http://nkcd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

บุคคลากร

 ประวัติอำเภอ

 แผนที่อำเภอ

 บทบาทหน้าที่

 ภารกิจ

 วิสัยทัศน์

 สพจ.จังหวัด

 เว็บไซต์กรม

บุคคลากร

การเตรียมการคัดสรร OTOP

องค์ความรู้

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน/ตำบล

บริการข้อมูลข่าวสาร

กิจกรรมงานเด่น

สินค้า

 ผลิตภัณฑ์เด่นอำเภอนิคมคำสร้อย

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท11/09/2017
ผู้เข้าชม29,166
เปิดเพจ36,657
สินค้าทั้งหมด14
iGetWeb.com
AdsOne.com

หมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว

https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-OTOP-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5/1577064585865651?fref=ts

สรุปผลการดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว

บ้านชัยมงคล หมู่ที่ 1 ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

ประจำปี พ.ศ. 2558

....................................................................................

คำขวัญหมู่บ้าน

   “ภูมิปัญญาตะกร้าสาน พุทธสถานภูดานแต้ งามแท้พระองค์ใหญ่ ศูนย์รวมใจชัยมงคล”

1.1 ประวัติหมู่บ้าน/ชุมชน

            เมื่อปี พ.ศ.2517 บ้านชัยมงคลได้ยกฐานะเป็นหมู่บ้าน  โดยแยกออกจากบ้านม่วงไข่ หมู่ที่13ต.นากอก อำเภอมุกดาหารจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในขณะนั้น หลวงพ่อสมพงษ์ขนฺติโก เป็นผู้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านชัยมงคล”ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยมีนายสิงห์ทองรากวงศ์ เป็นกำนัน  คนแรก 

นายกุศล จันทะไชยเป็นกำนันคนที่ 2โดยมีนายวิมล สุวรรณไตรย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน คือ นายประมวล  สีงาม 

             ปัจจุบันบ้านชัยมงคลได้เจริญเติบโตเป็นชุมชนขนานใหญ่มีประชากร 640 คน จำนวน 185 ครัวเรือน คนในชุมชนประกอบอาชีพสานตะกร้า-ทำนา-ทำไร่ในการสานตะกร้าซึ่งเป็นสินค้าระดับห้าดาว  ที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนนอกจากการทำเกษตร

1.2 การปกครอง

             หมู่บ้านชัยมงคลตั้งอยู่ในเขตการปกครอง 2  ส่วน คือ ในเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย มีครัวเรือนอยู่จริงทั้งหมด (จากการสำรวจข้อมูล  จปฐ. ปี  2558)

ทั้งหมด 185 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 640 คน เป็นชาย  338 คน  เป็นหญิง 302 คน (ประชากรในเขตเทศบาล 640 คน  เป็นชาย 312 คน หญิง 277  คน) - (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย ทั้งหมด 

51 คน ชาย 26 คน หญิง 25 คน) แบ่งการปกครองออกเป็น 6 คุ้ม ดังนี้

  1. คุ้มภูฮาบ

  2. คุ้มบูรพาเทพารักษ์

  3. คุ้มเวชสุวรรณภูมิ

  4. คุ้มชัยมงคลอภิบาล

  5. คุ้มเทพากาญจนาภูมิ

            1.3 ลักษณะภูมิประเทศ และที่ตั้งหมู่บ้าน

    ลักษณะของหมู่บ้านของบ้านชัยมงคล ครัวเรือนมีการตั้งบ้านเรือนเรียงตามรายทางถนนชยางกรู 

    สายอุบลฯ – มุกดาหาร ที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นที่ราบสูง อยู่ห่างจากตัวอำเภอระยะทาง 5 กิโลเมตร และห่างจังหวัดมุกดาหาร 31 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้      

                       —  ทิศเหนือ              จดกับ     บ้านม่วงไข่ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

                       —  ทิศใต้                  จดกับ     บ้านคำพอก  อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร

                       —  ทิศตะวันออก        จดกับ     บ้านด่านมน  อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุดาหาร

                       —  ทิศตะวันตก           จดกับ     บ้านคลองน้ำใส ต.โชคชัย อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร

                   ขนาดพื้นที่ พื้นที่ของหมู่บ้านชัยมงคลจัดได้ว่าเป็นหมู่บ้านขนาดกลางมีเนื้อที่ประมาณ 5,524 ไร่   แบ่งออกเป็น

                        — พื้นที่อยู่อาศัย 1,200 ไร่

                        — พื้นที่ทำการเกษตร 3,624 ไร่

                       — พื้นที่อื่น ๆ(ระบุ)  พื้นที่เป็นป่า 700ไร่       

        ภูมิประเทศและภูมิอากาศ ลักษณะโดยทั่วไปของชุมชน

    บริเวณชุมชนมีลักษณะเป็นเนิน สภาพชุมชนยังมีขนาดกลาง 185 หลังคาเรือน ชาวบ้านมักจะอยู่รวมกันในลักษณะเครือญาติพี่น้อง จึงมักจะสร้างบ้านเรือนในละแวกใกล้เคียง ลักษณะสภาพพื้นที่เป็นที่ราบสูงดินทราย มีอากาศร้อนอบอ้าว ในฤดูร้อน และหนาวเย็นในฤดูหนาว

   1.4 ข้อมูลประชากร

        บ้านชัยมงคล มีครัวเรือนทั้งหมด 185 ครัวเรือน ประชากร 640 คน แยกเป็นชาย 338 คน

หญิง 302 คน คนพิการในหมู่บ้าน 12 คน ผู้สูงอายุ (อายุ  60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) 73 คน  เป็นชาย 43 คน เป็นหญิง 30 คน

