http://nkcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

บุคคลากร

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บทบาทหน้าที่

 ภารกิจ

 วิสัยทัศน์

 สพจ.จังหวัด

 เว็บไซต์กรม

บุคคลากร

การเตรียมการคัดสรร OTOP

องค์ความรู้

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล

บริการข้อมูลข่าวสาร

กิจกรรมงานเด่น

สินค้า

 ผลิตภัณฑ์เด่นอำเภอนิคมคำสร้อย

ปฎิทิน

« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม29,132
เปิดเพจ36,623
สินค้าทั้งหมด14
iGetWeb.com
AdsOne.com

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (vdr) บ้านเหล่าต้นยม ปี 2560

 

 

 

 

        

 

ส่วนที่ 1   สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน

 

คำขวัญของหมู่บ้าน

                    เหล่าต้นยม สังคมน่าอยู่  คู่เศรษฐกิจเกษตรกรรม สืบสานประเพณีโบราณ  

 

            แผนที่หมู่บ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


                                                

1 . สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน

ประวัติบ้านเหล่าต้นยม

      ประวัติบ้านเหล่าต้นโดยสังเขป บ้านเหล่าต้นยม หมู่ที่ 9 ตำบลหนองแวง

 

เดิมชื่อบ้านป่งแดง หมู่ที่ 10  ตำบลนากอก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม

ในสมัยนั้นบ้านป่งแดงมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประชากรก็มากขึ้น

   นาย พรม ยืนยง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านป่งแดงในครั้งนั้น ได้ประชุม

ปรึกษาหารือผู้เฒ่า – ผู้แก่   และชาวบ้านป่งแดงแล้วได้นำเรื่อง

เสนอต่อทางอำเภอ เพื่อขอแบ่งแยกการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน

โดยได้แบ่งตามแนวถนน  ร.พ.ช. ด้านทิศเหนือของบ้านป่งแดง

เรียกว่า บ้านเหล่าต้นยม หมู่ที่9 ตำบลหนองแวง กิ่งอำเภอนิคมคำสร้อย

จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2520 และชาวบ้านได้เลือกนายกัลยา ศรีสุข

 เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก  บ้านเหล่าต้นยมมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,002  ไร่  

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ   ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา- ทำไร่อ้อย-ไร่มันสำปะหลัง สวนยางพารา และรับจ้างทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 นายกัลยา ศรีสุขก็ได้หมดวาระลงตามกาลเวลา หลังจากนั้นชาวบ้านก็ได้เลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ ได้นายอัญเชิญ  บุญเรืองนาม  เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 และปัจจุบัน นายเลื่อน ยืนยง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

          มีแบ่งการปกครองเป็น 18 คุ้มแต่ละคุ้มมีหัวหน้าคุ้มเป็นประธาน 

ลักษณะภูมิประเทศ และที่ตั้งหมู่บ้าน

 

       บ้านเหล่าต้นยม หมู่ที่ 9  ตำบลหนองแวง  อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร  ตั้งอยู่บนที่ดอน มีลำห้วยไหลผ่าน    2  สาย  ได้แก่ ลำห้วยจงอาง   -ห้วยทราย

ลักษณะภูมิอากาศมี  3  ฤดู  คือ 1.ฤดูฝน  2.ฤดูแล้ง  3.ฤดูหนาว

อาณาเขต

ทิศเหนือ          ติดต่อกับ      เขต ต.นาโสก  อ.เมือง  จ.มุกดาหาร

ทิศใต้               ติดต่อกับ     บ้านป่งแดง  หมู่ที่  4  ต.หนองแวง  

ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ     บ้านโนนก่อ หมู่ที่  6  ต.หนองแวง  

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ     ห้วยจงอาง

 

ขนาดพื้นที่

      พื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้าน  จำนวน  4002 ไร่ 

      แยกเป็น   พื้นที่อยู่อาศัย   1,302    ไร่

                      พื้นที่ทำการเกษตร  2,313  ไร่

                      พื้นที่อื่นๆ (ระบุ )   387  ไร่

 

 

3

ข้อมูลครัวเรือน ประชากร

  1. 1.              ข้อมูลทั่วไป

         ครัวเรือนทั้งหมด  203 ครัวเรือน

                      จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ (ที่มา จปฐ.ปี 2560)

 

 

        2. ข้อมูลแหล่งน้ำ 

       2.1 บ่อน้ำตื้น  80  บ่อ  แยกเป็นบ่อสาธารณะ 30 บ่อ และบ่อน้ำตื้นส่วนตัว 50 บ่อ

      2.2 บ่อบาดาล 7 บ่อ แยกเป็นบ่อบาดาลสาธารณะ 2 บ่อ และบ่อบาดาลส่วนตัว  5 บ่อ

 

      2.3 ประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง ครัวเรือนที่ใช้ประปา  157  ครัวเรือน

      2.4 แหล่งน้ำผิวดินที่มีคุณภาพดี  และมีการใช้ประโยชน์

          2.4.1 ประเภทห้วย (ระบุชื่อ)

             1.ห้วยจงอาง                   มีน้ำในช่วงเดือน  ตลอดปี

             2.ห้วยทราย                     มีน้ำในช่วงเดือน  ตลอดปี  

     2.4.2 แหล่งน้ำสาธารณะ(ระบุชื่อ)

        1.หนอง      -                         มีน้ำในช่วงเดือน     -

        2.หนอง      -                         มีน้ำในช่วงเดือน     -

     2.4.3 ฝาย คสล.  หรือทำนบดินกั้นน้ำสาธารณะ  จำนวน   3  แห่ง

     2.4.4 สระน้ำส่วนตัว  40  แห่ง

     2.4.5 คลองส่งน้ำ  คสล. หรือครองดิน  จำนวน     -     แห่ง  ยาว       -     เมตร

     2.4.6 ครัวเรือนมีน้ำสะอาดดื่มและบริโภคตลอดปี   191   ครัวเรือน

 

4   

 

