณูปโภคครอบคลุมในชุมชน

   1.14วิถีชุมชนของบ้านชัยมงคล หมู่ที่ 1

          การเป็นอยู่  ของชาวบ้านชัยมงคล ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อยเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พออยู่พอกิน ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำ และดินยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่มากซึ่งสังเกตได้จากการทำการเกษตร อาชีพหลักคือ การทำนา อาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว ได้แก่ ผลิตตะกร้าสานพลาสติกจำหน่าย  ปลูกพริก หอม  และพืชสวนอื่นๆ ที่ต้องอาศัยดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถึงจะเจริญงอกงาม และได้ผลผลิตดี การดำเนินวิถีชีวิตของประชาชนยังคงยึดถือประเพณีโบราณไทยอีสานที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน  รวมทั้งความเชื่อทางพระพุทธศาสนาชาวบ้านให้ความเคารพ เชื่อถือ ศรัทธาผู้นำชุมชน คนแก่เฒ่า พระสงฆ์  ประเพณีสำคัญเช่นสงกรานต์ เข้าพรรษา  ออกพรรษา  ลอยกระทงเป็นต้น

          การทำมาหากินของชาวบ้านในเขตพื้นที่บ้านชัยมงคล  หากินตาม ป่า ภูเขา หนองน้ำลำห้วยต่างๆ  ที่มีอยู่ในชุมชน  ซึ่งใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำมาหากิน  ดังต่อไปนี้

          การใส่เบ็ดหรือการตกเบ็ดเบ็ดเป็นเครื่องมือจับปลาอย่างหนึ่งของชาวบ้านในถิ่นนี้  เบ็ดมีหลายชนิด  เช่น เบ็ดคัน เบ็ดราวหรือเบ็ดตก (ทกเบ็ด)ซึ่งจะมีลักษณะคือ จะใช้คันที่เป็นไม้ไผ่น้อยขนาดความยาวทั้งลำแล้วใช้เบ็ดที่มีขนาดใหญ่ใช้เหยื่อที่ใช้ส่วนมากจะเป็นไส้เดือน ปู หรือเขียด เป็นตัวล่อ ปักไว้ตามคันนาในฤดูฝนหรือตามหนองน้ำในฤดูแล้ง

          การใส่มอง  (ตาข่ายดักปลา)มองจะเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ในการใช้ค่อนข้างจะเป็นการง่ายต่อการหาปลาธรรมดาและแบบใยบัว ยังจะมีความกว้างความลึกต่างๆกันแล้วแต่น้ำลึกหรือตื้นจะทำในช่วงฤดูน้ำหลากและตามห้วยหนอง แหล่งน้ำธรรมชาติ

          การทอดแหเป็นเครื่องมือจับปลาที่สานด้วยด้ายไนล่อนมีหลายขนาดตามความกว้างความยาวของตาข่าย  แห  แหสาม  แหสี่  ฯลฯ  (สี่ศอกหรือฟุต) โดยการทอดแหในสมัยปัจจุบันอาจทำเป็นเหยื่อล่อไว้ต่อ เช่น รังหรือการโยนก้อนดินหรือหินทำเป็นการล่อว่าเป็นปลาตัวอื่น

          การไล่เยาะ  (พุ่มไม้ดักปลาตามลำน้ำ)เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านการทำกินอย่างหนึ่ง  เป็นการนำเอากิ่งไม้หรือขอนไม้มากองรวมกันไว้ที่ใดที่หนึ่ง  ให้ปลามาอาศัยในช่วงน้ำลดหรือน้ำแล้ง  ในช่วงเวลาที่เราต้องการไล่  ก็นำตาข่ายขวางรอบกองไม้เอาไว้แล้วขนไม้นั้นออกแบบนี้ต้องอาศัยแรงงานคนมากเมื่อเอาออกหมดแล้วก็เอาตาข่ายที่อยู่ใต้น้ำรวมเข้าหากันทั้งข้างล่างและข้างบนให้ปลารวมกันอยู่ตรงกลางแล้วขดขึ้นทางชาวบ้านจะเรียกว่าไปกินข้าวป่า

         การใส่ไซใส่ลอบเป็นเครื่องจับปลาอีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกันคือ  จะเป็นการดักปลาตามบริเวณที่มีคันคูหรือที่มีน้ำไหลเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ประสบการณ์และการทำเครื่องดักทั้งสองอย่างในช่วงเวลาที่เหมาะสม

1.15 วัฒนธรรม/ประเพณี

1.  การเกิด

                   บิดา มารดาที่รู้ตัวว่าจะมีลูก จะมีความรู้สึกปราบปลื้มใจ จึงทะนุถนอมลูกในครรภ์ให้ดีที่สุด  เมื่อคลอดจะจดจำวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฝาก เพื่อทำนายดวงชะตาผูกดวงชีวิต หาผู้ใหญ่ตั้งชื่อให้เป็นสิริมงคล  ในอดีตการคลอดบุตรจะอาศัยหมอตำแย ในการทำคลอดซึ่งแตกต่างจากปัจจุบัน ชาวบ้านนิยมคลอดบุตรที่สถานพยาบาลของรัฐ  เด็กที่เกิดใหม่ บิดา มารดา  จะมีการนำเอารกเด็กไปฝังไว้ใต้บันได สุมไฟไว้บนหลุมฝังรก เรียกว่า “พิธีฝังสายแห่  แผ่สายบือ” สำหรับแม่ที่คลอดบุตรใหม่จะมีการอยู่ไฟ และในช่วงที่อยู่ไฟจะเลือกรับประทานอาหาร  เพื่อไม่ไห้เกิดการแพ้อาหาร เลือกกินอาหารที่ไม่แสลงต่อร่างกาย ในระยะที่อยู่ไฟจะมีบ้านใกล้เรือนเคียงญาติมิตรไปอยู่เป็นเพื่อน ไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “งันกรรม” ผู้เป็นเจ้าบ้านเตรียมอาหารไว้ต้อนรับผู้มาเยี่ยมตามประเพณีอันดี

2.  พิธีบวช

                   จะเริ่มจากการจับนาคโดยนำนาคเข้าฝากก่อน 7 วัน เพื่อให้นาคได้ท่องคำขานนาคให้ได้เสียก่อน จนถึงวันงานก่อนจะมีการทำขวัญนาค มีพิธีขอขมาลาโทษ แล้วก็มีการโกนผมนาคโดยให้ให้บิดา  มารดา โกนผมก่อนแล้วก็ญาติตามลำดับ  เมื่อโกนผมเสร็จจะเป็นพิธีการทำขวัญนาค ต่อมาเป็นการแห่นาคเข้าอุปสมบทในโบสถ์  ในสมัยโบราณจะมีการนำลูกเข้าบวช  จำพรรษา แต่ในปัจจุบันจะบวชเป็นประเพณีและถือฤกษ์สะดวกและจะไม่บวชกลางพรรษา

3.  การแต่งงาน

                   การแต่งงานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการกินดอง หรือการเกี่ยวดองเป็นญาติกันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง การแต่งงานจะเริ่มจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรักใคร่ชอบพอกัน โดยฝ่ายชายจะบอกพ่อ  แม่ ไปสู่ขอ เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงตกลงเรื่องสินสอดทองหมั้น และได้ตกลงว่าเมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายใดจะไปอยู่กับฝ่ายใดการทำพิธีแต่งงานเมื่อได้ฤกษ์ตามกำหนดก็จะจัดขบวนแห่เจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาว เรียกว่า แห่ขันหมากการทำพิธีผู้ทำพิธีคือหมอสูตรเมื่อพิธีจะมีการผูกแขนเขยสะใภ้สำหรับฝ่ายหญิง จะเตรียมของมาด้วยซึ่งเรียกว่า เครื่องสมมาให้แก่ญาติฝ่ายชาย และมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหาร พอเสร็จสิ้นงานเลี้ยง ก็มีการส่งตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวหลังจากแต่งงานได้ 3 วัน เจ้าสาวเจ้าบ่าว จะต้องไปสมมาญาติฝ่ายชายฝ่ายหญิงข้างละเท่า ๆ กัน