ตารางแสดงจำนวนประชากร

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย

(คน)

จำนวนเพศหญิง

(คน)

จำนวนรวม

(คน)

น้อยกว่า  1  ปีเต็ม

1  ปีเต็ม  -  2  ปี

3  ปีเต็ม  -  5  ปี

6  ปีเต็ม  -  11  ปี

12  ปีเต็ม  -  14  ปี

15  ปีเต็ม  -  17  ปี

18  ปีเต็ม  -  25  ปี

26 ปีเต็ม – 49 ปีเต็ม

50  ปีเต็ม  -  60  ปี

มากกว่า  60  ปี  ขึ้นไป

2

8

16

10

9

11

94

88

57

43

3

4

7

16

10

10

84

90

49

30

5

12

23

26

19

21

178

178

106

73

รวม

338

302

640

หมายเหตุ  :  จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงจากการสำรวจนี้ อาจไม่เท่ากับจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านได้ (ข้อมูลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน  จปฐ.2 ปี 2558)

1.5. การประกอบอาชีพ (ในจำนวนหนึ่งครัวเรือนประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ)

  • เกษตรกรรม               

        1. ทำไร่                จำนวน    86    ครัวเรือน

        2. ทำนา               จำนวน   134   ครัวเรือน

        3. ทำสวน              จำนวน      6    ครัวเรือน

        4. เลี้ยงสัตว์            จำนวน     72   ครัวเรือน

  • อาชีพค้าขาย               จำนวน     8    ครัวเรือน

  • อาชีพรับจ้าง               จำนวน      -     ครัวเรือน

  • อาชีพรับราชการ           จำนวน     12   ครัวเรือน

    1.6 รายได้ของประชากร

      • ครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่า 35,000  บาท/คน/ปี  

        จำนวน 184  ครัวเรือน

      • ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 35,000  บาท/คน/ปี    

        จำนวน   1 ครัวเรือน

      • รายได้เฉลี่ยของประชากรของบ้านชัยมงคล  จำนวน  109,500 บาท/คน/ปี

        หมายเหตุ: ข้อมูลจากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ.2) ปี 2558)

         

        ผลการดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวบ้านชัยมงคล

        1. ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) เด่นบ้านชัยมงคล

                           ตะกร้าสานพลาสติก กลุ่มวิสาหกิจตะกร้าสานพลาสติกบ้านชัยมงคล มีนางสมพร  ห้วยทราย  ประธานกลุ่มแม่บ้าน หมู่  ๑  บ้านชัยมงคล  ตำบลโชคชัย  อำเภอนิคมคำสร้อย  จังหวัดมุกดาหาร

        ด้านชุมชน

    • มีการรวมกลุ่มผลิตสินค้าตะกร้าพลาสติก ปัจจุบันมีสมาชิก 82 ราย

    • ปัจจุบันในหมู่บ้านมีผู้ประกอบการผลิตสินค้า OTOP ที่มี ORDER  รายใหญ่  5 ราย ดั่งนี้

  1. นางนงลักษณ์  ศรีรักษา มีเครือข่าย 171 ราย มีสินค้า ORDER  สั่งจาก สหรัฐอเมริกา  

    อังกฤษ  ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่น  ฮอลแลนด์ มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยประมาณ 500,000-1,000,000 บาท/เดือน

  2. นางอนงค์ โอชา  มีเครือข่าย 43 ราย  มีสินค้า ODER  สั่งจากประเทศฮอลแลนด์  และ

    แคนนาดา  เป็นส่วนใหญ่  โดยมียอดสั่งซื้อเฉลี่ยประมาณ  250,000-400,000  บาท/เดือน

  3. นางสาวทองเปรม วังคะฮาต  มีเครือข่าย 88 ราย มีสินค้า ODER สั่งจากสหรัฐอเมริกา 

    ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่น มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยประมาณ 200,000-400,000 บาท/เดือน

  4. นางอรทัย คนซื่อ มีเครือข่าย 37 ราย มีสินค้า ODER  สั่งจากสหรัฐอเมริกา,อังกฤษ,

    ญี่ปุ่น,ฮอลแลนด์  มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยประมาณ  200,000-500,000  บาท/เดือน

  5. นางจิตตรา ห้วยทราย  มีเครือข่าย 36 ราย  มีสินค้า ODER  สั่งจากสหรัฐอเมริกา

    ฮอลแลนด์  มียอดสั่งซื้อเฉลี่ยประมาณ 300,000-500,000 บาท/เดือน

    • รวมเครือข่ายทั้งหมด 375 รายใน  4 ตำบล 41 หมู่บ้าน

    • รายได้เฉลี่ยของเครือข่าย ครอบครัวละประมาณ  8,000-12,000 บาท/เดือน  

      ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP

      -   มีการพัฒนารูปแบบตะกร้าพลาสติกตาม ODER ของลูกค้าที่สั่งได้ทุกรูปแบบและมีหลากหลายสี

      -   มีการผลิตโดยใช้แรงงานในพื้นที่ เป็นสินค้าทำด้วยมือ (HAND MADE)

      -   เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ

      -   เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและมีความเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านชัยมงคล

      ประวัติความเป็นมากลุ่มวิสาหกิจสานตะกร้าพลาสติกบ้านชัยมงคล

                   นับจากปี พ.ศ. 2518 เป็นระยะเวลากว่า  33 ปีแล้ว ที่ประชาชนในหมู่บ้านชัยมงคลได้มีการนำเส้นพลาสติกมาจักสานเป็นของใช้นานาชนิด ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความสามารถในการจักสานวัสดุต่างๆจากธรรมชาติให้เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นภูมิปัญญาด้านการจักสานที่สืบทอดมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอนิคมคำสร้อยไปแล้วเริ่มจากมีแม่บ้านตำรวจในอำเภอ มาสอนการสานกระเป๋าที่