 2.4.7 ครัวเรือนที่มีน้ำใช้เพียงพอตลอด     191    ครัวเรือน

     2.4.8 ปัญหาด้านน้ำเพื่อการเกษตร

        คือ  ต้องการฝายน้ำล้น  น้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ

3.  บริการสาธารณะในหมู่บ้าน   

     1. โรงเรียนมัธยมศึกษา                    1      แห่ง

     2.  สถานีอนามัย/โรงพยาบาล           -      แห่ง

    3.  โทรศัพท์สาธารณะ                      2      แห่ง

    4.  ลานกีฬา/สนามกีฬา                     -      แห่ง

4.ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้   191   ครัวเรือน   และครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้     -     ครัวเรือน                       

5.ครัวเรือนที่มีโทรศัพท์บ้าน  1   ครัวเรือน  และครัวเรือนที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่(มือถือ) 176  ครัวเรือน

6.การคมนาคมและการสื่อสาร

     6.1 ระยะห่างจากที่ตั้งอำเภอ 8 กิโลเมตร  โดยมี

            ถนนลาดยาง  8  กิโลเมตร และถนนลูกรัง 1 กิโลเมตร

      6.2 รถโดยสารประจำทาง หรือรถรับจ้างในหมู่บ้าน ( / ) มี 2 คัน

7.ร้านค้าในชุมชน

       7.1 ร้านค้าชุมชน/ศูนย์สาธิตการตลาด – แห่ง

       7.2 ร้านค้าเอกชน 6 แห่ง

8. เชื้อเพลิงส่วนใหญ่ที่ใช้ในการหุงต้มในครัวเรือน  ถ่าน  ไม้

9 .การดำเนินงานทางการเกษตร

     9.1 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพในการเพาะปลูก  191  ครัวเรือน ดังนี้

        1.ปลูกข้าว  191  ครัวเรือน  ผลผลิตข้าวรวมทั้งหมู่บ้าน   ประมาณ   480,000  กิโลกรัม

       2.อื่นๆ(ระบุ)   1.ปลูกอ้อย   ผลผลิตรวมทั้งหมู่บ้าน   4,000,000     กิโลกรัม   

                              2.ปลูกมันสำประหลัง   ผลผลิตรวมทั้งหมู่บ้าน    5,000,000  กิโลกรัม

     9.2โรงสีข้าวในหมู่บ้าน   5  แห่ง

      9.3ครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายและใช้เป็นอาหารในครัวเรือน  191  ครัวเรือน   แยกเป็น   

 

         - สัตว์ที่เลี้ยงมากเป็นอันดับที่ 1 คือ วัว      จำนวน  180  ครัวเรือน

         - สัตว์ที่เลี้ยงมากเป็นอันดับที่ 2 คือ ไก่      จำนวน  175  ครัวเรือน

         - สัตว์ที่เลี้ยงมากเป็นอันดับที่ 3 คือ กระบือ จำนวน  3  ครัวเรือน

      9.4 ครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ทฤษฎีใหม่ - ครัวเรือน

      9.5 ครัวเรือนที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร  30  ครัวเรือน 30  คน

      9.6 ครัวเรือนที่เป็นสมาชิก ธ.ก.ส     191   ครัวเรือน     191   คน

      9.7 สมาชิกกลุ่มการเกษตรที่จัดตั้งขึ้นในหมู่บ้าน/ตำบล 191  ครัวเรือน  -   ราย

 

5

10.ด้านเศรษฐกิจ

     10.1 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพมากกว่า  1  อาชีพ       191    ครัวเรือน

     10.2 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพอย่างเดียว        -    ครัวเรือน

     10.3 ในหมู่บ้านมีข้าราชการ   พนักงาน  และลูกจ้างของรัฐ  10  ครัวเรือน  10  ราย

     10.4 อัตราค่าจ้างในหมู่บ้านวันละ    150  บาท

     10.5 ครัวเรือนที่จ้างแรงงานคนอื่น -  ครัวเรือน  ค่าจ้างโดยเฉลี่ยปีที่แล้ว  -  บาท

11.การทำนา

     11.1มีพื้นที่ทำนาทั้งหมด   1,125  ไร่  และครัวเรือนที่ทำนา  191  ครัวเรือน

     11.2ผลผลิตข้าวเปลือก  ไร่ละ  2,500  กิโลกรัม  และขายในกิโลกรัมละ  12  บาท

     11.3ครัวเรือนที่มีนาเป็นของตัวเอง  ไม่ต้องเช่าคนอื่น     191   ครัวเรือน

     11.4ครัวเรือนที่มีนาเป็นของตัวเอง   แต่ยังเช่าที่นาของคนอื่น    -  ครัวเรือน

     11.5ครัวเรือนที่ทำนา และเช่าที่นาของคนอื่นทั้งหมด   -  ครัวเรือน

     11.6ปัญหาการทำนา  คือ ขาดแคลนน้ำในการทำนา

12.พื้นที่ปลูกพืชไร่ทั้งหมด 2,170ไร่  จำนวน  180  ครัวเรือน

     1.อ้อย                   จำนวน    115  ครัวเรือน  รวม  1,000  ไร่

     2.มันสำประหลัง   จำนวน     96   ครัวเรือน  รวม   500  ไร่

     3.ยาพารา               จำนวน     60   ครัวเรือน  รวม   400  ไร่

     4.อื่น ๆ                   จำนวน    100  ครัวเรือน  รวม   270  ไร่

13.พื้นที่ปลูกผลไม้ทั้งหมด  160 ไร่ จำนวน 160  ครัวเรือน

 