4.  พิธีการทำศพ

                   แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ การทำศพที่ตายโหง(ผิดธรรมชาติ) ศพตายโหง คือ ตายเนื่องจากอุบัติเหตุต่างๆ ไหลตาย และศพที่ตายธรรมดา คือ ตายเนื่องจากโรคธรรมดา เจ็บป่วยการทำศพตายโหงจะทำพิธีฝังอย่างเดียวไม่มีการเผาจะฝังจนครบ 3 ปี แล้วจึงนำศพขึ้นมาเผาแล้วทำบุญ ปัจจุบันนิยมโบกปูนไว้ตามวัดหรือป่าช้าจนครบกำหนดก็จะทำพิธีเผ่าเช่นกัน

การทำศพธรรมดาคือ  ตายเนื่องจากโรคธรรมดา เจ็บป่วยจะเรียกอีกอย่างคือเผาขั้นแรกของการเผาศพที่ตายใหม่จะต้องมีการแต่งศพ โดยการอาบน้ำศพ แล้วใช้ผ้าด้ายมัดมือให้ประนมมือโดยถือดอกไม้  ธูปเทียนไว้แนบอกแล้วใช้เสื่อห่อมัดด้วยฝ้าย 3 เปลาะคลุมด้วยผ้าขาวเอาศพใส่โลง หันหัวศพไปทางทิศตะวันตกเอาศพไว้ที่บ้าน 3 วัน ตกเย็นก็นิมนต์พระมาสวดอภิธรรมศพและเมื่อครบ 3 วัน ในวันเผาโดยปกติจะเผาช่วงเวลา 15.00 น.เผาได้ทุกวันเว้นวันอังคารและสำคัญทางพุทธศาสนา  สมัยก่อนจะนิยมเผาในป่าช้าแต่สมัยนี้นิยมเผาในเมรุ ซึ่งก่อนเผ่าจะเวียนศพรอบกองฟอน 3 รอบ ( ถ้าเป็นเผาในป่าช้า) แต่ถ้าเผาในเมรุก็นิมนต์พระเทศน์หน้าศพเป็นครั้งสุดท้ายแล้วเปิดหีบศพออกล้างหน้า  ด้วยน้ำมะพร้าวและน้ำหอมจึงทำการเผา หลังจากนั้นได้  7 วัน  ญาติจึงช่วยกันเก็บกระดูกแล้วทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศส่วนกุศล หลังจากนั้น 100 วันหรือแล้วแต่ความพร้อมของญาติพี่น้องจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลซึ่งเรียกว่า บุญอัฏฐะ  หรือบุญกฐิน  ให้แก่ผู้ตาย

5.  การสูตรขวัญ

                   การสูตรขวัญจะกระทำในโอกาสต่าง ๆ  ทั้งทางดีและทางไม่ดีการสูตรขวัญในทางดีเช่น หายจากอาการเจ็บป่วย อุบัติเหตุการณ์แคล้วคลาด มีโชคลาภ การไปทหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้กำลังใจผู้นั้นก็มีการเสียเคราะห์ให้หายไปสิ้นเรียกว่า “แต่งแก้”หรือการบายศรีสู่ขวัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น การแต่งงานงานบวช งานขึ้นบ้านใหม่พิธีสู่ขวัญข้าวของชาวบ้าน

6.  การลงแขก

                    การลงแขกยังมีการสืบทอดมาแต่สมัยโบราณการลงแขกแสดงให้เห็นถึงการมีน้ำใจ  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การลงแขกจึงเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะทำให้สำเร็จลุล่วง เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว  ดำนา นวดข้าว การลงแขกผู้เป็นเจ้าบ้านจะต้องบอกเล่าเพื่อนบ้าน เพื่อมาช่วยทำงานส่วนใหญ่จะกระทำในวันเดียวให้เสร็จแต่บางคนจะช่วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกัน และกันโดยไม่ใช้เงินตอบแทน แต่ปัจจุบันการลงแขกเกี่ยวข้าวจะเป็นกึ่งจ้างกึ่งลงแขกคือให้ค่าตอบแทนด้วย  เลี้ยงอาหารประกอบกันไปด้วย

                   ชาวบ้านชัยมงคลมีวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามจากบรรพบุรุษสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งความเชื่อทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมที่ปรากฏทางด้านจิตใจยังเป็นไปตามประเพณีดั้งเดิมที่ชาวบ้านเรียก“ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” ซึ่งชาวบ้านยังให้ความเคารพ เชื่อถือ ศรัทธา ผู้นำชุมชน  พระสงฆ์ ครู– อาจารย์  และคนเฒ่าคนแก่ในการจัดพิธีกรรมต่าง ๆ การจัดงานประเพณี “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” เป็นไปตามความเชื่อและยังปฏิบัติกันสืบมาดังนี้

1.  ประเพณีบุญข้าวจี่

                   ประเพณีบุญเดือนสามเดือนสี่บุญข้าวจี่กระทำกันในวันมาฆบูชาโดยการทำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนย่างไฟให้สุกทาด้วยไข่ผสมน้ำอ้อยทำให้ครบ 3 ก้อน แล้วนำไปถวายวัดและมีการเสี่ยงทายโดยใช้ไข่เรียกว่า บุญเบิกบ้าน เพื่อเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ในหมู่บ้าน เสี่ยงทายฟ้าฝนตกว่าจะต้องตามฤดูกาล

2.  ประเพณีสงกรานต์

                   ประเพณีบุญเดือนห้าการสงกรานต์ วันที่  12 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย ชาวบ้านจะมารวมกันตักบาตรหน้าศาลาประชาคมหมู่บ้านหลังจากนั้นชาวบ้านจะร่วมขบวนแห่องค์หลวงพ่อพระธรรมจักรไปตามชุมชนต่างๆ  เพื่อให้ชาวบ้านในเขตตำบลและชุมชนใกล้เคียง  ได้สรงน้ำขอพรพระเพื่อเป็นสิริมงคลแด่ตนเองและครอบครัว  และเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนานแล้ววันที่ 13 จะรวมตัวกันลงทำบุญตักบาตรที่วัดและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในวันทำบุญรวมญาติ  ร่วมกันสรงน้ำพระสงฆ์และผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อขอพร

3. ประเพณีบุญบั้งไฟ

                   ประเพณีบุญเดือนหก ประเพณีบุญบั้งไฟ  เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ  มีความเชื่อว่าเป็นการขอฝนและการบูชาพญาแถน  ขอให้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  การจัดงานจะส่งข่าวไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อนำบั้งไฟมาแข่งขันและประกวดบั้งไฟสวยงาม การแข่งขันบั้งไฟสูงส่วนมากจะจัดสองวันแรกจะประกวดบั้งไฟสวยงามพร้อมขบวนฟ้อนจากหมู่บ้านต่างๆ วันที่สองจะประกวดบั้งไฟขึ้นสูงก่อนจะมีการแข่งขันกันนั้นจะมีการจุดบั้งไฟเสี่ยงทายก่อน จึงเป็นการจุดเพื่อพยากรณ์ว่าถ้าบั้งไฟขึ้นสูงปีนั้นฝนจะตกต้องตามฤดูกาล   น้ำในนามีความอุดมสมบูรณ์หลังจากนั้นจะเป็นการจุดบั้งไฟของคณะต่างๆ ถ้าบั้งไฟใครอยู่บนฟ้าและทำเวลาได้นานที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ถ้าบั้งไฟใครไม่ขึ้นหรือแตกชาวบ้านจะช่วยกันหามเจ้าของคลุกโคลนตมกันอย่างสนุกสนาน