      ใส่สิ่งของและตะกร้าพลาสติกสำหรับใช้ในครัวเรือน ต่อมามีแม่บ้านสนใจมากขึ้น นอกจากทำใช้ในครัวเรือนแล้วก็นำไปจำหน่ายที่ตลาดริมทางถนนสายอุบลราชธานี - มุกดาหาร ปรากฏว่าเป็นที่สนใจและต้องการของผู้สัญจรไปมาจนแพร่หลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปสามารถ

      สร้างรายได้แก่ครอบครัวตะกร้าพลาสติก ซึ่งเป็นสินค้าโดดเด่นของจังหวัดมุกดาหาร เริ่มต้นเมื่อปี 2534 โดยมีแม่บ้านตำรวจเป็นผู้มาแนะนำในการสานตะกร้ากระเป๋า เป็นครั้งแรก และจำหน่ายริมถนน  จนเป็นที่แพร่หลาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

      ปัจจุบันมีนางสมพร ห้วยทราย  เป็นประธานกลุ่มและมีสมาชิก 82 คน และเป็นสินค้า  OTOP ระดับ  4  ดาว  ในปี  2547                                   

      ที่ปรึกษา  ประกอบด้วย

      1. นางสวัสดิ์    เขียวน้อย

      2. นางอนงค์    โอชา

      3. นางแคว้น    หงษ์คำ   

      4. นายประมวล  สีงาม

      คณะกรรมการบริหารกลุ่ม  ประกอบด้วย

      1. นางสมพร      ห้วยทราย     ประธาน

      2. นางสมศรี      ห้วยทราย     รองประธาน

      3. นางกุสุมาลย์   จันทะไชย     เลขานุการ

      4. นางสมนึก      สุวรรณไตรย์  เหรัญญิก

      5. นางจิราภรณ์   คำภีระ        ปฏิคม

      6. นางหนูมอญ    เพรียรราช    ประชาสัมพันธ์

      7. นางขวัญใจ     ห้วยทราย     การตลาด

      8. น.ส.ทองเปรม  วังคะฮาต     กรรมการ

      9. นางสมพร      ห้วยทราย     กรรมการ

      10. นางหนูมอญ  เพียรราช     กรรมการ

      11. นางหนู        ต้นสมบัติ     กรรมการ

      12. นางสมนึก     สุวรรณไตรย์   กรรมการ

      13. นางอุไร        เถาว์ที         กรรมการ

      14. น.ส.ใหม่       สุวรรณไตรย์  กรรมการ

      2. ด้านการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรมของชุมชน

                             วิถีชุมชนของบ้านชัยมงคล หมู่ที่ 1

                         การเป็นอยู่  ของชาวบ้านชัยมงคล ตำบลโชคชัย อำเภอนิคมคำสร้อยเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พออยู่พอกิน ใช้ชีวิตแบบพอเพียง ทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำ และดินยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่มากซึ่งสังเกตได้จากการทำการเกษตร อาชีพหลักคือ การทำนา อาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว ได้แก่ ผลิตตะกร้าสานพลาสติกจำหน่าย  ปลูกพริก หอม  และพืชสวนอื่นๆ ที่ต้องอาศัยดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถึงจะเจริญงอกงาม และได้ผลผลิตดี การดำเนินวิถีชีวิตของประชาชนยังคงยึดถือประเพณีโบราณไทยอีสานที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน  รวมทั้งความเชื่อทางพระพุทธศาสนาชาวบ้านให้ความเคารพ เชื่อถือ ศรัทธาผู้นำชุมชน คนแก่เฒ่า พระสงฆ์  ประเพณีสำคัญเช่นสงกรานต์ เข้าพรรษา  ออกพรรษา  ลอยกระทงเป็นต้น

                         การทำมาหากิน ของชาวบ้านในเขตพื้นที่บ้านชัยมงคล  หากินตาม ป่า ภูเขา หนองน้ำลำห้วยต่างๆ  ที่มีอยู่ในชุมชน  ซึ่งใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำมาหากิน  ดังต่อไปนี้

                การใส่เบ็ดหรือการตกเบ็ด  เบ็ดเป็นเครื่องมือจับปลาอย่างหนึ่งของชาวบ้านในถิ่นนี้  เบ็ดมีหลายชนิด  เช่น เบ็ดคัน เบ็ดราวหรือเบ็ดตก (ทกเบ็ด)  ซึ่งจะมีลักษณะ คือ จะใช้คันที่เป็นไม้ไผ่น้อยขนาดความยาวทั้งลำแล้วใช้เบ็ดที่มีขนาดใหญ่ใช้เหยื่อที่ใช้ส่วนมากจะเป็นไส้เดือน ปู หรือเขียด เป็นตัวล่อ ปักไว้ตามคันนาในฤดูฝนหรือตามหนองน้ำในฤดูแล้ง

                          การใส่มอง  (ตาข่ายดักปลา) มองจะเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ในการใช้ค่อนข้างจะเป็นการง่ายต่อการหาปลาธรรมดาและแบบใยบัว ยังจะมีความกว้างความลึกต่างๆกันแล้วแต่น้ำลึกหรือตื้นจะทำในช่วงฤดูน้ำหลากและตามห้วยหนอง แหล่งน้ำธรรมชาติ