     1.มะขาม       จำนวน    90  ครัวเรือน   รวม  25  ไร่

     2.มะม่วง       จำนวน    90  ครัวเรือน   รวม  20  ไร่

     3.อื่นๆ          จำนวน    100 ครัวเรือน   รวม  45  ไร่

14.พื้นที่ปลูกผักทั้งหมด  109 ไร่ จำนวน  191  ครัวเรือน 

    1.ถั่วฝักยาว     จำนวน   60  ครัวเรือน  รวม  7  ไร่

    2.บวบ             จำนวน   30  ครัวเรือน  รวม  6  ไร่

    3.หอม.ผักชี    จำนวน    28  ครัวเรือน  รวม  2  ไร่

    4.อื่นๆ             จำนวน   31  ครัวเรือน  รวม   4  ไร่

15.ครัวเรือนที่เพาะพันธ์ไม้ สำหรับปลูก และจำหน่าย   -  ครัวเรือน

16.พื้นที่การทำสวนยางทั้งหมด  200  ไร่  ครัวเรือนที่ทำสวนยาง 65 ครัวเรือน

17.พื้นที่ทำการเกษตรฤดูแล้งทั้งหมด58ไร่ ครัวเรือนที่ทำการเกษตรฤดูแล้ง 20  ครัวเรือน

18.พื้นที่ฤดูแล้งที่ปลูกมกที่สุด ตามลำดับ

     1.มะเขือเทศ      2.ถั่วฝักยาว       3.ผักหอมแดง

 

6

 

19.อุตสาหกรรมในครัวเรือนที่ทำมากที่สุด  คือ   -   จำนวน  -  ครัวเรือน

20.สัตว์ใช้งานและเครื่องจักรในการเกษตร

     20.1ครัวเรือนที่มีควายเหล็ก/รถไถนาเล็ก 189  ครัวเรือน  189  คัน

     20.2ครัวเรือนที่มีรถไถนาใหญ่  7   ครัวเรือน  7  คัน

20.3ครัวเรือนที่ยังใช้โค  กระบือ  เป็นสัตว์ใช้งาน  -  ครัวเรือน

20.4 ครัวเรือนที่จ้างควายเหล็ก/รถไถนา  12  ครัวเรือน

21.แหล่งเงินทุนในหมู่บ้าน

1. กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 2,200,000 บาท สมาชิกกองทุน 192 คน

2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 1 กลุ่ม สมาชิก 180 คน  สัจจะสะสม รวม  107,000 บาท

3. กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน 1 แห่ง สมาชิก 220  คน เงินทุนฯรวม 300,000 บาท

4. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)เงินทุนรวมฯรวม 280,000 บาท

5. กองทุนกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ – บาท สมาชิก – คน

6. กองทุนกลุ่มอาชีพต่างๆ ในหมู่บ้านที่จัดขึ้นเอง หรือชุมชนรวมกลุ่มจัดตั้งขึ้นเอง(ระบุชื่อกลุ่ม)

1. กลุ่มแม่บ้าน                    เงินทุน 100,000 บาท สมาชิก  50  คน

 

2. กลุ่มปลูกพืชหมุนเวียน   เงินทุน  25,000 บาท สมาชิก  60  คน

3. กลุ่มไม้กวาด                  เงินทุน  45,000 บาท สมาชิก  53  คน

4. กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน     เงินทุน 300,000 บาท สมาชิก110  คน

5. กลุ่มเลี้ยงไหม                เงินทุน    8,000 บาท สมาชิก  21  คน

22. ปัญหาด้านการบริหารจัดการเงินทุนต่างๆในหมู่บ้าน

      คือ เงินทุนประกอบอาชีพหมุนเวียน ในหมู่บ้านไม่เพียงพอ

23. ด้านการศึกษา

23.1 เด็กอายุ3-6 ปีได้รับบริการและพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียน หรือ ศพด.

        จำนวน 60 คน และได้รับบริการฯจำนวน 60 คน

23.2 เด็กอายุ6-14 ปีเข้ารับการศึกษา ภาคบังคับ 82 คน และไม่ได้รับการศึกษา – คน

23.3 คนอายุ14-50 ปีไม่รู้หนังสือ เขียนและอ่านภาษาไทยไม่ได้ -  คน

23.4 คนในหมู่บ้านเข้ารับการฝึกอบรมด้านการอาชีพ – คน

23.5 คนในหมู่บ้านเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขภาพอนามัย  18 คน

23.6 คนในหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 15 คน

23.7. ปฏิญาณตนที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 35 คน

         23.7.1ในหมู่บ้านมีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด แยกเป็น ผู้เสพ 6 คน  ผู้ผลิต – คน และผู้ค้า – คน

23.8 คนในหมู่บ้านเข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้ว  3  คน

23.9  คนหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี 12 ครั้ง /  ปี

2.3.10  คนในหมู่บ้านมีการจัดการแข่งขันกีฬา  หรือเข้าร่วมแข่งขันกีฬาต่าง ๆ 58 คน

7

 

24   ปัญหาด้านการศึกษา

      มีปัญหาเรื่องการเงินทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาไม่ได้รับสม่ำเสมอ ไม่มีเงินค่าเล่าเรียน รายได้น้อย

25    ด้านการอนามัย

         25.1 มีเด็ก อายุต่ำกว่า  1   ปีเสียชีวิต  -  คน

         25.2  มีร้านขายขอชำที่ขายยาสุด  ยาอันตราย  ยาควบคุมพิเศษ   หรือวัตถุออกฤทธิ์  -แห่ง

         25.3  คนในหมู่บ้านได้รับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล  65  ราย

         25.4  คนในหมู่บ้านเสียชีวิตด้วยโรคต่าง ๆ  ดังนี้

              1.  โรคคอตีบ-  คน   2. โรคไอกรน -  คน      3. โรคบาดทะยัก - คน    4.  โรคโปลิโอ -  คน

              5.  โรคหัด -  คน      6. โรคหัดเยอรมัน- คน  7.โรคคางทูม -  คน     8.โรคไข้สมองอักเสบ -  คน         9. วัณโรค - คน       10. โรคตับอักเสบชนิดบี – คน  11.โรคลมชัก -  คน  12.  โรคเอดส์ – คน

          25.5  ประชาชนในหมู่บ้านได้รับอุบัติเหตุ 5 ราย  บาดเจ็บ 5 ราย   เสียชีวิต – ราย

          25.6  ในหมู่บ้านมีปัญหาเรื่องขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล มลภาวะ (     ) มี  (     )  ไม่มี

