http://nkcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

บุคคลากร

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บทบาทหน้าที่

 ภารกิจ

 วิสัยทัศน์

 สพจ.จังหวัด

 เว็บไซต์กรม

บุคคลากร

การเตรียมการคัดสรร OTOP

องค์ความรู้

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล

บริการข้อมูลข่าวสาร

กิจกรรมงานเด่น

สินค้า

 ผลิตภัณฑ์เด่นอำเภอนิคมคำสร้อย

ปฎิทิน

« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม28,928
เปิดเพจ36,416
สินค้าทั้งหมด14
iGetWeb.com
AdsOne.com

รายการพัฒนาตำบล (TDR)

รายงานการพัฒนาตำบล (Tambon Development Report)

ตำบลโชคชัย  อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ที่ตั้ง

ตำบลโชคชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดมุกดาหาร หรือทางทิศตะวันตกของอำเภอนิคมคำสร้อย ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดมุกดาหาร  37  กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากอำเภอนิคมคำสร้อยประมาณ  4 กิโลเมตร  บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 129 – 133  ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 สายมุกดาหาร - อุบลราชธานี  (ถนนชยางกูร) ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญเชื่อมในการสัญจรไปมา

ภูมิประเทศ

ตำบลโชคชัยตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงเป็นส่วนใหญ่  โดยมีภูเขาล้อมรอบด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นป่าไม้และภูเขา และมีอาณาเขตติด ต่อกับพื้นที่อื่นดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ         จรดกับเขตตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ทิศใต้            จรดกับเขตตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

ทิศตะวันออก   จรดกับเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ทิศตะวันตก     จรดกับเขตตำบลร่มเกล้า อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

เนื้อที่

ตำบลโชคชัยมีเนื้อที่ประมาณ 21,036 ไร่ คิดเป็น  33.65  ตารางกิโลเมตร

         จำนวนหมู่บ้าน

               ตำบลโชคชัยมีหมู่บ้านทั้งหมดจำนวน 9 หมู่บ้าน  จำนวนครัวเรือน 858 ครัวเรือน  ได้แก่

-          หมู่ที่ 1  บ้านชัยมงคล             จำนวนครัวเรือน      7     ครัวเรือน

-          หมู่ที่ 2  บ้านคลองน้ำใส           จำนวนครัวเรือน      7     ครัวเรือน

-          หมู่ที่ 3  บ้านหนองแวงน้อย       จำนวนครัวเรือน    157    ครัวเรือน

-          หมู่ที่ 4  บ้านคำบง                  จำนวนครัวเรือน     74     ครัวเรือน

-          หมู่ที่ 5  บ้านคำพอก              จำนวนครัวเรือน    153     ครัวเรือน

-          หมู่ที่ 6  บ้านป่าข่า                จำนวนครัวเรือน      58     ครัวเรือน

-          หมู่ที่ 7  บ้านหนองหลี่             จำนวนครัวเรือน      69    ครัวเรือน

-          หมู่ที่ 8 บ้านหนองแวงเหนือ       จำนวนครัวเรือน    226    ครัวเรือน

-          หมู่ที่ 9  บ้านหนองลำดวน        จำนวนครัวเรือน    107    ครัวเรือน   

 

ประชากร

ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ประกอบด้วยคนหลายเชื้อสาย ได้แก่ เผ่าภูไท   เผ่าข่าเลิง เผ่าลาวพวน และเผ่าอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะอพยพมาจากทางจังหวัดอุบลราชธานีมาตั้งรกรากสร้างถิ่นฐานมาเกือบร้อยปี  ปัจจุบันมีคนอพยพมาจากหลายท้องถิ่นเข้ามาค้าขายและประกอบอาชีพทางการเกษตร จึงทำให้ประชากรมีความหลากหลายในการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่  ทั้งสิ้น  3,141 คน  แยกเป็นชาย  1,601 คน  หญิง  1,540 คน 

 

หมู่ที่

ชาย

 (คน)

หญิง

(คน)

รวม

(คน)

รายได้เฉลี่ย

(บาท/คนต่อปี)