                             ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟเป็นงานประเพณีบุญเดือน 6 เป็นงานประจำปีช่วงเดือน  พฤษภาคม ยึดตามคตินิยมว่าเมื่อทำการจุดบั้งไฟขึ้นสู่เบื้องบน เป็นการบูชาพญาแถนซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจอมเทพผู้บันดาลให้ฝนตกตำนานว่าเมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ถือชาติเป็นพญาคางคกอาศัยอยู่ใต้ต้นมหาโพธิ์เมืองพันทุมวดี   เหตุใดไม่แจ้งพญาแถนเกิดโกรธเคืองโลกมนุษย์มากจึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง  7 ปี เกิดความลำบากยากแค้นแสนสาหัสมนุษย์สัตว์พืช พากันล้มตายเป็นอันมาก ที่ยังแข็งแรงรอดตายได้ก็รวมกันไปที่ต้นโพธิ์ใหญ่พญาคางคก     สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อหาวิธปราบพญาแถนโดยให้  พญานาคยกทัพไปก่อนแต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปอีกก็พ่ายแพ้อีกเช่นกัน  ทำให้เกิดการท้อแท้ หมดกำลังใจและสิ้นหวังได้แต่รอความตายในที่สุดพญาคางคกก็เสนอตัวอาสาไปปราบพญาแถนอีกครั้งโดยวางแผนให้พญาปลวกก่อจอมปลวกเป็นทางถนนขึ้นไปหาเมืองพญาแถนให้มอดเจาะด้านอาวุธ พญาแตน พญาต่อ แมงป่อง ตะขาบทุกตัวซ่อนตัวอยู่ในกองฝืนที่จะหุงต้มและอยู่ในเสื้อผ้ากัดไพร่พลของพญาแถน เจ็บปวดร้องระงมจนทำให้กองทัพระส่ำระสายในที่สุดก็จับพญาแถนได้ และทำสัญญาสงบศึก

1.  ถ้าให้สัญญาณเมื่อใด พญาแถนต้องให้ฝนตกลงโลกมนุษย์ (จุดบั้งไฟ)

2.  ถ้าได้ยินเสียง กบเขียดร้อง รับรู้ว่าฝนตกแล้ว

3.  ถ้าได้ยินเสียง ธนู (เสียงว่าว ธนูหวาย) พร้อมเสียงโหวด จึงบอกให้ฝนหยุดตก

4. หลังจากทำสัญญากันแล้ว พญาแถนก็ถูกปล่อยตัวไปและถือปฏิบัติตามสัญญาโดยตลอจนถึงปัจจุบัน

4. ประเพณีงานแห่พระ 

                    ประเพณีชาวบ้านได้สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ คือในตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดหลังจากนั้นจะมีการตกแต่งรถและอัญเชิญพระพุทธรูปคู่เมืองออกไปยังหมู่บ้านขบวนแห่ก็จะเริ่มแห่ไปเรื่อยๆ

ในเขตตำบลและชุมชนใกล้เคียง จนถึงวัด  ตลอดทางจะมีชาวบ้านสรงน้ำพระพุทธรูปและสรงน้ำกันอย่างสนุกสนาน  และได้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นแทนที่ประทับเดิม  เป็นการจบพิธีสรงน้ำและเล่นสาดน้ำในปีนั้นวันรุ่ง

ขึ้นก็มีการ  ถวายกัณฑ์เทศน์แด่พระภิกษุสงฆ์เป็นอันเสร็จพิธี    

5. ประเพณีเดือนแปด

                   มีประเพณีบุญเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือนแปดาชาวบ้านนิยมบวชลูกหลานในช่วงเข้าพรรษาเพื่อให้ศึกษาพระทำวินัย  และเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาตามประเพณีตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลภิกษุจะอยู่จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึง 15  ค่ำเดือน 11 ในงานบุญเข้าพรรษา  ตลอดเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร ช่วงบ่ายจะมีการถวายผ้าอาบน้ำฝนดอกไม้ธูปเทียนถวายน้ำตาลโอวัลติน  เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในการจำพรรษาตลอด  3  เดือน  ตลอดเย็นจะมีการทำวัตรและเวียนเทียนโดยเจ้าอาวาสและญาติโยม

6. ประเพณีเก้าเดือนสิบ

                   ประเพณีบุญข้าวสาก  ข้าวประดับดินตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบเรียกว่า  บุญเดือนสิบ  เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้วส่วนข้าวประดับดินจะเป็นการนำอาหารที่จัดไว้ไปแขวนไว้ตามต้นไม้เพื่อเรียกวิญญาณให้มารับของกินในวันเดือนดับ  การทำบุญข้าวสากจะเขียนชื่อพระภิกษุลงในบาตรถ้าผู้ใดข้าว

สากของพระภิกษุองค์ใดได้ ก็ให้นำมาถวายพระภิกษุองค์นั้นโดยเขียนชื่อผู้ล่วงลับไปแล้วและข้าวสากที่ทำด้วยใบตองข้างในบรรจุอาหารคาวหวานแล้วเย็บติดกันนำมาถวายแก่พระภิกษุสงฆ์เมื่อฉันเสร็จแล้วจะมีการฟังเทศน์  และการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว  แล้วนำข้าวสากไปไว้ในนาเพื่อให้เจ้านาหรือว่าตาแฮกได้กินถือเป็นการเลี้ยงตำแฮกให้ได้ข้าวงาม

7. ประเพณีบุญเดือนสิบเอ็ด

                   ประเพณีบุญออกพรรษาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ในตอนเช้าชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรที่วัดตอนกลางคืนจะมีการถวายต้นปราสาทผึ้ง  ซึ่งประกอบด้วยข้าวสาร เสื่อ ผึ้ง ดอกไม้ธูปเทียน  เช้าวันแรม  1  ค่ำ  จะมีการทำบุญตักบาตรเทโวโดยพระสงฆ์จะเวียน 3 รอบ รอบที่  1 จะเป็นปัจจัย รอบที่  2  จะเป็นข้าวสารอาหารแห้ง รอบที่ 3 จะเป็นข้าวสุก เมื่อครบสามรอบก็เป็นอันเสร็จพิธีเป็นประเพณีความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาครั้งพระพุทธองค์เสด็จไปโดยพุทธมารดาที่ สวรรค์เมื่อนั้น เรื่องเรียกว่า พระเจ้าเปิดโลก 3 โลกให้เห็นกัน สวรรค์  นรก มนุษย์

8.  บุญเดือนสิบสอง

                   ในเดือนสิบสองจะมีประเพณีบุญกฐินเริ่มจากออกพรรษาคือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองผู้ที่ต้องการจะทำบุญกฐินจะต้องเขียนฉลากจองวันที่จะทอดถวายโดยในปีหนึ่งแต่ละวัดจะมีการรับกฐินได้เพียงหนึ่งครั้ง และเมื่อถึงวันทอดกฐินเจ้าภาพต้องเตรียมองค์กฐินให้พร้อมเพรียง และนำถวายตามวัดที่กำหนดไว้การดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศฯเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชนเป็นสารสนเทศเพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการชุมชนในด้านต่างๆให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัญหาครัวเรือนในหมู่บ้านที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานรวมทั้งให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนในการรักษาสมดุลของทุนในชุมชนเช่น ทุนมนุษย์ทุนสังคมทุนกายภาพทุนธรรมชาติและทุนการเงินโดยนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ประชาชนสามารถวิเคราะห์แยกแยะสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆในชุมชนมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนปัญหาอุปสรรคและโอกาสต่างๆในการพัฒนา/แก้ไขปัญหาของครัวเรือน/ชุมชนส่งผลให้ระบบสารสนเทศสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการตนเองแก้ไขปัญหาต่างๆและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำวันที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ส่วนที่ ๒