          25.7    ในหมู่บ้านมีการใช้สารเคมี  ปราบศัตรูพืช  15  ครัวเรือน

          25.8    ในหมู่บ้านมีเด็กกำพร้า  7  คน  เนื่องจาก  พ่อแม่เสียชีวิต

          25.9     เด็กถูกทอดทิ้ง 5 คน  เนื่องจาก  พ่อแม่แยกทางกัน

                     25.9.1  เด็กเร่ร่อน  -   คน  เนื่องจาก  -

          25.10   ในหมู่บ้านมีคนพิการช่วยเหลือตนเองไม่ได้ – คน คนอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป - คน

 25.11 ในหมู่บ้านมีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย  5  คน และมีผู้ถูกฆ่าตาย

 25.12 ในหมู่บ้านเคยมีคดีต่างๆ เกิดขึ้น คือ

            1. คดีสูดดมสารระเหย  2.คดีทำผิดเรื่องป่าไม้    3. การพนัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ส่วนที่ 2

การประเมินสถานะการพัฒนาหมู่บ้าน

การประเมินสถานะ การพัฒนาหมู่บ้าน จากการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ.  กชช.2ค 

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ปี  2560

 

                

 

ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข   คือ

1.   หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ  ออกกำลังกายอยู่เสมอ

   2. รณรงค์ให้คนในชุมชนรู้โทษภัยบุหรี่  ควรลด ละ เลิก สูบบุหรี่

   3.  ส่งเสริมเรื่องอาชีพ

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล กชช.2ค ปี 2560    บ้านเหล่าต้นยม    เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาระดับ 3

ตัวชี้วัด จากข้อมูล กชช.2 ค ที่คะแนน ระดับ 1 และมีผลกระทบต่อชุมชน คือ

             ตัวชี้วัด ที่     1   ถนน

             ตัวชี้วัด ที่   11   ผลผลิตจากการทำไร่

             ตัวชี้วัด ที่   22   การเรียนรู้โดยชุมชน

             ตัวชี้วัด ที่   26   การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน

             ตัวชี้วัด ที่   27   คุณภาพดิน

 

       สรุป  ข้อมูล กชช. 2 ค  ที่เป็นปัญหาต่อชุมชน คือ ปัญหาเรื่องถนนภายในหมู่บ้าน และถนนทางการเกษตร   ผลผลิตทางการเกษตรต้นทุนการผลิตสูง  เพราะปุ๋ยราคาแพง และมีการใช้สารเคมี  ส่งผลให้ปลูกพืชไม่คุ้มทุน  ดินเสื่อมคุณภาพ  ขาดแหล่งเรียนรู้ภายในหมู่บ้าน  แหล่งเงินทุนไม่เพียงพอ    

ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข   คือ

  1. ปรับปรุงดินโดยลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมี  หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ หรือน้ำหมักชีวภาพ และมีการปลูกพืชหมุนเวียน
  2. จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ภายในหมู่บ้าน
  3. ซ่อมแซม /ก่อสร้างถนน ที่มีคุณภาพ
  4. จัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ
 

 


 

                                     

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 3

โครงการ/กิจกรรมที่หมู่บ้านได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆในรอบปีที่ผ่านมา

   

โครงการ

ขนาด/จำนวน

งบประมาณ

หน่วยงาน

ประโยชน์ที่ได้รับ

 

1.โครงการอุดหนุนกลุ่มอาชีพ

 

2.โครงการประเพณีบุญเดือนสาม  บายศรีสู่ขวัญผู้สูงอายุ

 

3. สนับสนุนกลุ่มกลองยาว

 

79 คน

 

76 คน

 

 

กลองยาว 1 ชุด

 

51,000

 

20,000

 

 

25,000

 

 

อบต.

 

อบต.

 

 

อบต.

 

 

มีเงินทุนประกอบอาชีพ

สืบสานประเพณี

 

 

อนุรักษ์วัฒนธรรม

 

 

                                                                                  

 

 

                 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่  4

ผลการวิเคราะห์ประเมินชุมชน

        1. กำหนดจุดเด่นหรือจุดแข็งของชุมชน (บอกถึงสิ่งที่มีและเห็นว่าเด่นในชุมชนทั้งด้านบุคคล,กลุ่ม,สิ่งแวดล้อม,ภูมิปัญญา,วัฒนธรรมประเพณี,และสิ่งอื่น ๆ เป็นปัจจัยภายในชุมชนเอง)

1.1 จุดเด่นด้านบุคคล  (ทุนด้านทรัพยากรบุคคล)

 

ที่

ชื่อ - สกุล

อายุ

บ้านเลขที่

โทรศัพท์

ลักษณะเด่นด้านใด

1

นายจันทร์  คำลือ

76

57

 

จักสาน

2

นายเส็ง   อวนตา

66

80

 

จักสาน

3

นายทาน   ชาธิพา

60

52/3

084-5196394

วัฒนธรรมประเพณี

 

 

 

 

 

 

 

รายชื่อปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร

ที่

ชื่อ - สกุล

บ้านเลขที่

อายุ

เชี่ยวชาญการเกษตรด้านใด

รางวัลที่ได้รับ

1

นายเลื่อน  ยืนยง

140

44

กรีดยาง

 

2

นายรัศมี  ดีดวงพันธ์

151

39

ปลูกพืช

 

3

นายสมัครชัย  ศรีสุข

146

44

เลี้ยงไหม

 

4

นายกาญอุดร  ศรีสุข

7

61

เลี้ยงปลา

 

 

19

1.2  จุดเด่นด้านกลุ่ม/องค์กร (ทุนด้านเศรษฐกิจ/สังคม)

 

ที่

ชื่อกลุ่ม

ปีทีก่อตั้ง พ.ศ.