1 บ้านชัยมงคล

7

8

17

63,647

2 บ้านคลองน้ำใส

7

11

18

51,278

3 บ้านหนองแวงน้อย

279

292

571

60,270

4 บ้านคำบง

159

141

300

57,442

5 บ้านคำพอก

299

302

601

45,703

6 บ้านป่าข่า

102

105

207

54,402

7 บ้านหนองหลี่

125

127

252

63,452

8 บ้านหนองแวงเหนือ

411

359

770

55,157

9 บ้านหนองลำดวน

210

195

405

51,786

รวม

1,601

1,540

3,141

รายได้เฉลี่ย 54,701 

เขตการปกครอง

ตำบลโชคชัย ประกอบด้วยหมู่บ้าน จำนวน 9 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

1

2

3

4

5

6

7

8

9

บ้านชัยมงคล

บ้านคลองน้ำใส

บ้านหนองแวงน้อย

บ้านคำบง

บ้านคำพอก

บ้านป่าข่า

บ้านหนองหลี่

บ้านหนองแวงเหนือ

บ้านหนองลำดวน

นายประมวล สีงาม

นายปรีชา ปึ้งตะเนน

นายณรงค์ ทรายทอง

นายสังวาลย์ พรมจันทร์

นายจันดี คำนนท์

นายศักดิ์ศรี ขันแก้ว

นายศุภชัย ขุนทอง

นายเกตแก้ว สังฆะฤกษ์

นายไชยยงค์ สุดาบุตร

ผู้ใหญ่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน

กำนันตำบลโชคชัย

ผู้ใหญ่บ้าน

 

ฝ่ายคณะผู้บริหาร   จำนวน  4  คน  ประกอบด้วย

                   - นายสุรชัย  ไชยกมล     นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย

                   - นายสมใจ  บัวใหญ่      รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

                   - นายทองใส  คำนนท์    รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

                   - นางอุดมศักดิ์  วรโยธา  เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย จำนวน  18 คน  ประกอบด้วย

-    นายเทียน  สีทอง                ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

-    นายทวี  ไชยกมล                รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

-    นางอัสมาพร  พิราวุธ            เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

-    นายสมบัติ  จินาวอน            สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 1

-    นายสุวนัย  ชำนิสาร             สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 1

-    นายบุญชิด  สมประสงค์         สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 2

-    นายนาเรศ  สมคะเนย์           สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 2

-    นายบุญกอง  อาจวิชัย           สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 3

-    นายเกษม  พันธ์ดวง             สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 3

-    นายศรีณรงค์  พรมจันทร์       สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 4

-    นายมิตร  แสงเมือง              สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 4

-    นายสมบอย  เบญจมาส         สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 5

-    นายวินิจ  กะนุวงษ์              สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 5

-    นายคมเพ็ชร  พิมพ์รัตน์         สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 6

-    นายสมชาย  บัวลอย            สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 7

-    นายเลิศ  ทั่งทอง                 สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 7

-    นายสมเซ้ย  ปากหวาน          สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 8

-    นายสมบูรณ์  มูลภา             สมาชิกสภาอบต. หมู่ที่ 9

สภาพทางเศรษฐกิจ

อาชีพ

ราษฎรในตำบลโชคชัยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ได้แก่  ทำนาทำไร่  ทำสวนและรับจ้าง  เป็นต้น   สำหรับพืชที่เพาะปลูก ได้แก่  ข้าว  ยางพารา  อ้อย  มันสำปะหลัง  ฟัก  ฟักทอง  มะเขือเทศ  แตงโมและพืชผักสวนครัวอื่น ๆ  ในด้านปศุสัตว์นั้นมีการเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายเป็นรายให้แก่ครอบครัวได้แก่  ไก่  เป็ด  โค  กระบือและปลา  เป็นต้น  นอกจากนี้  ยังมีการรวมกลุ่มเพื่อทำหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริมหลังจากเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว เช่น  กลุ่มสานตะกร้าด้วยเส้นพลาสติก  กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มทอผ้าฝ้ายและปลูกหม่อนเลี้ยงไหมซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของราษฎรในปัจจุบัน เนื่องจากใช้เวลาน้อยแต่มี   รายได้ดี