การวิเคราะห์ชุมชนจากเวทีประชาคม

          จากการดำเนินงานจัดทำเวทีประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านซึ่งชุมชนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากข้อมูลชุมชนที่มีอยู่เช่นจปฐ. กชช.2ค. และข้อมูลจากการจัดเก็บโดยชุมชนเพื่อนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลชุมชนนำสู่กระบวนการวางแผนชุมชนและกำหนดตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้านพบว่ามีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้

          1.  สภาพปัญหาจากการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ปี 2558   

            จากการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ปี 2558 จำนวน  30 ตัวชี้วัด พบว่าบ้านชัยมงคล หมู่ที่ 1 ตำบลโชคชัย  อำเภอนิคมคำสร้อย  จังหวัดมุกดาหาร  บรรลุเป้าหมายจำนวน 27  ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 23 ,25,26

หมวดที่ 1 ด้านสุขภาพดี (คนไทยมีสุขภาพและอนามัยที่ดี) มี 7 ตัวชี้วัด สรุปดังนี้เนื่องจากบ้านชัยมงคล มีระยะทางห่างจากโรงพยาบาลอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประมาณ 2 กิโลเมตร อีกทั้งมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่เข้าถึงและให้บริการประชาชนอย่างดี การเข้าถึงหน่วยบริการสาธรณสุขประจำตำบลสะดวกมาก ได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ของสาธารณสุขอย่างทั่วถึง       จึงพบว่าประชากรของบ้านชัยมงคลผ่านเกณฑ์ในด้านนี้ทุกข้อ 

หมวดที่ 2 ด้านมีบ้านอาศัย(คนไทยมีบ้านอาศัยสภาพแวดล้อมเหมาะสม) มี 8 ตัวชี้วัดบ้านเรือนส่วนใหญ่มีความมั่นคง แข็งแรง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมไม่มีการรบกวนจากมลภาวะ และมีความอบอุ่น จึงสรุปว่าบ้านชัยมงคล ทุกครัวเรือนผ่านเกณฑ์ด้านนี้

หมวดที่ 3  ด้านฝักใฝ่การศึกษา (คนไทยมีการศึกษาที่เหมาะสม) มี 5 ตัวชี้วัด การเข้าถึงบริการด้านการศึกษา ส่วนมากประชาชนถือว่าได้รับการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะมีโรงเรียนตั้งอยู่ติดกับชุมชนเองนอกจากนี้ยังมี กศน. ที่ส่งเสริมให้กับผู้ที่ด้อยโอกาสได้ศึกษาต่อทำให้ผ่านเกณฑ์ข้อมูล จปฐ. ทุกข้อ

หมวดที่ 4  ด้านรายได้ก้าวหน้า (คนไทยมีงานทำและมีรายได้)มี 4 ตัวชี้วัด ชุมชนมีการพัฒนาอาชีพส่วนใหญ่เพื่อหารายได้ให้ครอบครัวเกิดความมั่นคงต่อชีวิต  และครอบครัวอย่างต่อเนื่อง เป็นหมู่บ้านที่มีรายได้ต่อคนต่อปีค่อนข้างสูงในข้อนี้มีครัวเรือนตกเกณฑ์เรื่องรายได้ จำนวน 1 ครัวเรือน อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล เนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้มั่นคง คนในชุมชนร่วมกันดูแล ปัจจุบันบุตรหลานกลับมาดูแลจึงทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

หมวดที่ 5  ด้านปลูกฝังค่านิยมไทย(คนไทยประพฤติดีและมีคุณธรรม) มี 6 ตัวชี้วัด ชุมชนได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้าใจถึงความเป็นไทยอยู่เสมอ และมีการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ข้อมูล มีครัวเรือนตกเกณฑ์อยู่ 2 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 25 ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 4 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.93 และตัวชี้วัดที่ 26 ไม่ผ่านเกณฑ์ 4 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.93 (ข้อมูลพื้นฐาน) ปี 2558 อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจครัวเรือนให้รู้ถึงโทษภัยของบุหรี่และสุรา

      2. สภาพปัญหาจากการวิเคราะห์ข้อมูล กชช. ๒ค ปี ๒๕๕๘

          เป็นข้อมูลพื้นฐานแสดงภาพรวมในระดับหมู่บ้าน จำนวน ๖ ด้าน ๓๑ ตัวชี้วัด  (จัดเก็บข้อมูล ๒ ปีต่อ ๑ ครั้ง) พบว่าเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3

สรุปสภาพปัญหาของหมู่บ้าน

  1. มีปัญหามากไม่มี

  2. มีปัญหาปานกลาง จำนวน 5 ตัวชี้วัด

  3. มีปัญหาน้อย 28 ตัวชี้วัด

3. ข้อมูลอื่นๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                   ด้านสาธารณสุข

  • มีการป้องกันกำจัดโรคติดต่อในชุมชน

  • ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน

  • ส่งเสริมการกำจัดลูกน้ำยุงลายและพ่นหมอกควัน

    ด้านการเกษตร

  • ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่

  • มีการทำนาปรัง

  • แหล่งในการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง

                        ด้านวัฒนธรรม

                           -   ส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นที่ดี

                        ด้านปศุสัตว์             

                           -  มีอาสาสมัครประจำหมู่บ้านช่วยประสานงานกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ

                        ด้านสังคม               

                           -  ชุมชนให้ความร่วมมือ มีความรักสามัคคีปรองดองกันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ให้ความร่วมมือกับภาครัฐและทุกภาคส่วน

    4. การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน โดยเทคนิค SWOT Analysis

    S = Strengths จุดแข็งของชุมชน (คือ สิ่งที่ดีดีในหมู่บ้าน) ได้แก่

                   1. มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในหมู่บ้านชุมชน

                   2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน การทำกิจกรรมต่างๆในชุมชน

                   3. มีอาชีพเสริมหลังจากฤดูทำนาทำให้ชุมชนไม่ว่างงาน โดยเฉพาะการสานตะกร้าพลาสติก

                   4.มีการออกข้อบังคับ กฎหมู่บ้านที่มาจากการทำเวทีประชาคมและทุกคนให้ความเคารพ

                   5. บุคลากรในหมู่บ้านมีความเข้มแข็งและเสียสละ

                   6. ประชาชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นอย่างดีไม่มีความขัดแย้งกัน

    7. มีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ในด้านต่างๆอย่างหลากหลายซึ่งพร้อมจะนำองค์ความรู้มาใช้ใน

    งานพัฒนาชุมชนได้

    8.ผู้นำหมู่บ้านทั้งผู้นำตามธรรมชาติและผู้นำทางการมีความสามัคคีกันและได้ร่วมกันผลักดัน

    ให้เกิดกลุ่มองค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างหลากหลาย

                   9.มีการรวมกลุ่มเป็นองค์กรในชุมชนเพื่อเป็นแกนนำหลักสำคัญการพัฒนาหมู่บ้าน

                   10.มีแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพในชุมชน

                   11. มีวัดภูด่านแต้ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจและแกนนาในการขับเคลื่อนการพัฒนาประสานการทางานระหว่างบ้านวัดโรงเรียน (บวร)

     

    W = Weaknesses จุดอ่อนของชุมชน (สิ่งที่บกพร่องในหมู่บ้าน)ได้แก่

                   1. ปัญหาการว่างงาน

                   2. ขาดความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่

                   3. การย้ายถิ่นไปทำงานที่อื่น

                   ๔. ประชากรส่วนหนึ่งอยู่ในที่สาธารณะ

                   5. อุปกรณ์ด้าน ICT ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของคนในชุมชน

    O = Opportunities โอกาสของชุมชน (สิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกหมู่บ้านที่ส่งผลดีต่อหมู่บ้าน)

    ได้แก่

  1. มีการออมในชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกลุ่มแม่บ้าน
  2. มีเงินทุนสนับสนุนให้กู้ยืมประกอบอาชีพเช่นธนาคาร ธกส. ออมสิน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกองทุนหมู่บ้าน กองทุนปุ๋ย

3.การเข้าถึงการสื่อสารระบบไร้สาย เช่น อินเตอร์เน็ต

               4.มีการจัดสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาสเช่นเบี้ยผู้สูงอายุ