วัตถุประสงค์

มีสมาชิก (คน)

เงินทุน (บาท)

กิจกรรมหลัก

ประธานกลุ่ม

ผลดำเนินงาน

1

กลุ่มออมทรัพย์

2544

กู้ยืม

180

107,000

ออมเงินทุกเดือน

นายบุญเพ็ง  ศรีสุข

 

2

กลุ่มธนาคารหมู่บ้าน

2540

กู้ยืม

165

35774

 

นายกัลยา  ศรีสุข

 

3

กองทุนหมู่บ้าน

2544

กู้ยืม

188

140,000

 

นายทาน ชาธิดา

 

4

กลุ่มเลี้ยงไหม

2549

อาชีพเสริม

9

8,400

ส่งเสริมให้สมาชิกออม

นายสมัครชัย  ศรีสุข

 

5

กลุ่มไม้กวาด

2526

อาชีพเสริม

52

227700

ส่งเสริมให้สมาชิกออม

นายฉันท์  ศรีสุข

 

 

 

20

1.3  จุดเด่นด้านทรัพยากรธรรมชาติ (ทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติของหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น แหล่งน้ำ/ป่า/สถานที่ท่องเที่ยว   สาธารณะและการใช้ประโยชน์)

ชื่อแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

ลักษณะการใช้ประโยชน์

หมายเหตุ

อุทยานภูสร้าง

สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน

28 ตารางกิโลเมตร

1.4 จุดเด่นด้านภูมิปัญญาชุมชน

ประเภทภูมิปัญญา

ชื่อ-สกุล และที่อยู่ของเจ้าของภูมิปัญญา

ประโยชน์ต่อชุมชนในด้านใด

จักสาน

นายจันทร์  คำลือ

 

กลุ่มไม้กวาด

นายฉันท์  ศรีสุข

 

1.5 จุดเด่นด้านประเพณี/วัฒนธรรม/กฎ ระเบียบ / ค่านิยมและความสัมพันธ์ของชุมชน  (เป็น

ลักษณะของพื้นที่หล่อหลอมจากประสบการณ์ของรุ่นสู่รุ่น  เป็นสำนึกร่วมของคนในชุมชนที่สร้างขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลชุมชนให้ดำเนินชีวิตไปตามระบบคุณค่าแนวคิดของชุมชนนั้น ๆ เป็นกฎของหมู่บ้าน)

ประเพณี/กิจกรรม

วัตถุประสงค์

ต้องทำอะไรบ้าง

ประเพณีบุญเดือนสามผูกแขนผู้สูงอายุ

เพื่อสร้างขวัญกำลังใจผู้สูงอายุ

ประชุมหมู่บ้านจัดกิจกรรมหมู่บ้าน

 

จุดเด่น ในภาพรวมทั่วๆไป

1. ประเพณีบุญเดือนสามบายศรีสู่ขวัญผู้สูงอายุ

2. วัดบ้านเหล่าต้นยม

3. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

4. กองทุนหมู่บ้าน

5. สถานที่ท่องเที่ยวภูสร้าง

6. หมู่บ้านมีความสามัคคี

 

 

2. จุดอ่อนของชุมชน (บอกลักษณะจุดอ่อนหรือจุดด้อยของชุมชนด้านต่าง ๆ เป็นปัจจัยภายในชุมชน)

เรื่องที่เป็นจุดอ่อน

มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร

ควรจะทำอย่างไร

1.ประชาชนมีรายได้น้อย

เป็นหนี้สินมาก

ส่งเสริมอาชีพที่ยั่งยืน

2.ในหมู่บ้านมีฝายเก็บน้ำไม่เพียงพอเพื่อการเกษตร

พืชที่ปลูกให้ผลผลิตไม่เต็มที่

ให้ท้องถิ่นสร้างฝายเก็บน้ำให้เพียงพอ

3.กลุ่มอาชีพขาดทักษะในการประกอบอาชีพ

ผลผลิตตกต่ำ

ภาครัฐให้การสนับสนุนเงินทุนและทางวิชาการ

21

 

จุดอ่อน ในภาพรวมทั่วๆไป

1.ปัญหาครัวเรือนถูกรบกวนจากมลพิษ

2.ปัญหาครัวเรือนไม่มีความปลอดภัยในชีวิตละทรัพย์สิน

3.ปัญหาครัวเรือนไม่มีความอบอุ่น

4.ปัญหาเด็กจบการศึกษา 9 ปีไม่ได้เรียนต่อ

5.ปัญหาเด็กจบการศึกษา 9 ปีไม่ได้เรียนต่อไม่มีงานทำไม่ได้ฝึกงานด้านอาชีพ

 

6.ปัญหาคนในครัวเรือนติดสุรา

7.ปัญหาคนในครัวเรือนสูบบุหรี่

8.ปัญหาผลผลิตจากการทำไร่ตกต่ำ

9.ปัญหาขาดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน

10.ปัญหาความต้องการถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน

11.ปัญหาไม่มีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดปี

12.ปัญหาที่ดินเสื่อมคุณภาพ

13.ปัญหาถนนไม่ถึงพื้นที่การเกษตร

14.ปัญหาไฟฟ้าไปไม่ถึงพื้นที่การเกษตร

 

3.  โอกาสของชุมชน  (เป็นปัจจัยภายนอกชุมชนที่จะส่งเสริมและสร้างโอกาสให้ชุมชนได้สามารถพัฒนาได้)

เรื่องที่เป็นโอกาส

มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร

ชุมชนควรจะสร้างโอกาสอย่างไร

ภูสร้าง

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

 

 

โอกาสการพัฒนาของชุมชน ในภาพรวมทั่วๆไป

1. ภาครัฐและท้องถิ่น ให้เงินอุดหนุนประกอบอาชีพ

2. ภาครัฐและท้องถิ่นมีอาชีพเสริมในฤดูแล้งและอาชีพที่มั่นคง

3. ภาครัฐและท้องถิ่น สนับสนุนสืบทอดประเพณีของชุมชน

4. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

5. ภาครัฐและท้องถิ่นสนับสนุนให้เยาวชนมีรายได้ในช่วงปิดภาคเรียน

 

 

22

4.  ข้อจำกัด/อุปสรรค ของชุมชน (เป็นปัจจัยภายนอกและเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้การพัฒนา    หมู่บ้าน/ชุมชนไม่บรรลุเป้าหมาย)