                การทอดแห  เป็นเครื่องมือจับปลาที่สานด้วยด้ายไนล่อนมีหลายขนาดตามความกว้างความยาวของตาข่าย  แห  แหสาม  แหสี่  ฯลฯ  (สี่ศอกหรือฟุต) โดยการทอดแหในสมัยปัจจุบันอาจทำเป็นเหยื่อล่อไว้ต่อ เช่น รังหรือการโยนก้อนดินหรือหินทำเป็นการล่อว่าเป็นปลาตัวอื่น

                การไล่เยาะ  (พุ่มไม้ดักปลาตามลำน้ำ) เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านการทำกินอย่างหนึ่ง  เป็นการนำเอากิ่งไม้หรือขอนไม้มากองรวมกันไว้ที่ใดที่หนึ่ง  ให้ปลามาอาศัยในช่วงน้ำลดหรือน้ำแล้ง  ในช่วงเวลาที่เราต้องการไล่  ก็นำตาข่ายขวางรอบกองไม้เอาไว้แล้วขนไม้นั้นออกแบบนี้ต้องอาศัยแรงงานคนมากเมื่อเอาออกหมดแล้วก็เอาตาข่ายที่อยู่ใต้น้ำรวมเข้าหากันทั้งข้างล่างและข้างบนให้ปลารวมกันอยู่ตรงกลางแล้วขดขึ้นทางชาวบ้านจะเรียกว่าไปกินข้าวป่า

               การใส่ไซใส่ลอบ เป็นเครื่องจับปลาอีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกันคือ  จะเป็นการดักปลาตามบริเวณที่มีคันคูหรือที่มีน้ำไหลเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ประสบการณ์และการทำเครื่องดักทั้งสองอย่างในช่วงเวลาที่เหมาะสม

      วัฒนธรรม/ประเพณี

      1.  การเกิด

                              บิดา มารดาที่รู้ตัวว่าจะมีลูก จะมีความรู้สึกปราบปลื้มใจ จึงทะนุถนอมลูกในครรภ์ให้ดีที่สุด  เมื่อคลอดจะจดจำวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฝาก เพื่อทำนายดวงชะตาผูกดวงชีวิต หาผู้ใหญ่ตั้งชื่อให้เป็นสิริมงคล  ในอดีตการคลอดบุตรจะอาศัยหมอตำแย ในการทำคลอดซึ่งแตกต่างจากปัจจุบัน ชาวบ้านนิยมคลอดบุตรที่สถานพยาบาลของรัฐ  เด็กที่เกิดใหม่ บิดา มารดา  จะมีการนำเอารกเด็กไปฝังไว้ใต้บันได สุมไฟไว้บนหลุมฝังรก เรียกว่า “พิธีฝังสายแห่  แผ่สายบือ” สำหรับแม่ที่คลอดบุตรใหม่จะมีการอยู่ไฟ และในช่วงที่อยู่ไฟจะเลือกรับประทานอาหาร  เพื่อไม่ไห้เกิดการแพ้อาหาร เลือกกินอาหารที่ไม่แสลงต่อร่างกาย ในระยะที่อยู่ไฟจะมีบ้านใกล้เรือนเคียงญาติมิตรไปอยู่เป็นเพื่อน ไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “งันกรรม” ผู้เป็นเจ้าบ้านเตรียมอาหารไว้ต้อนรับผู้มาเยี่ยมตามประเพณีอันดี

      2.  พิธีบวช

                             จะเริ่มจากการจับนาคโดยนำนาคเข้าฝากก่อน 7 วัน เพื่อให้นาคได้ท่องคำขานนาคให้ได้เสียก่อน จนถึงวันงานก่อนจะมีการทำขวัญนาค มีพิธีขอขมาลาโทษ แล้วก็มีการโกนผมนาคโดยให้ให้บิดา  มารดา โกนผมก่อนแล้วก็ญาติตามลำดับ  เมื่อโกนผมเสร็จจะเป็นพิธีการทำขวัญนาค ต่อมาเป็นการแห่นาคเข้าอุปสมบทในโบสถ์  ในสมัยโบราณจะมีการนำลูกเข้าบวช  จำพรรษา แต่ในปัจจุบันจะบวชเป็นประเพณีและถือฤกษ์สะดวกและจะไม่บวชกลางพรรษา

      3.  การแต่งงาน

                              การแต่งงานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการกินดอง หรือการเกี่ยวดองเป็นญาติกันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง การแต่งงานจะเริ่มจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรักใคร่ชอบพอกัน โดยฝ่ายชายจะบอกพ่อ    แม่ ไปสู่ขอ เมื่อพ่อแม่ฝ่ายหญิงตกลงเรื่องสินสอดทองหมั้น และได้ตกลงว่าเมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายใดจะไปอยู่กับฝ่ายใดการทำพิธีแต่งงานเมื่อได้ฤกษ์ตามกำหนดก็จะจัดขบวนแห่เจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาว เรียกว่า แห่ขันหมากการทำพิธีผู้ทำพิธีคือหมอสูตรเมื่อพิธีจะมีการผูกแขนเขยสะใภ้สำหรับฝ่ายหญิง จะเตรียมของมาด้วยซึ่งเรียกว่า เครื่องสมมาให้แก่ญาติฝ่ายชาย และมีการเลี้ยงข้าวปลาอาหาร พอเสร็จสิ้นงานเลี้ยง ก็มีการส่งตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวหลังจากแต่งงานได้ 3 วัน เจ้าสาวเจ้าบ่าว จะต้องไปสมมาญาติฝ่ายชายฝ่ายหญิงข้างละเท่า ๆ กัน