-  การรวมกลุ่มของประชาชนในตำบล มีการรวมกลุ่มกันก่อตั้งกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่

1)  กองทุน กข.คจ. ประจาหมู่บ้าน จำนวน 3 กองทุน

2)  กองทุนหมู่บ้าน จานวน 7 กองทุน

3)  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตะกร้าพลาสติกสาน  จำนวน 2 กลุ่ม ใน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านชัยมงคล  หมู่ที่ 1 และบ้านคลองน้ำใส  หมู่ที่ 2

4)  ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและหมู่บ้าน  OTOP เพื่อการท่องเที่ยว 1 ศูนย์

 5)  กลุ่มแม่บ้าน  7 กลุ่ม

6)  กลุ่มทอผ้า 5 กลุ่ม

7)  สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จำนวน  1  แห่ง

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

-  ปั๊มน้ำมันและก๊าซ    12   แห่ง

-  โรงสี                   9     แห่ง

- ตลาดชุมชน            1     แห่ง

สภาพทางสังคม  ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี

-   ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ

-   ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยอิสาน

-   ประเพณีที่สำคัญ ทำบุญข้าวฉลาก งานบุญออกพรรษา ทำบุญกฐิน ทำบุญปีใหม่ บุญมหาชาติ บุญข้าวจี่ ประเพณีสงกรานต์ บุญบั้งไฟ งานบุญเข้าพรรษา -ออกพรรษา ทาบุญหมู่บ้าน เลี้ยงปู่ตา  เลี้ยงตาแฮก ทำบุญข้าวใหญ่

การศึกษา

องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย มีสถานศึกษา/แหล่งที่ให้ความรู้กับเด็กนักเรียน นักศึกษา

จำนวน  7  แห่ง  ดังนี้

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดอรัญญวาสี ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 เปิดสอนเด็กก่อนเกณฑ์

2. โรงเรียนชุมชนบ้านหนองแวงน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่ 1-2

3.โรงเรียนบ้านคำบง1  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่ 1-2

4.โรงเรียนบ้านคำพอก 2 ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 เปิดสอนระดับช่วงชั้นที่ 1-2

5.โรงเรียนโชคชัยวิทยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 5  เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น    

6.โรงเรียนอาชีวะศึกษา วิทยาลัยการอาชีพนิคมคำสร้อย ตั้งอยู่หมู่ 1  เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

7.ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบล  ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น   และตอนปลาย

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

-  วัด            จำนวน       11     แห่ง

-  สำนักสงฆ์   จำนวน         2     แห่ง

- โบสถ์คริสต์   จำนวน         3     แห่ง

 

สาธารณสุข

มีหน่วยพยาบาลที่ให้บริการประชาชนในเรื่องของการรักษาพยาบาล  จำนวน 1  แห่ง คือ

-  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหนองหลี่ เป็นโรงพยาบาลของรัฐขนาดเล็ก

-  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ  100

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

-   สถานีตำรวจ                  -         แห่ง

-   ที่พักสายตรวจ               1        แห่ง

-  ตู้ยามตำรวจทางหลวง      1        แห่ง

การบริการพื้นฐาน

1. การคมนาคม

-  ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านสายบ้านชัยมงคล – หนองลำดวน  เป็นถนนลาดยางระยะทาง  7  กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท มีสภาพบางส่วนชำรุด เป็นหลุมเป็นบ่อ 

-  ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านบ้านชัยมงคล (ภูฮาบ) – ภูหมู – ภูโล้น – บ้านคำพอก เป็นถนนดิน ระยะทาง 7 กิโลเมตร เดิมเป็นถนนของกรมพัฒนาที่ดิน ปัจจุบันอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัยและยังไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงให้ใช้การได้ดี กำลังอยู่ในระหว่างการสำรวจ

-  ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านบ้านหนองแวงเหนือ – บ้านคำบง เป็นถนนลูกรัง ระยะทาง 4 กิโลเมตร เดิมเป็นของกรมประชาสงเคราะห์  ปัจจุบันอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัยและได้ดำเนินการปรับปรุงให้ใช้การได้ดี