               5.มีการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการทาเกษตรอินทรีย์

               6.โครงการสนับสนุนจากภาครัฐเช่นโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขเป็นต้น

               7.ชุมชนมีความสามัคคีคณะกรรมการหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง

               8. เป็นหมู่บ้านOTOPเพื่อการท่องเที่ยวและเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียง คนทั่วไปรู้จักด้านการสานตะกร้าพลาสติก

               9. มีวัดภูด่านแต้ซึ่งเป็นสถานที่เคารพสักการะของคนในชุมชน หมู่บ้านใกล้เคียง และเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม

T = Threats ปัญหาและอุปสรรคของชุมชน(สิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อหมู่บ้าน)ได้แก่

               1.ปัญหาทางด้านผลผลิตทางการเกษตร

2. รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย

               3.ปัญหาเงินทุนสนับสนุนไม่เพียงพอ

               4. ปัญหาน้ำท่วมฝนแล้ง

               5. ปัญหาหนี้สินจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ

สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข

1.      ด้านสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน

ลำดับที่

ชื่อปัญหา

สาเหตุ/ที่มาของปัญหา

แนวทางแก้ไข

1

3


4


ปัญหาถนนไปมาไม่สะดวก

โครงการซ่อมแซมหอกระจายข่าว

โครงการปรับปรุงศูนย์ OTOP ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ถนน คสล. ในชุมชนยังไม่ทั่วถึง

 ถนนหนทางชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อ

ขาดงบประมาณสนับสนุน

ไม่มีงบประมาณ

 

งบประมาณสนันสนุน

มีการสร้างถนนเพื่อเชื่อต่อหมู่บ้าน

เพิ่มงบประมาณตามความต้องการของชุมชน

เพิ่มงบประมาณตามความต้องการของชุมชน

เพิ่มงบประมาณตามความต้องการของชุมชน

  1. 2.     ด้านเศรษฐกิจชุมชน

ลำดับที่

ชื่อปัญหา

สาเหตุ/ที่มาของปัญหา

แนวทางแก้ไข

1

ปัญหาสินค้าราคาแพง

ค่าครองชีพสูงรายได้ต่ำ รายจ่ายสูง

ควบคุมสินค้าให้อยู่ในระดับปานกลาง

  1. 3.     ด้านการเกษตร
            

ลำดับที่

ชื่อปัญหา

สาเหตุ/ที่มาของปัญหา

แนวทางแก้ไข

1

 

2

 

3

การขาดแหล่งน้ำในการทำการเกษตร

ขาดคลองระบายน้ำ

 

การแจกจ่ายพืชพันธ์ก่อนฤดูทำนา

ต้นทุนสูงระบบการระบายน้ำไหลไม่สะดวก

ถนนหนทางในพื้นที่ทำการเกษตรการสัญจรไม่สะดวก

หน่วยงานแจกจ่ายช้า

ทำคลองระบายน้ำให้ทั่วถึง

 

ทำถนนลูกรัง

 

รัฐหาพันธ์พืชมาให้แจกจ่ายให้รวดเร็วขึ้น

  1. 4.     ด้านสังคม การศึกษา,ศาสนา,วัฒนธรรม,ประเพณี

ลำดับที่

ชื่อปัญหา

สาเหตุ/ที่มาของปัญหา

แนวทางแก้ไข

1

 

        2

ปัญหาเด็กวัยรุ่นจับกลุ่ม

 

การเชื่อถือค่านิยมที่ผิด

ผู้ปกครองไม่เอาใจใส่บุตรหลาน

 

ผู้ปกครองปล่อยปละละเลย

ผู้ปกครองเอาใจใส่ลูกหลานว่ากล่าวตักเตือน

จับกลุ่มวัยรุ่นได้ไม่เกิน 2ทุ่ม

  1. 5.     ด้านสุขภาพอนามัย

ลำดับที่

ชื่อปัญหา

สาเหตุ/ที่มาของปัญหา

แนวทางแก้ไข

1

ปัญหาสุขภาพอนามัย

ขาดการให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพให้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

ส่งเสริมให้ความรู้และปฏิบัติให้ถูกวิธี

  1. 6.     ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ลำดับที่

ชื่อปัญหา

สาเหตุ/ที่มาของปัญหา

แนวทางแก้ไข

1

ปัญหาสิ่งแวดล้อม

การกำจัดขยะไม่ถูกวิธี

การเผาตอซัง

จัดโครงการคัดขยะ

ไม่เผาขยะและไม่เผาตอซัง

  1. 7.   ด้านอื่นๆ

ลำดับที่

ชื่อปัญหา

สาเหตุ/ที่มาของปัญหา

แนวทางแก้ไข

    1

    2

การเข้าเวรยาม

การป้องกันยาเสพติด

เฝ้าระวังปัญหาที่เกิดขึ้น

การอยากรู้อยากทดลอง

ออกตรวจเวรยาม

เฝ้าระวังไม่ให้เยาวชนในหมู่บ้านไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

วิสัยทัศน์ของชุมชน(สิ่งที่เราอยากให้หมู่บ้านเป็นในอีก 20 ปี ข้างหน้า

   มีกลุ่มองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ประชาชนมีสุขภาพดีมีวัดภูด่านแต้เป็นแหล่งธรร

คำขวัญหมู่บ้าน

“ภูมิปัญญาตะกร้าสาน พุทธสถานภูดานแต้ งามแท้พระองค์ใหญ่ ศูนย์รวมใจชัยมงคล”

ความคาดหวังของคนในชุมชน

          ภูมิปัญญาตะกร้าสาน     ผลิตตะกร้าคุณภาพดี  ราคาดี

          พุทธสถานภูดานแต้        ชุมชนมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีจริยธรรม คุณธรรม

          งามแท้พระองค์ใหญ่       เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม  ที่อุดมสมบูรณ์

          ศูนย์รวมใจชัยมงคล        ชุมชนสามัคคีเอื้ออารีต่อกัน

พันธกิจ

1) พัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนให้น่าอยู่

2) ส่งเสริมพัฒนาระบบการผลิตภาคเกษตรที่มีความปลอดภัยไร้สารพิษ

3) ส่งเสริมพัฒนาการจัดการสุขภาพโดยชุมชน

4) พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง

5) พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนา

1) ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์

1.1) เสริมสร้างความสุขมวลรวมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.2) แก้ไขปัญหาความยากจนด้วยชุมชนเกื้อกูล

1.3) ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในชุมชน

1.4) การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างวัดบ้านโรงเรียน (บวร)

2) ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพดีของคนในชุมชน

 กลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์

2.1) ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายของคนในชุมชน

2.2) ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

2.3) การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคตลอดจนภัยคุกคามด้านสุขภาพ

3) ส่งเสริมการท้าเกษตรอินทรีย์

กลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์

3.1) ส่งเสริมการพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ

3.2) ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยชีวภาพ

4) ส่งเสริมการฟื้นฟูสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน

กลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์

4.1) ขับเคลื่อนกิจกรรมอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง

4.2) อนุรักษ์และส่งเสริมการพูดภาษากูย

5) เสริมสร้างการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

กลยุทธ์ตามประเด็นยุทธศาสตร์

5.1) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ศูนย์สารสนเทศชุมชน

5.2) ส่งเสริมการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน 

5.3) ให้การศึกษาและพัฒนางานวิจัยชุมชน

ส่วนที่ 3

สรุปผลการดำเนินงาน

หมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านชัยมงคล

1. แนวทางการคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบ

การคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบระดับจังหวัดของจังหวัดมุกดาหารดำเนินการโดยคณะทำงานระดับอำเภอ/จังหวัดร่วมกันพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศตามหลักเกณฑ์ดังนี้

1. เป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพด้านการพัฒนา ICT / หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงฯลฯเช่นมีความพร้อมในเรื่องของสถานที่และคอมพิวเตอร์เครือข่ายและเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานอื่นๆ