      4.  พิธีการทำศพ

                              แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ การทำศพที่ตายโหง (ผิดธรรมชาติ) ศพตายโหง คือ ตายเนื่องจากอุบัติเหตุต่างๆ ไหลตาย และศพที่ตายธรรมดา คือ ตายเนื่องจากโรคธรรมดา เจ็บป่วยการทำศพตายโหงจะทำพิธีฝังอย่างเดียวไม่มีการเผาจะฝังจนครบ 3 ปี แล้วจึงนำศพขึ้นมาเผาแล้วทำบุญ ปัจจุบันนิยมโบกปูนไว้ตามวัดหรือป่าช้าจนครบกำหนดก็จะทำพิธีเผ่าเช่นกัน

           การทำศพธรรมดา คือ  ตายเนื่องจากโรคธรรมดา เจ็บป่วยจะเรียกอีกอย่างคือเผาขั้นแรกของการเผาศพที่ตายใหม่จะต้องมีการแต่งศพ โดยการอาบน้ำศพ แล้วใช้ผ้าด้ายมัดมือให้ประนมมือโดยถือดอกไม้  ธูปเทียนไว้แนบอกแล้วใช้เสื่อห่อมัดด้วยฝ้าย 3 เปลาะคลุมด้วยผ้าขาวเอาศพใส่โลง หันหัวศพไปทางทิศตะวันตกเอาศพไว้ที่บ้าน 3 วัน ตกเย็นก็นิมนต์พระมาสวดอภิธรรมศพและเมื่อครบ 3 วัน ในวันเผาโดยปกติจะเผาช่วงเวลา 15.00 น.เผาได้ทุกวันเว้นวันอังคารและสำคัญทางพุทธศาสนา  สมัยก่อนจะนิยมเผาในป่าช้าแต่สมัยนี้นิยมเผาในเมรุ ซึ่งก่อนเผ่าจะเวียนศพรอบกองฟอน 3 รอบ ( ถ้าเป็นเผาในป่าช้า) แต่ถ้าเผาในเมรุก็นิมนต์พระเทศน์หน้าศพเป็นครั้งสุดท้ายแล้วเปิดหีบศพออกล้างหน้า ด้วยน้ำมะพร้าวและน้ำหอมจึงทำการเผา หลังจากนั้นได้  7 วัน ญาติจึงช่วยกันเก็บกระดูกแล้วทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศส่วนกุศล หลังจากนั้น 100 วันหรือแล้วแต่ความพร้อมของญาติพี่น้องจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลซึ่งเรียกว่า บุญอัฏฐะ หรือบุญกฐิน  ให้แก่ผู้ตาย

      5.  การสูตรขวัญ

                               การสูตรขวัญจะกระทำในโอกาสต่าง ๆ  ทั้งทางดีและทางไม่ดีการสูตรขวัญในทางดีเช่น หายจากอาการเจ็บป่วย อุบัติเหตุการณ์แคล้วคลาด มีโชคลาภ การไปทหาร ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้กำลังใจผู้นั้นก็มีการเสียเคราะห์ให้หายไปสิ้นเรียกว่า “แต่งแก้”หรือการบายศรีสู่ขวัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น การแต่งงานงานบวช งานขึ้นบ้านใหม่พิธีสู่ขวัญข้าวของชาวบ้าน

      6.  การลงแขก

                              การลงแขกยังมีการสืบทอดมาแต่สมัยโบราณการลงแขกแสดงให้เห็นถึงการมีน้ำใจ      มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การลงแขกจึงเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะทำให้สำเร็จลุล่วง เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว  ดำนา นวดข้าว การลงแขกผู้เป็นเจ้าบ้านจะต้องบอกเล่าเพื่อนบ้าน เพื่อมาช่วยทำงานส่วนใหญ่จะกระทำในวันเดียวให้เสร็จแต่บางคนจะช่วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกัน และกันโดยไม่ใช้เงินตอบแทน แต่ปัจจุบันการลงแขกเกี่ยวข้าวจะเป็นกึ่งจ้างกึ่งลงแขกคือให้ค่าตอบแทนด้วย  เลี้ยงอาหารประกอบกันไปด้วย

                            ชาวบ้านชัยมงคลมีวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามจากบรรพบุรุษสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งความเชื่อทางพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมที่ปรากฏทางด้านจิตใจยังเป็นไปตามประเพณีดั้งเดิมที่ชาวบ้านเรียก “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” ซึ่งชาวบ้านยังให้ความเคารพ เชื่อถือ ศรัทธา ผู้นำชุมชน  พระสงฆ์ ครู – อาจารย์  และคนเฒ่าคนแก่ในการจัดพิธีกรรมต่าง ๆ การจัดงานประเพณี “ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่” เป็นไปตามความเชื่อและยังปฏิบัติกันสืบมาดังนี้

      1.  ประเพณีบุญข้าวจี่

                                 ประเพณีบุญเดือนสามเดือนสี่บุญข้าวจี่กระทำกันในวันมาฆบูชาโดยการทำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนย่างไฟให้สุกทาด้วยไข่ผสมน้ำอ้อยทำให้ครบ 3 ก้อน แล้วนำไปถวายวัดและมีการเสี่ยงทายโดยใช้ไข่เรียกว่า บุญเบิกบ้าน เพื่อเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ในหมู่บ้าน เสี่ยงทายฟ้าฝนตกว่าจะต้องตามฤดูกาล