-  ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านบ้านหนองหลี่ – บ้านหนองลาด ตำบลกกแดง  เป็นถนนลูกรัง ระยะทาง 4 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างเขตตำบลโชคชัยและตำบลกกแดง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร

- ถนนไปแหล่งเกษตรอีกหลายสายประมาณร้อยละ 80 เป็นถนนดิน

2. การโทรคมนาคม

-  ที่ทำการไปรษณีย์ประจำตำบล         1        แห่ง

-  จำนวนตู้โทรศัพท์สาธารณะ             10      แห่ง

-  จำนวนโทรศัพท์ประจำบ้าน            59      เลขหมาย / ครัวเรือน

-  หอกระจายข่าว / เสียงตามสาย        9        สถานี

-  สถานีวิทยุชุมชน                         1        แห่ง

นอกจากนั้นยังติดต่อสื่อสารโดยวิทยุและโทรศัพท์ส่วนบุคคล (มือถือ)

 

3. การไฟฟ้า 

-  มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน ส่วนครอบครัวที่ย้ายออกไปจากหมู่บ้านเดิมไม่มีไฟฟ้าใช้  ซึ่งก็มีเป็นส่วนน้อย

 4. แหล่งน้ำธรรมชาติ

-   ลำน้ำ,ลำห้วย                 8        สาย

-   บึง,หนองและอื่น ๆ          12      แห่ง

5. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

-  ฝายขนาดเล็ก                  8        แห่ง

-  บ่อน้ำตื้น                       48       แห่ง

-  บ่อโยก                          17      แห่ง

-  ประปาหมู่บ้าน                 8        แห่ง

ข้อมูลอื่นๆ

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

-  ดิน  สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผลอีกทั้งยังมีดินลูกรังคุณภาพดีอยู่เป็นจำนวนมากที่ดินส่วนใหญ่ถูกใช้ในด้านการเกษตร เช่นทำนา ปลูกยางพารา ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง  ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

   -  แหล่งน้ำมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ คือ ห้วยคำกะเบี้ย  ห้วยพันลำ  ห้วยม่วงไข่ ห้วยโสกพอก  เป็นต้น

- ป่าไม้  ยังมีป่าชุมชนที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์อยู่  5  แห่ง  ได้แก่  ภูติ้ว หมู่ที่ 5 ภูตูม หมู่ที่ 7  ภูหล่มขุม หมู่ที่ 9  และที่กำลังอยู่ระหว่างสำรวจมี 2  แห่ง คือ ภูกิ่ว หรือภูแก่นล่อน หมู่ที่ 2 และภูอ่างนกเจ่า หมู่ที่ 3

การท่องเที่ยว

องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย เป็นที่ตั้งของวัดพุทโธธัมมะธะโร (วัดภูดานแต้)  ซึ่งทุกปีจะมีประเพณีสำคัญ ๆ  เช่น ประเพณีวันสงกรานต์  ประเพณีวันลอยกระทง  และประเพณีงานบุญต่าง ๆ จะมีคนมาเที่ยวชมพอสมควร สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีน้ำตกสายธาร จุดชมวิวที่ภูกิ่ว (ภูแก่นล่อน) และสถานที่ชมทิวทัศน์อันงดงามบนวนอุทยานแห่งชาติภูหมู นอกจากนี้  องค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ยังเป็นทางผ่านไปยังปูชนียสถานวัดผาน้ำย้อย (วัดผาน้ำทิพย์)  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยใช้เส้นทางสายแยกบ้านชัยมงคล – บ้านหนองนกเขียน  ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร

                                                                              

ส่วนที่  2

  ประเมินผลการพัฒนา

การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน พัฒนาการของชุมชนในการดาเนินงานพัฒนา

สภาพปัญหาชุมชนจากข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕8

ตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมาย จานวน 27 ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จานวน  3  ตัวชี้วัด ได้แก่

-  ตัวชี้วัดที่ 23 ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า  30,000 บาทต่อคนต่อปี

-  ตัวชี้วัดที่ 25  คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา  (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราว)