       1.ปัญหาในครัวเรือนถูกรบกวนจากมลพิษ

      2. ปัญหาครัวเรือน  ไม่มีความปลดอภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

      3. ปัญหาครัวเรือนไม่มีความอบอุ่น 

      4. ปัญหาเด็กจบการศึกษา 9 ปี ไม่ได้เรียนต่อ

      5. ปัญหาเด็กจบการศึกษา 9 ปี ไม่ได้เรียนต่อ ไม่มีงานทำ  ไม่ได้ฝึกอาชีพ

 

      6. ปัญหาคนในครัวเรือนติดสุรา

      7. ปัญหาคนในครัวเรือนสูบบุหรี่

      8. ปัญหาผลผลิตจากการทำไร่ตกต่ำ

      9. ปัญหาขาดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน

     10. ปัญหาที่ดินเสื่อมคุณภาพ

     11. ปัญหาความต้องการถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน

     12. ปัญหาไม่มีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดปี

     13. ปัญหาถนนไม่ถึงพื้นที่การเกษตร

     14. ปัญหาไฟฟ้าไปไม่ทั่วถึงพื้นที่การเกษตร

     15. ขาดการเชื่อมโยงส่งเสริมอาชีพอย่างยั่งยืนในพื้นที่

     16. ขาดการทำงานแบบบูรณาการรวมกลุ่มอาชีพ

     17. ขาดการตลาดรองรับสินค้าในหมู่บ้าน การใช้เทคโนโลยีและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


23                    

ส่วนที่  5

แนวโน้ม/ ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

วิสัยทัศน์ (สิ่งที่ชุมชนมุ่งหวังอยากให้เป็นในอนาคต)  คือ

      “หมู่บ้านเป็นสังคมที่น่าอยู่ ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้ที่เพียงพอ มีถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน

 

 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เรื่องต่าง ๆ ที่ชุมชนจะทำเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์)

1)  เสริมทักษะกลุ่มอาชีพต่างๆ

2)  สร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชนและผู้ด้อยโอกาส

3)  สร้างสังคมให้น่าอยู่ชุมชนเข้มแข็ง

3) อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน

 

4)  พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

5)  พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

6)  เพิ่มแหล่งเงินทุนในชุมชน

                                                                                                                          

  ทิศทางการพัฒนา

           1. ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ

            2. ครัวเรือนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                        

            3. ครอบครัวอบอุ่น         

            4. นักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับทุกคน

            5. เด็กนักเรียนและเยาวชนเรียนจบภาคบังคับ  9 ปี และมีงานทำทุกคน 

 

            6. คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่

            7. คนในครัวเรืองไม่ติดสุรา

            8. ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร

            9. มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

           10. มีการปรับปรุงที่ดินที่เสื่อมคุณภาพให้ดีขึ้น

           11. น้ำใช้เพียงพอในการเกษตรตลอดปี

           12. ถนนคอนกรีตในหมู่บ้านทั่วถึง

           13. ถนนไปสู่พื้นที่การเกษตรที่สะดวก

           14. ขยายเขตไฟฟ้าสู่พื้นที่อย่างทั่วถึง 

 

  

  24

ส่วนที่  6

กำหนดอัตลักษณ์/กำหนดตำแหน่งการพัฒนา

 

1. อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน  คือ

                   “ประเพณีบุญเดือนสาม  เปิดประตูเล้า   บายศรีสู่ขวัญผู้สูงอายุ”

 

เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน

  แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

1.  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นพึ่งพาตนเองได้

 

 

 

 

 

3. ด้านอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อม

 

  1)  โครงสร้างถนน  คสล. ในหมู่บ้านให้ทั่วถึง

  2)  โครงสร้างขยายไฟฟ้าแรงต่ำสู่พื้นที่การเกษตร

  3)  โครงสร้างถนนลูกรัง สู่พื้นที่การเกษตรอย่างทั่วถึง

  4)  โครงการสร้างฝายน้ำล้น ให้มีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดปี

  5)  โครงการเพิ่มหลอดไฟแสงสว่างในหมู่บ้านให้ทั่วถึง

  6)  โครงการสร้างรั้ว หรือถนนรอบป่าชุมชน ( ป่าช้า)

  7)   โครงการสร้าถนนลาดยางเชื่อมระหว่างตำบลโสก กับตำบลหนองแวง

  8)  โครงสร้างถนนเชื่อตำบลหนองแวงกับตำบลคำอาฮวน

 

1)  เลี้ยงปลา-กบ  ในบ่อพลาสติกขนาดเล็ก

2)  จัดหาหญ้าเลี้ยงโค – กระบือ  ซื้อเครื่องอัดฟาง

3)  ส่งเสริมโครงการปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางพารา  ไม้ยูคาลิปตัส

4)  ลดต้นทุนการผลิต – ผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เอง

5)  ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษทุกครัวเรือนตาแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

6)  มีตลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรในราคายุติธรรม

7) ปรับปรุงคุณภาพดิน เช่น หว่านวัชพืชแล้วไถกลบ ไถกลบตอฟางข้าว

 

1)มีถังขยะทุกครัวเรือน

2)ทำรั้วและป้ายชื่อทุกครัวเรือน

3)แนะนำการทิ้งถังขยะให้เป็นที่เป็นทาง

4)ทำความสะอาดบริเวณบ้าน ให้เป็นบ้านน่าอยู่

5)อนุรักษ์ปลูกป่าในชุมชน ไม่ให้ถูกทำลายและการจุดไฟเผาฟางข้าว

 

 

25

 

  เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน   

           แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

4.  ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม

 

 

 

 

5.  ด้านสังคม  ประชาชนมีความสามัคคี  เคารพกฎระเบียบของชุมชน  

 

 

6. ด้านสาธารณสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7.ด้านบริหารการแหล่งเงินทุน ในหมู่บ้าน

 

 

 