      2.  ประเพณีสงกรานต์

                                  ประเพณีบุญเดือนห้าการสงกรานต์ วันที่ 12 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันสงกรานต์หรือปีใหม่ไทย ชาวบ้านจะมารวมกันฃตักบาตรหน้าศาลาประชาคมหมู่บ้านหลังจากนั้นชาวบ้านจะร่วมขบวนแห่องค์หลวงพ่อพระธรรมจักรไปตามชุมชนต่างๆ เพื่อให้ชาวบ้านในเขตตำบลและชุมชนใกล้เคียง  ได้สรงน้ำขอพรพระเพื่อเป็นสิริมงคลแด่ตนเองและครอบครัว  และเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน แล้ววันที่ 13 จะรวมตัวกันลงทำบุญตักบาตรที่วัดและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในวันทำบุญรวมญาติ  ร่วมกันสรงน้ำพระสงฆ์และผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อขอพร

      3. ประเพณีบุญบั้งไฟ

                                 ประเพณีบุญเดือนหก ประเพณีบุญบั้งไฟ  เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ      มีความเชื่อว่าเป็นการขอฝนและการบูชาพญาแถน  ขอให้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  การจัดงานจะส่งข่าวไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อนำบั้งไฟมาแข่งขันและประกวดบั้งไฟสวยงาม การแข่งขันบั้งไฟสูงส่วนมากจะจัดสองวันแรกจะประกวดบั้งไฟสวยงามพร้อมขบวนฟ้อนจากหมู่บ้านต่างๆ วันที่สองจะประกวดบั้งไฟขึ้นสูงก่อนจะมีการแข่งขันกันนั้นจะมีการจุดบั้งไฟเสี่ยงทายก่อน จึงเป็นการจุดเพื่อพยากรณ์ว่าถ้าบั้งไฟขึ้นสูงปีนั้นฝนจะตกต้องตามฤดูกาล  น้ำในนามีความอุดมสมบูรณ์หลังจากนั้นจะเป็นการจุดบั้งไฟของคณะต่างๆ ถ้าบั้งไฟใครอยู่บนฟ้าและทำเวลาได้นานที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ถ้าบั้งไฟใครไม่ขึ้นหรือแตกชาวบ้านจะช่วยกันหามเจ้าของคลุกโคลนตมกันอย่างสนุกสนาน

                                ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟเป็นงานประเพณีบุญเดือน 6 เป็นงานประจำปีช่วงเดือนพฤษภาคม ยึดตามคตินิยมว่าเมื่อทำการจุดบั้งไฟขึ้นสู่เบื้องบน เป็นการบูชาพญาแถนซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจอมเทพผู้บันดาลให้ฝนตก ตำนานว่า เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ถือชาติเป็นพญาคางคกอาศัยอยู่ใต้ต้นมหาโพธิ์เมืองพันทุมวดี  เหตุใดไม่แจ้งพญาแถนเกิดโกรธเคืองโลกมนุษย์มากจึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง  7 ปี เกิดความลำบากยากแค้นแสนสาหัสมนุษย์สัตว์พืช พากันล้มตายเป็นอันมาก ที่ยังแข็งแรงรอดตายได้ก็รวมกันไปที่ต้นโพธิ์ใหญ่พญาคางคก  สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อหาวิธปราบพญาแถนโดยให้  พญานาคยกทัพ

      ไปก่อนแต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปอีกก็พ่ายแพ้อีกเช่นกัน ทำให้เกิดการท้อแท้ หมดกำลังใจและสิ้นหวังได้แต่รอความตายในที่สุดพญาคางคกก็เสนอตัวอาสาไปปราบพญาแถนอีกครั้งโดยวางแผนให้พญาปลวกก่อจอมปลวกเป็นทางถนนขึ้นไปหาเมืองพญาแถนให้มอดเจาะด้านอาวุธ พญาแตน พญาต่อ แมงป่อง ตะขาบทุกตัวซ่อนตัวอยู่ในกองฝืนที่จะหุงต้มและอยู่ในเสื้อผ้ากัดไพร่พลของพญาแถน เจ็บปวดร้องระงมจนทำให้กองทัพระส่ำระสายในที่สุดก็จับพญาแถนได้ และทำสัญญาสงบศึก

      1.  ถ้าให้สัญญาณเมื่อใด พญาแถนต้องให้ฝนตกลงโลกมนุษย์ (จุดบั้งไฟ)

      2.  ถ้าได้ยินเสียง กบเขียดร้อง รับรู้ว่าฝนตกแล้ว

      3.  ถ้าได้ยินเสียง ธนู (เสียงว่าว ธนูหวาย) พร้อมเสียงโหวด จึงบอกให้ฝนหยุดตก

      4. หลังจากทำสัญญากันแล้ว พญาแถนก็ถูกปล่อยตัวไปและถือปฏิบัติตามสัญญาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

                                4. ประเพณีงานแห่พระ 

                             ประเพณีชาวบ้านได้สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ คือในตอนเช้าจะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดหลังจากนั้นจะมีการตกแต่งรถและอัญเชิญพระ

                             พุทธรูป   คู่เมืองออกไปยังหมู่บ้านขบวนแห่ก็จะเริ่มแห่ไปเรื่อยๆ ในเขตตำบลและชุมชนใกล้เคียง จนถึงวัด  ตลอดทางจะมีชาวบ้านสรงน้ำ

                              พระพุทธรูปและสรงน้ำกันอย่างสนุกสนาน  และได้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นแทนที่ประทับเดิม  เป็นการจบพิธีสรงน้ำและเล่นสาดน้ำใน

                              ปีนั้นวันรุ่ง ขึ้นก็มีการ  ถวายกัณฑ์เทศน์แด่พระภิกษุสงฆ์เป็นอันเสร็จ

                              พิธี                                                                                                                      

                                5. ประเพณีเดือนแปด

                              มีประเพณีบุญเข้าพรรษาตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือนแปดาชาวบ้านนิยมบวชลูกหลานในช่วงเข้าพรรษาเพื่อให้ศึกษาพระทำวินัย  และเพื่อสืบ