-  ตัวชี้วัดที่ 26  คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่

สภาพปัญหาจากข้อมูล กชช. 2 ค ปี ๒๕๕8 เรียงจากมากไปน้อย ดังนี้

ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหา ได้แก่                                                

                                                                                หมู่บ้านที่มีปัญหา

        ตัวชี้วัด                                                    จำนวน       ร้อยละ

        1. การได้รับการศึกษา                                       4        44.44

       2.  การเรียนรู้โดยชุมชน                                      4         44.44

       3.  คุณภาพดิน                                                 4         4444

       4.  ผลผลิตจากการทำไร่                                     3          33.33

       5.  ถนน                                                          3          33.33

       6.  การเข้าถึงแหล่งเงินทุน                                   3          33.33

       7.  การทำงานในสถานประกอบการ                        2          22.22

       8.  การกีฬา                                                     2          22.22

       9.  คุณภาพน้ำ                                                  2          22.22

      10. การได้รับประโยชน์จากการมีสถานที่ท่องเที่ยว      1          11.11

      11. น้ำเพื่อการเกษตร                                          1          11.11

      12. ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน                1          11.11

13.  การมีงานทำ                                                      1         11.11                                          

ระดับการพัฒนาหมู่บ้านในตำบลโชคชัย  ดังนี้

-          หมู่ที่ 1  บ้านชัยมงคล             ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    3

-          หมู่ที่ 2  บ้านคลองน้ำใส           ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    3

-          หมู่ที่ 3  บ้านหนองแวงน้อย       ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    3

-          หมู่ที่ 4  บ้านคำบง                  ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    3

-          หมู่ที่ 5  บ้านคำพอก              ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    3

-          หมู่ที่ 6  บ้านป่าข่า                ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    3

-          หมู่ที่ 7  บ้านหนองหลี่             ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    3

-          หมู่ที่ 8 บ้านหนองแวงเหนือ       ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    2

-          หมู่ที่ 9  บ้านหนองลำดวน        ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน  ระดับ    3

ผลการวิเคราะห์ศักยภาพ เพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาของตำบล

การวิเคราะห์ศักยภาพ เพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบัน และโอกาสการพัฒนาในอนาคตของตำบลด้วยเทคนิค SWOT Analysis (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) จากสถานการและแนวโน้มการพัฒนาตำบล

ปัจจัย/สภาพแวดล้อมภายในตำบล

จุดแข็ง

1. มีกลุ่มองค์กร/กลุ่มอาชีพ ที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มวิสาหกิจตะกร้าพลาสติกสาน

2. มีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม

3. มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภูมิปัญญาท้องถิ่น

จุดอ่อน

1. ขาดความรู้ในการพัฒนาอาชีพ  ผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่ๆ

2. ชาวบ้านไม่ค่อยเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา

3. มีการอพยพแรงงานไปต่างถิ่น

4. มีการใช้สารเคมีในการผลิตบางส่วนก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

5. ประชาชนมีหนี้สินค่อนข้างมาก

ปัจจัย/สภาพแวดล้อมภายนอกตำบล

โอกาส

  1. ประชาชน องค์กรชุมชนมีข้อเสนอแนะและมีส่วนร่วมในการทำรายงานการประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้าน
  2. มีทุนทางสังคมที่หลากหลายจากหลายหน่วยงานเข้ามาในพื้นที่ เช่น อยู่ดีมีสุข SML กข.คจ.กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีฯลฯ

     3. มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำการเกษตร ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การปลูกหม่อนไหม

     4. มีสภาพป่าธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก

     5. มีหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุน เป็นที่ปรึกษา

อุปสรรค

1. ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงสิทธิของตนเอง

2. ชุมชนยังมีการพนัน

3. ฤดูแล้งน้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ

4. วิถีชีวิตฟุ่มเฟือย  

5. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน

6. เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูง

การค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน

เวทีประชาคมร่วมกันนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลภายในตำบลค้นหาอัตลักษณ์หรือความเป็นตัวตนของชุมชน

(จุดเด่นของตำบล)

  1. สินค้า Otop ระดับ 5 ดาว คือ ตะกร้าพลาสติกสานบ้านชัยมงคล  หมู่ที่ 1 และบ้านคลองน้ำใส  หมู่ที่ 2
  2. ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีพัฒนาเป็นชุมชนน่าอยู่