2. มีบุคลากรที่มีทักษะและสามารถในการใช้และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ได้

3.ผู้นำชุมชนให้ความสนใจใฝ่รู้เกี่ยวกับระบบ ICT และมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

2. วิธีการดำเนินงาน

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อยคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายเพื่อดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศฯซึ่งทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอฯได้คัดเลือกบ้านชัยมงคลหมู่ที่1ตำบลโชคชัยเป็นหมู่บ้านเป้าหมาย

2. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อยเสนอชื่อหมู่บ้านที่ได้คัดเลือกไว้ในระดับอำเภอและดำเนินการติดตาม/สนับสนุนการดำเนินงานโดยออกติดตามและคัดเลือกจากเอกสารประกอบการถอดบทเรียนหมู่บ้าน

3. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอฯคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายโดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกดังนี้

3.1 เป็นหมู่บ้านที่มีความพร้อมในเรื่องของสถานที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ICT และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3.2 มีบุคลากรที่มีทักษะและสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้

3.3 ผู้นำชุมชน คนในหมู่บ้านมีความสนใจ ใฝ่รู้และให้ความสำคัญกับ ICT

3.4 เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนและมีการประสานงาน/บูรณาการงาน

3. ขั้นตอนการคัดเลือกหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบ

1. แต่งตั้งคณะทำงานทีมบูรณาการหมู่บ้านต้นแบบฯประกอบด้วยระดับอำเภอระดับตำบลและระดับหมู่บ้าน

2. คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายโดยพิจารณาหมู่บ้านที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้และมีหน่วยงานให้การสนับสนุน

3. ประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจ ICT/แนวทางการดำเนินการฯแก่หมู่บ้านเป้าหมาย

4. ให้การสนับสนุนการดำเนินการหมู่บ้านเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การประสานภาคีการพัฒนาในการแก้ไขปัญหาตามแผนการพัฒนาหมู่บ้านจัดการความรู้ในการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านต้นแบบ

5. ประสานงานกับหน่วยงานในระดับพื้นที่เพื่อให้การสนับสนุนประกอบด้วย

    5.1 เทศบาลตำบลนิคมคำสร้อยและองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย เนื่องจากบ้านชัยมงคล เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล 

    5.2 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อย

    5.3 เกษตรประจำตำบล

    5.4 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลโชคชัย

    5.5 กศน.ตำบลโชคชัย

    5.6 โรงเรียนบำรุงพงศ์อุปถัมภ์

    5.7 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้าน

นอกจากนั้นทางชุมชนได้รับความร่วมมือในการดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านจากทางวัดภูด่านแต้   ในการจัดทำกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน

4. กระบวนการและขั้นตอนการขับเคลื่อนหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบฯ

  1. การสร้างความรู้ความเข้าใจ

โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจัดเวทีประชาคมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมายของการดำเนินงานในการเป็นหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบฯปีพ.ศ.2558 เพื่อให้ชุมชนเล็งเห็นความสาคัญของข้อมูลที่มีอยู่โดยร่วมกันค้นหาวิเคราะห์ข้อมูลหมู่บ้านจากจปฐ. กชช.2คข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้านข้อมูลภูมิปัญญาข้อมูลทุนซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้ทราบถึงสภาพหมู่บ้านคุณภาพชีวิตสภาพปัญหาต่างๆระดับการพัฒนาของหมู่บ้านโดยการนำข้อมูลที่ได้มาประเมินจัดสถานะหมู่บ้านรวมทั้งเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ

2. การวิเคราะห์ชุมชน

2.1 เทคนิค SWOT พบว่าบ้านชัยมงคล มีจุดเด่นคือเรื่องการสานตะกร้าพลาสติกที่มีการขายทั้งใน

ประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างมาก อีกทั้งเป็นสินค้า Otop ระดับดาวเด่นของจังหวัดและอำเภอ ประกอบกับมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ วัดภูด่านแต้ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงเคารพสักการะ และใช้เป็นสถานที่อบรมเรื่องธรรมะแก่เด็กและเยาวชน

 2.2 การวิเคราะห์ชุมชนด้วยเครื่องมือLadar Analysis Diagram เพื่อหาข้อสรุปในการที่จะใช้สารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านใดด้านหนึ่งโดยการใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลกชช.2ค.ปี 2558 มาวิเคราะห์ลงในโปรแกรมซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

 2.3 การประชุมชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์ในการนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนโดยการนำมาบรรจุไว้ในแผนชุมชนของหมู่บ้านซึ่งต้องมีการปรับปรุงแผนชุมชนทุกปีการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามผลการดำเนินงานหมู่บ้านสารสนเทศฯทุกวันที่มีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นแล้วรายงานให้อำเภอทราบทุกครั้ง

4.ร่วมกันจัดทำและออกแบบสารสนเทศของหมู่บ้าน

4.1 การปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ชุมชนซึ่งเป็นสถานที่ทำการศูนย์สารสนเทศของหมู่บ้านให้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเป็นศูนย์เรียนรู้เชิงวิชาการและศูนย์ปฏิบัติการโดยมีคณะกรรมการบริหารศูนย์เรียนรู้มีวิทยากรประจำศูนย์ให้ความรู้แก่ผู้สนใจ

4.2 การจัดทำแผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์หมู่บ้านเอกสารข้อมูลต่างๆของหมู่บ้านรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการนำข้อมูลไปใช้เช่นแผนชุมชนข้อมูลกลุ่มอาชีพข้อมูลกลุ่ม/กองทุนต่างๆบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่นเก็บไว้ให้บริการที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

4.3 ป้ายแสดงข้อมูลบอร์ดประชาสัมพันธ์มีการจัดทำฐานข้อมูลและแสดงข้อมูลในรูปแบบป้ายแสดงข้อมูลซึ่งติดไว้ตามถนนรอบๆหมู่บ้านข้อมูลที่แสดงได้แก่ป้ายทางเข้าหมู่บ้านแผนที่หมู่บ้านป้ายบอกสถานที่สำคัญ

ป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมเด่นของหมู่บ้านป้ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน  ป้ายคณะ-กรรมการหมู่บ้าน

4.4 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหมู่บ้านผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆได้แก่  Website(www.cmk.igetweb.com) facebook:chaimongni@hotmail.com และfacebook : หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวชัยมงคล

5. การเผยแพร่และการดูแลรักษา

บ้านชัยมงคลได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆดังนี้

1) เอกสาร /แผ่นพับจดหมายข่าว

2) ป้ายแสดงข้อมูลบอร์ดประชาสัมพันธ์แผนที่หมู่บ้านป้ายบอกสถานที่

3)ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน

4) เว็บไซด์หรือสื่อสังคมออนไลน์

ในด้านการดูแลรักษามีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านสารสนเทศของหมู่บ้านจานวน 17 คน   มีการบริหารจัดการแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดการหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบซึ่งประกอบด้วย

              1.นายประมวล  สีงาม                  ผู้ใหญ่บ้าน                               ประธาน

              2. นางบุษราภรณ์ วังคะฮาต             กรรมการกลุ่มแม่บ้าน               รองประธาน

              3. นายคำพูล ไชยกมล                   ประธาน อสม.                        รองประธาน

              4. นายพานทอง เพียรราช              ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                      เลขานุการ

              5. นางนารี แสนแก้ว                     ประธานกลุ่มตะกร้าพลาสติก        ผู้ช่วยเลขานุการ

              6.นายสุวนัย  ชำนิสาน                  สมาชิก อบต.                           เหรัญญิก

              7.นางผกา  อั้งตุ่น                        กรรมการหมู่บ้าน                        ผู้ช่วยเหรัญญิก

              8.นางรัตนา ต้นเอี่ยม                     กรรมการกลุ่มวิสาหกิจฯ               ประชาสัมพันธ์