1)สนับสนุนเยาวชนให้ได้มีโอกาสเรียนต่อการศึกษานอกโรงเรียนมากขึ้น

2)ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาทุกคน

3)ศึกษาดูงานนอกสถานที่

4)จัดตั้งห้องสมุดประจำหมู่บ้าน

5)ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน

6)อบรมคุณธรรม และจริยธรรมให้ประชนในหมู่บ้านทุกครัวเรือน

1)ประชาชนในหมู่บ้าน  เคารพกฎระเบียบของหมู่บ้าน

2)ประชาชนในหมู่บ้าน อยู่อย่างเอื้ออาทร  ซึ่งกัน และกัน

3)จัดอบรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้กับกรรมการ หมู่บ้าน และประชาชนทั่วไป

4)ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุข

1)นัดตรวจสุขภาพให้กับประชาชน กลุ่มอายุ35-60 ปี  เพื่อตรวจหาเบาหวาน และมะเร็งเต้านม

2)รณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการออกกำลังกาย เช่นเต้นแอโรบิค และลำไม้พอง ให้กับผู้สูงอายุ  วิ่งออกกำลังกายตอนเช้า

3)รณรงค์ให้ประชาชน ให้รู้จักการกินอาหารให้สะอาดถูก        สุขลักษณะ

4)ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร เพิ่อป้องกันโรคติดต่อในหมู่บ้านเช่น  โรคไข้หวัดนก โรคฉี่หนู และโรคติดต่ออื่นๆ

5)รณรงค์ให้เยาวชนรู้จักการเล่นกีฬา รู้แพ้รู้ชนะ-รู้อภัย

6)ประชุมอบรมให้กับประชาชนในหมู่บ้านร่วมกับสถานีอนามัย ให้รู้จัก ลด ละ เลิก อบายมุข-สุรา-บุหรี่

 

1) จัดการบริหารเงินทุนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

2) จัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน และกลุ่มออมทรัพย์

3) ส่งเสริมให้มีการออมอย่างสม่ำเสมอ

4) หาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ มาให้ประชาชนได้ยืม ไปประกอบอาชีพ

 

 

 

 

26

แผนงาน/โครงการ / กิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน

ที่

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมายการที่ดำเนินการ

งบ

ประมาณ

แหล่งงบประมาณ

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงสร้างพื้นฐาน

 

1.โครงการสร้างถนน คสล. ในหมู่บ้าน

 2.โครงการขยายไฟฟ้าแรงต่ำ สู่พื้นที่การเกษตร

3.โครงการขยายถนนลูกรัง สู่พื้นที่การเกษตรอย่างทั่วถึง

4.โครงการสร้างฝายน้ำล้น ขนาดกลางเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดการ เกษตร

5. โครงการเพิ่มหลอดไฟแสงสว่างในหมู่บ้าน

6. โครงการสร้างรั้ว หรือถนนรอบป่าชุมชน

7. โครงการสร้างถนนลาดยางเชื่อมระหว่างตำบลหนองแวง  กับตำบลนาโสก

6 x 1,000 เมตร หนา  0.15   เมตร

-1 กิโลเมตร  25   ต้น

-10   กิโลเมตร

 

-ห้วยทราย  -  ห้วยจงอาง

 

-10  จุด  10  หลอด

 

-ป่าช้าป่งแดง-เหล้าต้นยม

-เส้นทางบ้านเหล่าต้นยม-บ้านนาหัว

ภู ระยะทาง 9 กิโลเมตร

1,000,000

 

200,000

 

2,000,000

 

2,000,000

 

 

20,000

 

150,000

 

10,000,000

อบจ.

 

อบต.

 

อบต.

 

อบจ.

 

 

อบต.

 

อบต.

 

อบจ.

 

2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีความ

อยู่ดี-มีสุข พึ่งพาตนเอง ได้ตาม

แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 

1.ส่งเสริมการเลี้ยงปลา-กบ ในบ่อพลาสติกขนาดเล็ก

2.เครื่องพ่นจุลินทรีย์ ชุดเล็ก

3.ส่งเสริมการเลี้ยงโค-กระบือ ในหมู่บ้านและจัดหาหญ้าแห้ง

4.ส่งเสริมโครงการปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส

5.ลดต้นทุนการผลิต - ผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เอง

จำนวน   50  บ่อ

 

1 ชุด

ซื้อเครื่องอัดฟางจำนวน  1 เครื่อง

จำนวน    150   ครัวเรือน

                     จำนวน    185   ครัวเรือน

100,000

 

15,000

 

150,000

300,000

 

 

150,000

รัฐบาล

 

อยู่ดี-มีสุข

 

อยู่ดี-มีสุข

อยู่ดี-มีสุข

 

 

อบต.

ที่

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมายการที่ดำเนินการ

งบ

ประมาณ

แหล่งงบประมาณ

 

 

 

 

 

 

 

6.ปลูกผักปลอดสารพิษ บริโภคเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอ เพียง

7.มีตลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรในราคายุติธรรม

8.ปรับปรุงคุณภาพดิน เช่น หว่านพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ และไถกลบตอฟางข้าว

9.โครงการซื้อโอ่งรองน้ำฝน ไว้บริโภคในฤดูแล้ง

ทุกครัวเรือน

 

 

1 แห่ง

 

จำนวน  185  ครัวเรือน

 

จำนวน  191  ครัวเรือน

10,000

 

 

100,000

 

30,000

 

 

150,000

ชุมชน

 

 

อบต.

 

อบต.

 

 

อยู่ดี-มีสุข

3

 

 

 

 

 

 

 

ด้านสังคม ประชาชนสามัคคี

อยู่ดีมีสุข

 

1.จัดอบรมคุณธรรม จริยธรรม ให้กับประชาชนทั่วไป

2.รณรงค์ให้เยาวชนเล่นกีฬา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

3.ส่งเสริมให้กรรมการหมู่บ้านและประชาชนทั่วไป อบรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

4.ส่งเสริมรณรงค์ให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

จำนวน    120   คน

 

เยาวชนในหมู่บ้านจำนวน  60 คน

1 รุ่น 50  คน

 

 

จำนวน  191  ครัวเรือน

 

10,000

 

10,000

 

10,000

 

 

5,000

อบต.