                             ทอดพระพุทธศาสนาตามประเพณีตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลภิกษุจะอยู่ จำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึง 15  ค่ำ

                              เดือน   11 ในงานบุญเข้าพรรษา  ตลอดเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร ช่วงบ่ายจะมีการถวายผ้าอาบน้ำฝนดอกไม้ธูปเทียนถวายน้ำตาล

                              โอวัลตินเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในการจำพรรษาตลอด 3 เดือน ตลอดเย็นจะมีการทำวัตรและเวียนเทียนโดยเจ้าอาวาสและ

                              ญาติ  โยม                                                                                                             

                               6. ประเพณีเก้าเดือนสิบ

                              ประเพณีบุญข้าวสาก  ข้าวประดับดินตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบเรียกว่า  บุญเดือนสิบ  เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้วส่วนข้าวประดับ

                              ดินจะเป็น การนำอาหารที่จัดไว้ไปแขวนไว้ตามต้นไม้เพื่อเรียก วิญญาณให้ มารับของกินในวันเดือนดับ  การทำบุญข้าวสากจะเขียนชื่อพระ

                              ภิกษุลงในบาตรถ้าผู้ใดข้าวสากของพระภิกษุองค์ใดได้ ก็ให้นำมาถวายพระภิกษุองค์นั้นโดยเขียนชื่อผู้ล่วงลับไปแล้วและข้าวสากที่ทำด้วย

                              ใบตองข้าง  ในบรรจุอาหารคาวหวานแล้วเย็บติดกันนำมาถวายแก่พระภิกษุสงฆ์เมื่อฉันเสร็จแล้วจะมีการฟังเทศน์  และการกรวดน้ำอุทิศ

                              ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว  แล้วนำ ข้าวสากไปไว้ในนาเพื่อให้เจ้านาหรือว่าตา แฮกได้กินถือเป็นการเลี้ยงตำแฮกให้ได้ข้าวงาม

                              7. ประเพณีบุญเดือนสิบเอ็ด

                            ประเพณีบุญออกพรรษาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ในตอนเช้าชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรที่วัดตอนกลางคืนจะมีการถวายต้น

                            ปราสาท ผึ้ง  ซึ่งประกอบด้วยข้าวสาร เสื่อ ผึ้ง ดอกไม้ธูปเทียน  เช้าวันแรม  1  ค่ำ  จะมีการทำบุญตักบาตรเทโวโดยพระสงฆ์จะเวียน

                            3 รอบ รอบที่  1   จะเป็นปัจจัย รอบที่  2  จะเป็นข้าวสารอาหารแห้ง รอบที่ 3 จะเป็นข้าวสุก เมื่อครบสามรอบก็เป็นอันเสร็จพิธีเป็น

                           ประเพณีความเชื่อในทางพระ  พุทธศาสนาครั้งพระพุทธองค์เสด็จไปโดยพุทธมารดาที่ สวรรค์เมื่อนั้น เรื่องเรียกว่า พระเจ้าเปิดโลก

                              3 โลกให้เห็นกัน สวรรค์  นรก มนุษย์                                  

                            8. บุญเดือนสิบสอง

                          ในเดือนสิบสองจะมีประเพณีบุญกฐินเริ่มจากออกพรรษาคือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองผู้ที่ต้องการจะทำบุญกฐินจะต้องเขียน

                           ฉลาก จองวันที่จะทอดถวายโดยในปีหนึ่งแต่ละวัดจะมีการรับกฐินได้เพียงหนึ่งครั้ง และเมื่อถึงวันทอดกฐินเจ้าภาพต้องเตรียมองค์กฐินให้

                           พร้อมเพรียงและ  นำถวายตามวัดที่กำหนดไว้

                         

3. ด้านสภาพแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ

แหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้าน  สวนเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร วัดภูด่านแต้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วนอุทยานภูหมูแหล่งท่องเทียวเชิงธรรมชาติ          

อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ได้แก่

         1) วัดภูด่านแต้ (หลวงพ่อธรรมจักร)

         2) งานจักรสานพลาสติกซึ่งเป็นงาน OTOP ที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

         3) งานแห่พระในเทศกาลสงกรานต์

วิสัยทัศน์ของชุมชน (สิ่งที่เราอยากให้หมู่บ้านเป็นในอีกภายภาคหน้า)

         มีกลุ่มองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ประชาชนมีสุขภาพดี  มีวัดภูด่านแต้    เป็นแหล่งธรรมะ

ความคาดหวังของคนในชุมชน

          ภูมิปัญญาตะกร้าสาน     ผลิตตะกร้าคุณภาพดี  ราคาดี

          พุทธสถานภูดานแต้        ชุมชนมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีจริยธรรม คุณธรรม

          งามแท้พระองค์ใหญ่       เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม  ที่อุดมสมบูรณ์

          ศูนย์รวมใจชัยมงคล        ชุมชนสามัคคีเอื้ออารีต่อกัน

แผนการดำเนินการพัฒนาหมู่บ้าน

1)   ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตและจำหน่ายตะกร้าพลาสติกที่ครบถ้วนครบวงจร  และเป็นที่รู้จักของผู้ที่สนใจ

2)   พัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนให้น่าอยู่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง

3) ส่งเสริม พัฒนาระบบการผลิตภาคเกษตรที่มีความปลอดภัยไร้สารพิษ

4) ส่งเสริมพัฒนาการจัดการสุขภาพโดยชุมชน

5) พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง

6) พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมชุมชน

7) พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ให้มีความสวยงาม ทันสมัยตรงความต้องการของลูกค้า