     3. มีศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนทุกระดับ

     4. เป็นตำบลที่ดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ทางออกของชุมชน กำหนดตำแหน่งในการพัฒนาชุมชน/เศรษฐกิจชุมชน

1.  การแก้ไขปัญหาของชุมชน เรียงลำดับความสำคัญของปัญหา

     การพัฒนาตำบล ในระยะที่ผ่านมา ได้พัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคเพื่อตอบ    สนองความต้องการของประชาชนและสามารถพัฒนาความเจริญมาสู่ตำบลได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังมีปัญหาที่สำคัญ หลายประการ ได้แก่ ปัญหาประชาชนขาดความรู้ในการพัฒนา ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดารงชีพเพราะ    ค่าครองชีพสูง ขาดทุนทรัพย์ในการประกอบอาชีพรวมทั้งขาดความรู้และทักษะในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน มีการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทสู่เมือง      จากปัญหาและความต้องการของชุมชนในเขตตำบล มีปัญหาต่างๆ ดังนี้

1. ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร

2. น้าประปา

3. คลองระบายน้าภายในหมู่บ้าน

4. ถังขยะภายในหมู่บ้าน

5. ภาชนะกักเก็บน้า

6. การว่างงานหลังฤดูทานา

7. น้าเพื่อการเกษตร

2. การพัฒนาศักยภาพของชุมชน  (การพัฒนาต่อยอด)

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

    1. ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ท่อระบายน้า คลองส่งน้ำ สนามเด็กเล่นให้ เป็นไปด้วยความสะดวก

    2. ก่อสร้างขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะ

    3. ก่อสร้างและขยายเขตการบริการประปา

   4. ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ด้านสินค้า OTOP ของตำบล

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

    1. ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์

    2. เสริมสร้างและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้

    3. ส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียง

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและสาธารณสุข

    1. การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

    2. การพัฒนาส่งเสริมด้านสุขภาพและอนามัย

    3. การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการชุมชน

    4. การพัฒนาและส่งเสริมด้านกีฬาและการนันทนาการ

    5. การพัฒนาแผนการส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

    6. การพัฒนาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    7. การพัฒนาควบคุมโรคติดต่อ

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อมสร้างจิตสานึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา

  1. แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบ
  2. แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริม สนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร ให้กับประชาชน

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

  1. แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริม วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. แนวทางการพัฒนาด้านการสงเคราะห์ และส่งเสริมสวัสดิการชุมชน
  3. แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมระบบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

7.   ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการบริหารจัดการที่ดี

  1. แนวทางการพัฒนาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วน ในการพัฒนา
  2. แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนา
  3. แนวทางการพัฒนาด้านการส่งเสริมสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด  อำเภอ

 ส่วนที่ 3

 วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชน

 

ปัญหา

สาเหตุ

แนวทางแก้ไข

ขาดแหล่งน้ำทาการเกษตร

ไม่มีแหล่งน้าทาการเกษตร

ขุดลอกคลองส่งน้ำ

ขาดไฟฟ้าเพื่อการเกษตร

ต้นทุนการผลิตสูง

ขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร

ขาดน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง

ขาดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

จัดหาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค

ขาดทักษะในการประกอบอาชีพ

ขาดการเรียนรู้

อบรมเพิ่มทักษะการประกออาชีพ

ต้นทุนการผลิตสูง

ขาดการเรียนรู้

เรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

ชุมชนขาดการเรียนรู้

ขาดการเรียนรู้

จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

การเข้าถึงแหล่งทุน

เข้าไม่ถึงแหล่งทุน

อบรมให้ความรู้เข้าถึงแหล่งเงินทุน

หนี้สินมาก

ขาดการดารงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อดออม

ขาดแหล่งเรียนรู้ชุมชน

ขาดองค์ความรู้ในการดาเนินชีวิต

จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

 

ส่วนที่ 4

กิจกรรม/โครงการและผลการพัฒนาในรอบปีที่ผ่าน

 

ที่

กิจกรรม/โครงการ

งบประมาณ

(บาท)