              9.นางทองเปรม วังคะฮาต               กรรมการกลุ่มวิสาหกิจฯ              ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์

              10.นางกุสุมาลย์ จันทะไชย             เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจฯ            ช่างภาพ

              11.นางเกษมณี บุญอำนวย              กรรมการหมู่บ้าน                      ผู้ช่วยช่างภาพ

              12.นายวัฒนา  เสียงล้ำ                 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง       โสตศึกษา

              13.นายชมพู  จันทะไชย                กรรมการหมู่บ้าน                        ผู้ช่วยโสตศึกษา

              14.นางขวัญใจ  ห้วยทราย              ฝ่ายการตลาดกลุ่มวิสาหกิจฯ        ปฏิคม

              15.นางจิราภรณ์ คำจิระ                 ฝ่ายปฏิคมกลุ่มวิสาหกิจฯ             ผู้ช่วยปฏิคม

              16.นางอุไร เถรดี                        กรรมการกลุ่มแม่บ้าน                   ผู้ช่วยปฏิคม

              17.นางสมปอง สุขเสนา                 กรรมการกลุ่มแม่บ้าน                  ผู้ช่วยปฏิคม

5. รูปแบบระบบสารสนเทศที่หมู่บ้านใช้

บริการข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆสำหรับรูปแบบได้คำนึงถึงความง่ายในการเข้าถึงของข้อมูลมากที่สุดไม่ซับซ้อนไม่ยุ่งยาก มีความชัดเจน

รูปแบบของข้อมูลสารสนเทศในชุมชนมีดังนี้

1) การปรับรูปแบบข้อมูลในลักษณะนำเสนอประกอบแผนที่หมู่บ้านเพื่อแสดงถึงจุดเรียนรู้ต่างๆในหมู่บ้าน

2) การนำกราฟข้อมูลมาใช้ในการนำเสนอข้อมูลในเอกสารต่างๆ

3) การใช้รูปภาพของกิจกรรมจัดบอร์ดนิทรรศการบอร์ดผลงานเพื่ออธิบายรายละเอียดข้อมูลที่ผู้สนใจไม่สามารถไปเยี่ยมชมได้ด้วยตนเอง

4) การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผ่นพับเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและได้ศึกษาข้อมูลแบบสั้นกระชับ

5) การพัฒนารูปแบบการจัดทำเอกสารใหม่ความสวยงามและพยายามสร้างข้อมูลที่มีนำมาสรุปนำเสนอในเอกสารให้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพมากยิ่งขึ้น

6) การพัฒนาบริเวณที่ตั้งกลุ่มวิสาหกิจสานตะกร้าพลาสติกบ้านชัยมงคล ให้เป็นคลังศูนย์กลางของข้อมูลทุกด้าน เช่น กองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกลุ่มแม่บ้าน ศูนย์รวมข้อมูลของส่วนราชการต่างๆ เป็นต้น  และทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ณ จุดเดียว หรือที่ เรียกว่า one stop service

7) การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการประมวลผลข้อมูลเช่นการใช้โปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูลจปฐ. ข้อมูลกชช.๒คการใช้งานโปรแกรมพื้นฐานเพื่อพัฒนาระบบการนำเสนอข้อมูลเช่นโปรแกรม word excel powerpointการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ทุกอย่างให้เป็นคลังข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อสะดวกต่อการเรียกใช้งานในทุกโอกาส

8) การพัฒนาและใช้โลกออนไลน์เป็นสื่อในการนำเสนอผลการดำเนินงานของหมู่บ้านเช่นการใช้งานระบบแอพพิเคชั่นต่างๆผ่านมือถือ เช่น line,facebook (chaimongni@hotmail.com),website

(www.cmk.igetweb.com) ,youtubeเป็นต้น แล้วนำเสนอผ่านโลกออนไลน์

6. หมู่บ้าน/ครัวเรือนนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ดังนี้

1) มีการใช้ข้อมูล จปฐ. /กชช.2ค เป็นฐานข้อมูลหลักในการจัดทำแผนชุมชน  และส่งให้ทุกหน่วยงานในระดับพื้นที่ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา

2) มีการจัดทำบอร์ดนิทรรศการผลงานประจำทุกเดือนทำให้สมาชิกได้รับทราบความเคลื่อนไหวในการดำเนินงานแสดงถึงความโปร่งใสและสามารถสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันได้

3) ในการจัดเวทีประชาคมในทุกเดือนจะมีการนำข้อมูลที่มีอยู่มาพูดคุยกันร่วมกันหาทางแก้ไขร่วมกันวิเคราะห์และร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น

4) มีการนำข้อมูลไปทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและแผนชุมชนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต

5) การนำข้อมูลที่มีไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเช่นการใช้ข้อมูลครัวเรือนยากจนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาโดยการพัฒนาอาชีพและส่งตัวเข้ารับการอบรมอาชีพการสานตะกร้าพลาสติก การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (บ้านชัยมงคลมีครัวเรือนตกเกณฑ์ข้อมูลพื้นฐาน ข้อที่ 23 รายได้เฉลี่ยครัวเรือนไม่น้อยกว่า 3๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี จำนวน 1 ครัวเรือน (เขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย)

6) ครัวเรือนมีการนำข้อมูลความรู้ที่ได้ศึกษาเรียนรู้จากศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านชัยมงคลไปประยุกต์ใช้และพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนให้ดีขึ้นเช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการจัดทำบัญชีรับจ่ายครัวเรือนการส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น

7. ผลที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้าน/ครัวเรือน

1) เกิดการประชาสัมพันธ์และมีการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศอย่างทั่วถึงสะดวกรวดเร็วก่อให้เกิดความโปร่งใสความไว้วางใจซึ่งกันและกันและพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง

2) เกิดความเป็นต้นแบบมีครัวเรือนต้นแบบมีกลุ่ม/องค์กรต้นแบบที่ได้นำมาเผยแพร่จนเป็นตัวอย่างที่สามารถพัฒนาเป็นจุดเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน

3) เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯกับองค์กร/หน่วยงานรวมทั้งผู้สนใจที่มาจากหมู่บ้านตำบลอำเภอและจังหวัดอื่นๆกลายเป็นเครือข่ายข้อมูลที่ไม่มีสิ้นสุด

4)  เกิดการต่อยอดความคิดสาหรับคณะกรรมการหมู่บ้านและครัวเรือนได้รับความรู้จากข้อมูลแล้วสามารถนาไปต่อยอดกิจกรรมเดิมได้

5) เกิดการขยายผลการดำเนินงานซึ่งในระดับตำบลได้เชิญผู้นำชุมชนจากทุกหมู่บ้านมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลที่ได้จัดทำขึ้นซึ่งก่อให้เกิดประกายความคิดให้แก่ผู้นำชุมชนในหมู่บ้านอื่นๆนำไปต่อยอดขยายผลแผนการดำเนินงานแล้วตอนนี้หมู่บ้านมีข้อมูลอะไรบ้างด้วยความร่วมมือจากคนในหมู่บ้านด้วยความร่วมใจของผู้นำชุมชนที่เป็นแกนนำของหมู่บ้าน IT ร่วมกับความตั้งใจในการพัฒนาหมู่บ้าน IT ของทีมงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อยโดยนางนฤมล ไชยโยพัฒนาการอำเภอนางทัศวรรณชิณวงษ์ผู้รับผิดชอบงาน IT และพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลและทีมงานพัฒนาชุมชนอำเภอนิคมคำสร้อยทุกคนได้ร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูลของหมู่บ้านต้นแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอทำให้หมู่บ้านมีศูนย์เรียนรู้ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลคลังความรู้ในพื้นที่ในรูปแบบป้ายนิทรรศการเอกสารชุดเอกสารเป็นรูปเล่มแผ่นพับเว็บไซต์แผนที่ข้อมูลโปรแกรม  ดังนี้