8) ปรับปรุงพัฒนา สื่อ ออนไลน์ ประชาสัมพันธ์ ในการพัฒนาหมู่บ้าน

    เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้าน ได้แก่

         1) ด้านการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาเด็กและเยาวชน

         2) ด้านสาธารณะสุข  ประชาชนมีสุขภาพดี

         3) ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี น่าอยู่ น่ามอง

         4) ด้านเศรษฐกิจ คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้

         5) ด้านสังคม คนในชุมชนเคารพกฎกติกาและรักใคร่สามัคคีกัน

         6) ด้านการคลัง ชาวบ้านบริหารจัดการด้วยตนเองได้

         7) โครงสร้างพื้นฐาน  สาธารณูปโภคครอบคลุมในชุมชน

ประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนา

         1 ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

             1) เสริมสร้างความสุขมวลรวม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

             2) แก้ไขปัญหาความยากจนด้วยชุมชนเกื้อกูล

             3) ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในชุมชน

             4) การบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง วัด บ้าน โรงเรียน (บวร)

        2 ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพดีของคนในชุมชน

             1) ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายของคนในชุมชน

             2) ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ

             3) การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค ตลอดจนภัยคุกคามด้านสุขภาพ

        3 ส่งเสริมการท้าเกษตรอินทรีย์

            1) ส่งเสริมการพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ

            2) ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยชีวภาพ

         4 ส่งเสริมการฟื้นฟู สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้าน

           1) ขับเคลื่อนกิจกรรมอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง

           2) อนุรักษ์และส่งเสริมการพูดภาษากูย

       5 เสริมสร้างการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

          1) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ศูนย์สารสนเทศชุมชน

          2) ส่งเสริมการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

          3) ให้การศึกษาและพัฒนางานวิจัยชุมชน

  4. ด้านความพร้อม ความเข้มแข็งของคนในชุมชน 

               สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

S = Strengths จุดแข็งของชุมชน (คือ สิ่งที่ดีดีในหมู่บ้าน) ได้แก่

               1.  มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในหมู่บ้านชุมชน

               2.  ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน การทำกิจกรรมต่างๆในชุมชน

               3.  มีอาชีพเสริมหลังจากฤดูทำนาทำให้ชุมชนไม่ว่างงาน โดยเฉพาะการสานตะกร้าพลาสติก

               4.  มีการออกข้อบังคับ กฎหมู่บ้าน ที่มาจากการทำเวทีประชาคมและทุกคนให้ความเคารพ

               5.  บุคลากรในหมู่บ้านมีความเข้มแข็งและเสียสละ

               6.  ประชาชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านเป็นอย่างดี ไม่มีความขัดแย้งกัน

               7. มีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างหลากหลายซึ่งพร้อมจะนำองค์ความรู้มาใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้

               8. ผู้นำหมู่บ้าน ทั้งผู้นำตามธรรมชาติและผู้นำทางการ มีความสามัคคีกันและได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดกลุ่มองค์กรชุมชน ในการแก้ไขปัญหาความยากจน อย่างหลากหลาย

               9. มีการรวมกลุ่มเป็นองค์กรในชุมชนเพื่อเป็นแกนนำหลักสำคัญการพัฒนาหมู่บ้าน

               10. มีแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพในชุมชน

               11. มีวัดภูด่านแต้ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจและแกนนาในการขับเคลื่อนการพัฒนาประสานการทางานระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน (บวร)

W = Weaknesses จุดอ่อนของชุมชน (สิ่งที่บกพร่องในหมู่บ้าน) ได้แก่

               1. ปัญหาการว่างงาน

               2. ขาดความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่

               3. การย้ายถิ่นไปทำงานที่อื่น

               ๔. ประชากรส่วนหนึ่งอยู่ในที่สาธารณะ

               5. อุปกรณ์ด้าน ICT ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของคนในชุมชน

O = Opportunities โอกาสของชุมชน (สิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกหมู่บ้านที่ส่งผลดีต่อหมู่บ้าน)  

ได้แก่

    1. มีการออมในชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนกลุ่มแม่บ้าน

    2. มีเงินทุนสนับสนุนให้กู้ยืมประกอบอาชีพ เช่น ธนาคาร ธกส. ออมสิน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนหมู่บ้าน กองทุนปุ๋ย

                3. การเข้าถึงการสื่อสารระบบไร้สาย เช่น อินเตอร์เน็ต

                4. มีการจัดสวัสดิการแก่ผู้ด้อยโอกาส เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ

                5. มีการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการทาเกษตรอินทรีย์

                6. โครงการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น โครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข เป็นต้น

                7. ชุมชนมีความสามัคคี คณะกรรมการหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง

                8. เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวและเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียง คนทั่วไปรู้จักด้านการสานตะกร้าพลาสติก

                9. มีวัดภูด่านแต้ซึ่งเป็นสถานที่เคารพสักการะของคนในชุมชน หมู่บ้านใกล้เคียง และเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม

T = Threats ปัญหาและอุปสรรคของชุมชน (สิ่งที่เป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อหมู่บ้าน) ได้แก่

               1.  ปัญหาทางด้านผลผลิตทางการเกษตร

               2.  รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย

               3.  ปัญหาเงินทุนสนับสนุนไม่เพียงพอ

               4.  ปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง

              5.  ปัญหาหนี้สินจากแหล่งเงินทุนต่าง

                         

                          

 






view

เว็บบอร์ด

view