แหล่งงบประมาณ

ความสอดคล้องกับ

ทิศทางการพัฒนา

1

ปลูกพืชผักสวนครัว

-

หมู่บ้าน

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

2

ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพในการเกษตร

-

หมู่บ้าน

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

3

รณรงค์ป้องกันยาเสพติด

-

หมู่บ้าน

หมู่บ้านปลอดยาเสพติด

4

รณรงค์ป้องกันโรคเอดส์

-

หมู่บ้าน

ด้านสุขภาพ

5

รณรงค์ป้องกันไข้หวัดนก

-

หมู่บ้าน

ด้านสุขภาพ

6

รณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน

-

หมู่บ้าน

ความปลอดภัยในชีวิต

 

ส่วนที่ 5

ผลการวิเคราะห์ประเมินชุมชนจากเวทีประชาคม

 

ลำดับที่

ปัญหา

สาเหตุ

แนวทางแก้ไข

1

รายได้น้อย

ไม่มีงานทา

ส่งเสริมการประหยัด,สร้างงาน

 

2

ขาดน้ำใช้ในการเกษตร

แหล่งน้ำไม่พอเพียง

ขุดลอกหนองน้ำเพิ่มขึ้น

 

3

ติดการพนัน

ว่างงาน

ส่งเสริมและสนับสนุนอุปกรณ์การออกกำลังกาย สร้างงาน สร้างอาชีพ

4

หนี้สิน

ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย,ของแพง

ประหยัด และยึดถือปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจ

 

ส่วนที่ 6

แนวโน้ม/ทิศทางการพัฒนาตำบล/วิสัยทัศน์ตำบล

วิสัยทัศน์ตำบล

          ภูมิปัญญาตะกร้าสาน พุทธสถานภูดานแต้ งามแท้พระใหญ่ ถิ่นหม่อนไหมยางพารา

สิ่งสูงค่ารอยพระพุทธบาท

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

มุ่งสู่การเป็นตำบล  OTOP เพื่อการท่องเที่ยว

มุ่งสูการเป็นตำบลเศรษฐกิจพอเพียง

มุ่งสู่การเป็นตำบลปลอดยาเสพติด

 

ส่วนที่ 7

ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาตำบล

 

ตำบลโชคชัย เป็นตำบลที่มีรายได้หลักจากการเกษตร ได้แก่ การทำนา และการสานตะกร้า

พลาสติก การปลูกผักสวนครัว การทำสวนยางพารา การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จากการประชาคมหมู่บ้านพบว่ารายจ่ายที่ชาวบ้านจ่ายไปกับการอุปโภค และบริโภคต่อปีมีมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาและอุปสรรคที่หมู่บ้าน  มีปัญหาในการประหยัด ลดรายจ่าย และผลผลิตด้านการเกษตรค่อนข้างได้น้อย ดินขาดความสมบูรณ์ จากรายงานการประเมินสถานการณ์พัฒนาตำบล (TDR) พบว่าสังคมในชุมชนยังเป็นสังคมที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีและรวมกลุ่มกัน แต่ยังขาดความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม จึงทำให้กลุ่มไม่เข้มแข็ง

ข้อเสนอแนะ

1. รณรงค์ให้ชาวบ้านใช้ปุ๋ยชีวภาพในการทำการเกษตร

2. ส่งเสริมให้ชาวบ้านยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต โดยผู้นาในชุมชนเริ่มต้นเป็นตัวอย่าง

3. เชิญหมอดิน มาให้ความรู้ชาวบ้านในการปรับสภาพดิน/บำรุงดินให้สมบูรณ์

4. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชน  เพื่อใช้เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน เพิ่มขึ้น เช่น ศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

5. ส่งเสริมอาชีพ และการมีงานทำ  ตลาดการขายสินค้า OTOP

6. อบรมคณะกรรมการกลุ่มต่างๆ ที่มีในชุมชน ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม โดยเชิญวิทยากรจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาชุมชน เกษตร เป็นต้น

 7. ส่งเสริมให้ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ให้มีรูปแบบสวยงาม ทันสมัย เหมาะกับความต้องการของตลาด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

view

เว็บบอร์ด

view