1) โปรแกรมและข้อมูลจปฐ./กชช.๒ค

2) ข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

3) ข้อมูลสวัสดิการชุมชน

4) ข้อมูลแผนชุมชน

5) ข้อมูลเศรษฐกิจพอเพียง

6) ข้อมูลครัวเรือนยากจน

7) แผนที่แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้าน

8) เอกสารข้อมูล องค์ความรู้ด้านต่างๆ

9) มีการประชาสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชนผ่านการติดประกาศที่ศูนย์สารสนเทศแจ้งหน่วยงานในชุมชนและการบอกต่อเนื้อหาที่ได้มาอ้างอิงจากหนังสือและเว็บไซต์

10) ให้คำแนะนำและบริการข้อมูลด้านต่างๆเช่นด้านอาชีพการเข้าหาแหล่งทุนการแก้ไขปัญหาความยากจนการบริหารจัดการชุมชนแผนชุมชนข้อมูลจปฐ.และกชช.2ค

8. หมู่บ้านหรือครัวเรือมีการนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

-มีการจัดอบรมโดยประชาสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้ที่สนใจการใช้สารสนเทศมาร่วมอบรม

-ได้รับข้อมูลและสามารถสืบค้นหาข้อมูลได้สามารถสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาสตรีผ่านทางเว็บไซต์ได้

9. ผลที่เกิดขึ้นต่อครัวเรือนและชุมชนและแผนการดำเนินงาน

  • คนในชุมชนที่เข้าร่วมอบรมสามารถนำเอาสารสนเทศไปใช้ในครัวเรือนได้โดยสามารถพิมพ์งานเอกสารจาก Program Microsoft Word สามารถทำบัญชีครัวเรือนได้จาก Program Microsoft Excel

  • การใช้กล้องดิจิตอลในการถ่ายภาพกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ทางเว็บไซต์/facebookแผนการดำเนินงานมีการต่อยอดการใช้งานเพื่อให้สามารถนำ Program เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่นๆให้หลากหลายมากขึ้น

10. รูปแบบของระบบสารสนเทศที่หมู่บ้านใช้

   บ้านชัยมงคลหมู่ที่  1  ตำบลโชคชัยใช้สารสนเทศในรูปแบบที่เป็นเอกสารรายงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบ้านชัยมงคลโดยมีเนื้อหาประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน/ตำบลประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูลจปฐ./กชช.๒คข้อมูลทุนชุมชนแผนชุมชนและแนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน ตำบลนอกจากนี้บ้านชัยมงคลโดยนายประมวล  สีงาม ผู้ใหญ่บ้านยังมี Facebook ในชื่อตะกร้าพลาสติกสานบ้านชัยมงคล หมู่ที่   1  ตำบลโชคชัยที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์เผยแพรข้อมูล/ข่าวสารของหมู่บ้าน

หมู่บ้าน/ครัวเรือนมีการนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ดังนี้

  • หมู่บ้านตำบลนำข้อมูลจปฐ. และข้อมูลกชช.๒คมาจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านแผนพัฒนาตำบลในด้านต่างๆได้ตรงปัญหาและตรงตามความต้องการของชาวบ้าน

  • มีฐานข้อมูลและส่งเสริมสนับสนุนให้ครัวเรือนนาข้อมูลจปฐ. ที่ตกเกณฑ์มาพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือน

  • หมู่บ้านได้จัดเวทีประชาคมเพื่อนำข้อมูลจปฐ. กชช.๒คข้อมูลบัญชีครัวเรือนข้อมูลทุนชุมชนข้อมูลสิ่งแวดล้อมข้อมูลทางสังคมและข้อมูลจากการจัดทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VDR) ของบ้านชัยมงคลมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสในการพัฒนาและปัญหาอุปสรรคต่างๆของหมู่บ้านเพื่อร่วมกันกำหนดหัวข้อการจัดทำสารสนเทศ

  • หมู่บ้านนำข้อมูลต่างๆมาวางแผนและพัฒนาจนได้เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวในปี 2558  ของจังหวัดมุกดาหารเศรษฐกิจโดยนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านกลุ่มวิสาหกิจตะกร้าสานพลาสติกบ้านชัยมงคล สามารถเสริมสร้างวิถีชีวิตที่เหมาะสมเป็นชุมชนเข็มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างเต็มความสามารถให้บุคคลและครอบครัวตลอดจน

การจัดฝึกอบรมหลักสูตรคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP และเยาวชน

11. ผลที่เกิดขึ้นต่อครัวเรือนและชุมชนและแผนการดำเนินงาน

1. ครัวเรือนทราบว่าตนเองมีคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไรและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองให้ผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานจนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2. ชุมชนนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบลการจัดทำเอกสาร โครงการต่างๆ

3. มีการนำสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินการพัฒนาสารสนเทศในชุมชนและเสริมสร้างช่องทางการตลาดแก่กลุ่มวิสาหกิจสานตะกร้าพลาสติกบ้านชัยมงคลและกลุ่มเครือข่ายสานตะกร้าพลาสติกกลุ่มอื่นๆในชุมชน

4. ให้คำแนะนำ และ บริการข้อมูลด้านต่างๆ เช่น ด้านอาชีพ การเข้าหาแหล่งทุน การแก้ไขปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน แผนชุมชน ข้อมูล จปฐ.และ กชช. 2 ค

5. เป็นแหล่งศึกษาดูงานการประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็กในครัวเรือนแก่กลุ่มต่างๆ ส่วนราชการหน่วยงานที่สนใจในการสานตะกร้าพลาสติกใช้เองในชุมชน

6. สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนเผยแพร่ผ่านเครือข่ายออนไลน์ เช่น ตะกร้าพลาสติก การเลี้ยงไก่ดำ กิจกรรมสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

12. ปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

1. การดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศฯ เป็นเรื่องที่ยังใหม่ ยังไม่มีแนวทางการดำเนินงานทชัดเจนเป็นรูปธรรมชัดเจน ควรกำหนดแนวทาง/รูปแบบการดาเนินงานที่ชัดเจน และมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง

2. การดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศฯ ยังขาดงบประมาณ และวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการดำเนินงาน และแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ทำให้การดำเนินงานยังขาดประสิทธิภาพ

3. เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบฯ ทั้งระดับอำเภอ ตำบล ขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศฯ ควรจัดทำหลักสูตรหรือฝึกอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่

4. การดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสารสนเทศฯ ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ทั้งหน่วยงานประชาชน ได้ทราบถึงหลักการ ประโยชน์ เพื่อให้ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงาน จึงควรมีการจัดอบรมโดยประชาสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการใช้สารสนเทศในการในชีวิตประจาวัน เพื่อให้ผู้ที่สนใจการใช้สารสนเทศมาร่วมอบรม

5. ควรมีการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศของหมู่บ้านให้เป็นปัจจุบัน ผ่านระบบเว็บไซต์ และมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สะดวกในการที่หน่วยงานต่างๆ จะ สนับสนุนงบประมาณ และเป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ OTOP

13. แผนการดำเนินงานและการพัฒนาต่อยอดศูนย์เรียนรู้ด้านการบริการข้อมูลข่าวสารของชุมชน

1. ปรับปรุงเว็บไซต์หมู่บ้านให้สามารถบริการข้อมูลชุมชนอย่างครอบคลุมเช่นการทำระบบบริหารจัดการทุนชุมชนและองค์ความรู้ที่ชุมชนต้องการเพิ่มขึ้น

2. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ชุมชนมีศูนย์อบรมความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ครบวงจร

3. จัดอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้นเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานศูนย์สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

4. ส่งเสริมให้ชุมชนผู้นาชุมชนเกิดการเรียนรู้จากสารสนเทศชุมชนของตนเพื่อเป็นสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องพึ่งพาการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ

5. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ชุมชน ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่ครบวงจรและเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP สามารถให้บริการแก่ผู้ที่สนใจ

view

เว็บบอร์ด

view