 

อบต.

 

อบต.

 

 

ชุมชน

 

4

 

 

 

 

 

ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในหมู่

บ้าน

 

 

 

1.มีถังขยะทุกครัวเรือน

2.ทำรั้วป้ายชื่อทุกครัวเรือน

3.รณรงค์ให้ทิ้งขยะเป็นที่   เป็นทาง

4.ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้

5.อนุรักษ์ป่าสาธารณะ ไม่ให้ถูกทำลาย

6.ประชาสัมพันธ์ไม่ให้จุดไฟป่า

 

ทุกครัวเรือน 

ทุกครัวเรือน

ทุกครัวเรือน

 

ทุกครัวเรือน

 

ทุกครัวเรือน

 

1 แห่ง

 

 

50,000

100,000

5,000

 

10,000

 

10,000

 

5,000

อบต.

อบต.

ชุมชน

 

 ชุมชน

 

ชุมชน

 

 ชุมชน

ที่

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้าน

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

เป้าหมายการที่ดำเนินการ

งบ

ประมาณ

แหล่งงบประมาณ

5

 

ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม

 

1.ส่งเสริมให้เยาวชนในหมู่บ้าน เรียนการศึกษานอกโรงเรียนทุกคน

2.ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้าน ได้รับการศึกษาทุกด้าน

3.ศึกษาดูงานนอกสถานที่

4.มีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน

5. ส่งเสริมประเพณีวันสำคัญต่างๆในหมู่บ้านตลอดไป

เยาวชนนอกระบบ

 

 

ทุกครัวเรือน

 

1 ครั้ง

1 แห่ง

ทุกประเพณี

 

 

5,000

 

 

5,000

 

100,000

15,000

50,000

ชุมชน

 

 

ชุมชน

 

อบต.ชุมชน 

อบต.

 

6

 

 

 

 

 

ด้านสาธารณสุข สุขภาพดีถ้วนหน้า

 

1. นัดตรวจสุขภาพประชาชนในหมู่บ้าน

2. ส่งเสริมประชาชนให้ออกกำลังกาย

3. ประชาสัมพันธ์ป้องกันรักษาโรคติดต่อทุกชนิด

4. รณรงค์ให้มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะทุกครัวเรือน

5. รณรงค์ให้ประชาชนลด ละ เลิกอบายมุข สิ่งเสพติด ทุกชนิด

ทุกครัวเรือน

 

ทุกครัวเรือน

 

ทุกครัวเรือน

 

ทุกครัวเรือน

 

ทุกครัวเรือน

 

6,000

 

6,000

 

5,000

 

20,000

 

5,000

อบต.

 

อบต.

 

ชุมชน

 

ชุมชน

 

ชุมชน

 

7

 

ด้านการบริหารแหล่งเงินทุน

ในหมู่บ้าน

1. เพิ่มจำนวนสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์

2. รณรงค์ให้มีการออมอย่างต่อเนื่อง

50 คน

 

178 คน

12,000

 

5,000

ชุมชน

 

ชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

29

ส่วนที่   7

ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาหมู่บ้าน

บ้านเหล่าต้นยม  อยู่เขตพื้นที่การปกครองของ อบต .หนองแวง  และเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญอยู่ในระดับกลางๆ เป็นหมู่บ้านแฝดกับบ้านป่งแดง  การเดินทางติดต่อกับอำเภอสะดวกสบายด้วยเส้นทางถนนลาดยาง    เป็นหมู่บ้านอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี เช่น งานบุญประเพณี  บุญประจำปีต่างๆ    เป็นหมู่บ้านที่ราษฎรในหมู่บ้านเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส  และมีกลุ่มองค์องค์กรต่างๆมากมาย  ทั้งกลุ่มอาชีพ และกลุ่มเงินทุน  เช่น  ธนาคารหมู่บ้าน  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  ฯลฯ

บ้านเหล่าต้นยม มีแหล่งน้ำสาธารณะ ที่ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำบริโภค   เป็นโอกาสที่จะพัฒนาแหล่งน้ำเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และมีป่าชุมชนที่เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน     

คุณภาพชีวิตของชาวบ้านเหล่าต้นยม   เมื่อเปรียบเทียบกับหมู่บ้านอื่นระดับคุณภาพชีวิตประชากรมีสภาพที่ดีในระดับต้นๆ ใกล้เคียงกับหมู่บ้านอื่น  ราษฎรในหมู่บ้านส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางการเกษตร  ปลูกพืชเศรษฐกิจ และรับจ้าง  

              ปัญหาสังคม  คือ ปัญหาวัยรุ่นว่างงาน จึงทำให้มีการจับกลุ่มวัยรุ่นมั่วสุม และอาจสร้างความรำคาญในหมู่บ้าน และก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของยาเสพติด หรือปัญหาลักเล็กขโมยน้อยในชุมชน

 

              แนวทางในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ประชาชนในหมู่บ้านจะต้องมีจิตสำนึกรักชุมชน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน โดยประสานกับหน่วยงานภาครัฐ จัดเวทีประชาคมวางแผนการจัดการชุมชน ประชาชนจะต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต  และพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องคอยหมั่นให้การศึกษา อบรม แก่บุตรหลาน และส่งเสริมให้เยาวชนได้ฝึกอาชีพ ทั้งในสถานศึกษาภาครัฐ หรือสถาบันทางภาคเอกชน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

 

 

 

 


สรุปผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับหมู่บ้าน (จปฐ. )พ.ศ. 2560

บ้านเหล่าต้นยม    หมู่ที่  09  ตำบลหนองแวง  อำเภอนิคมคำสร้อย  จังหวัดมุกดาหาร

 

 

สรุปสภาพปัญหาของหมู่บ้านจากข้อมูล กชช. 2ค  ปี  2550

บ้านเหล่าต้นยม   หมู่ที่  09  ตำบลหนองแวง  อำเภอนิคมคำสร้อย  จังหวัดมุกดาหาร

 

 

 

 

 

 

 

 

view

เว็บบอร์ด

view